WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 10 และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 1

GOV8 copy

ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 10 และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 1

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (คค.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอเซียน ครั้งที่ 10 และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 1

          2. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 10 และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 1 ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา อีกครั้งหนึ่ง

          3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 10 และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 10

          ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียนจะพิจารณารับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFHMM ครั้งที่ 1 ในวันที่ 24 สิงหาคม 2566 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนจะพิจารณารับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 10 ในวันที่ 25 สิงหาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอิโดนีเซีย

          สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วม

          1. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 10 จัดทำขึ้นบนหลักการพื้นฐานของการเป็นประชาคมอาเซียน คือ การส่งเสริมความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือระหว่างกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภูมิภาคอาเซียนและการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

               1.1 ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 10 มีเนื้อหาแสดงถึงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนในการดำเนินการตามประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ (Priority Economic Deliverables: PEDs) ที่สาธารณรัฐอินโดนีเซียต้องการผลักดันให้สำเร็จภายในปี 2566 ซึ่งเน้นการดำเนินการใน 3 ประเด็นหลักได้แก่ (1) ความร่วมมือระหว่างภาคสาธารณสุขและภาคการคลัง (2) ความมั่นคงทางอาหาร และ (3) การใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพื่อการทำธุรกรรม นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมเสถียรภาพทางการเงินและการรวมตัวกันในภูมิภาคอาเซียนที่แน่นแฟ้นขึ้น

               1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนสนับสนุนความสามารถของอาเซียนในการรักษาฐานะของอาเซียนในการเป็นจุดศูนย์กลางของการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต และได้เน้นย้ำความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาที่ยังยืน ที่ประชุมได้แสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จและความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้กรอบการประชุม AFMGM ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย (1) ด้านการรวมตัวและการเปิดเสรีทางการเงิน (2) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน (3) ด้านความเชื่อมโยงด้านบริการทางการเงินและการชำระเงิน (4) ด้านการระดมทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน (5) ด้านการเงินที่ยั่งยืน (6) ด้านการเข้าถึงบริการทางการเงิน และ (7) ด้านการระดมทุนเพื่อการบริหารจัดการภัยพิบัติ

               1.3 ที่ประชุมรับรู้ถึงความสำคัญในการขยายความร่วมมือข้ามสาขาภายใต้ความร่วมมือด้านการเงินอาเซียน โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance and Central Bank Deputies’ Working Group: AFCDM-WG) เริ่มดำเนินการประสานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในอาเซียน รวมถึงภาคการเกษตรและสาธารณสุขในการจัดเตรียมขอบเขตการดำเนินงานในความร่วมมือกับความร่วมมือด้านการเงินอาเซียน ซึ่งรวมถึงขอบเขตของงาน ผังเวลาการดำเนินการ และแผนปฏิบัติการ

          2. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFHMM ครั้งที่ 1 สะท้อนถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างสาธารณสุขและการคลัง มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

               2.1 ที่ประชุมตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการคลังและสาธารณสุขเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสาธารณสุขในภูมิภาค และได้รับรองรายงานด้านโครงสร้างทางการเงินระดับประเทศและภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างการป้องกัน การเตรียมความพร้อมและการรับมือกับโรคระบาด (Pandemic Prevention, Preparedness and Response: PPR) หลังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งรูปแบบกองทุนระดับภูมิภาคที่เป็นไปได้

               2.2 ที่ประชุมรับทราบถึงความต้องการเงินทุนเพื่อสร้างความพร้อมในการป้องกันการเตรียมความพร้อม และการรับมือกับโรคระบาดในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้ระบุไว้ในรายงาน ที่ประชุมสนับสนุนการใช้กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 สาธารณสุขฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่อื่นๆ (COVID-19 and Other Public Heath Emergencies and Emerging Diseases ASEAN Response Fund) และการนำกองทุนดังกล่าวมาใช้ในระหว่างการเป็นประธานอาเซียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งข้อเสนอด้านการบริหารและโครงสร้างการจัดหาเงินทุน การระดมทุน และการโอนย้ายการจัดการกองทุนให้แก่ธนาคารพัฒนาเอเชีย

               2.3 ที่ประชุมยืนยันความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างโครงสร้างด้านสาธารณสุขระดับภูมิภาคหลังโควิด-19 สู่การมีภูมิคุ้มกันในประชาคมอาเซียน โดยคำนึงถึงกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน (ASEAN Comprehensive Recovery Framework)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 23 สิงหาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A8736

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!