WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 8 และกิจกรรมคู่ขนาน

GOV8 copy

ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 8 และกิจกรรมคู่ขนาน

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 8 และกิจกรรมคู่ขนาน และพิจารณามอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรกตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อสังเกตของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กต. รายงานว่า

          1. เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาภูมิภาคตะวันออกไกลและอาร์กติก สหพันธรัฐรัสเซีย (นายอะเล็กเซย์ เชคุนคอฟ) เป็นประธานร่วมการประชุมฯ ณ กต. โดยที่ประชุมให้ความสำคัญกับการรักษาพลวัตและต่อยอดความร่วมมือไทย-รัสเซียในสาขาต่างๆ เช่น การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน พลังงาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเกษตร การประมง การศึกษา วัฒนธรรม กีฬา คมนาคม การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปได้ ดังนี้

                  1.1 ผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ/ผลการประชุมฯ

(1) การค้าและการลงทุน

 

ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้เพิ่มมูลค่าการค้าให้เท่ากับระดับก่อนการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และเห็นพ้องให้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ของไทย และในเขตเศรษฐกิจระหว่างประเทศ(International Economic Zones: IEZ) ในภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย

(2) การเกษตร

 

ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับการเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปยังรัสเซียและสินค้าปศุสัตว์ของรัสเชียมายังไทย โดยคำนึงถึงมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าดังกล่าว และได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการลดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะสินค้าประมงของไทย

(3) พลังงาน

 

ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดหาพลังงานจากรัสเซีย และส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด และการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาตามโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy] ของไทย

(4) การศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 

ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้ส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในสาขาต่าง ทั้งในระดับระหว่างสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย กระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(5) วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว

 

ทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมถึงแสวงหาโอกาสในความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นความร่วมมือสาขาใหม่ระหว่างไทยกับรัสเซีย

 

                  1.2. ภายหลังการประชุมฯ ประธานร่วมทั้งสองฝ่ายได้ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ โดยไม่มีการลงนาม1 และร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลศึกษาและการกีฬาระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการกีฬาแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย

                  1.3 กิจกรรมคู่ขนาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาภูมิภาคตะวันออกไกลและอาร์กติก สหพันธรัฐรัสเซีย (นายอะเล็กเซย์ เชคุนคอฟ) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านการค้า การลงทุน การเกษตร พลังงาน การคมนาคม การขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยว รวมถึงเน้นย้ำความประสงค์ของไทยในการเริ่มต้นกระบวนการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (Eurasian Economic Union: EAEU) ซึ่งมีรัสเซียเป็นสมาชิกหลัก นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกล่าวเปิดงานสัมมนาหัวข้อ “Russian Far East and Arctic-Exploring New Perspectives and Opportunities” ซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมกับบริษัท Russian Far East and Arctic Development and Cooperation ของรัสเซียเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจทั้งสองฝ่ายรู้จักกันมากขึ้นและแสวงหาโอกาสความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจระหว่างกัน

          2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่างๆ เช่น

 

ด้าน

 

การดำเนินการที่สำคัญ เช่น

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น

(1) เศรษฐกิจการค้าและการลงทุน

 

การเพิ่มมูลค่าการค้าสองฝ่ายให้เท่าช่วงก่อนโรคโควิด-19

- จัดประชุมคณะอนุกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 5

- ส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางและยางพาราของไทยไปยังรัสเชีย

 

กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย

 

การส่งเสริมการลงทุน

- เชิญชวนให้รัสเซียลงทุนใน EEC และใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

- ฝ่ายรัสเซียเชิญชวนให้ฝ่ายไทยลงทุนใน IEZ ในภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย ในอุตสาหกรรมการเกษตร เหมืองแร่ และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว

 

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

(2) อุตสาหกรรม

 

การส่งเสริมความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรม

ผลักดันความร่วมมือตามผลการประชุมคณะทำงานว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 ผ่านระบบการประชุมทางไกล

 

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)

 

แร่ใยหินไครโซไทล์

ผลักดันความร่วมมือตามผลการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์และจัดทำข้อเสนอแนะการใช้แร่ใยหินและผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566

 

อก.

(3) พลังงาน

 

พลังงานสะอาด

ความร่วมมือด้านพลังงานสะอาดและโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดกับบริษัท Power Machines JSC บริษัท RusHydro Group บริษัท Unigreen Energy บริษัท Technopromexport Engineering และบริษัท Rosseti ของรัสเซีย

 

กระทรวงพลังงาน (พน.)

 

การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ

- จัดการประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการใช้พลังงานปรมาณูในทางสันติไทย-รัสเซียในปี 2566 ที่ประเทศไทยหรือผ่านระบบการประชุมทางไกล

- พัฒนาความร่วมมือโดยตรงระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี

- เร่งรัดโครงการก่อสร้างศูนย์ไซโคลตรอน ที่จังหวัดนครนายกให้แล้วเสร็จ

 

พน.

(4) วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม

 

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

- เจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างรัฐบาลไทย-รัสเซีย

- เจรจาจัดทำเอกสารโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการ ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรม (อว) กับ อว. รัสเซีย ระหว่างปี 2566-2570

- ร่วมจัดการแข่งขันโครงการวิจัยในสาขาต่าง ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

 

อว.

 

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ดำเนินความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจสู่ยุคดิจิทัล การกำกับดูแลกิจการดาวเทียมและการสำรวจข้อมูลระยะไกล อุตสาหกรรม Internet of Things2 เทคโนโลยีการระบุตัวตนด้วยข้อมูลชีวภาพ ระบบการจดจำใบหน้า ความมั่นคงทางสารสนเทศ และนวัตกรรมอื่น

 

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

(5) การเกษตรและการประมง

 

การส่งเสริมการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร

- เร่งรัดการให้ความเห็นชอบสินค้าปศุสัตว์รัสเซียเพื่อส่งออกมาไทย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สุกร (ภายใน

6 เดือน) ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก และอาหารสัตว์

- เร่งรัดการให้ความเห็นชอบร่างใบรับรองสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกจากรัสเซียมาไทย เช่น อาหารสัตว์ และวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)

 

สินค้าประมง

- เร่งรัดให้ฝ่ายรัสเซียยกเลิกมาตรการกีดกันสินค้าประงของไทย โดยขอให้ฝ่ายรัสเซียแจ้งผลการพิจารณา

ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

- ความร่วมมือด้านการป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เช่น หารือระหว่างกรมประมงกับหน่วยงานด้านการประมงของรัสเซียในห้วงการประชุมคณะอนุกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรไทย-รัสเซีย

 

กษ.

(6) การศึกษา วัฒนธรรม และกีฬา

 

การจัดทำความตกลงด้านการศึกษา

การเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมกันในการศึกษาคุณวุฒิและปริญญาระหว่างรัฐบาลไทย-รัสเซีย

 

อว.และกระทรวงศึกษาธิการ

 

ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม

- แสวงหาโอกาสความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม วัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ใน 5 มิติ ได้แก่ อาหาร ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ การออกแบบแฟชั่นไทย ศิลปะการต่อสู้ และเทศกาลประเพณีไทย

- ผลักดันให้ปี 2567 เป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทย-รัสเซีย ตามข้อริเริ่มของฝ่ายรัสเซีย

 

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) และกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

(7) คมนาคม

 

การบิน

จัดการหารือระหว่างหน่วยงานด้านการบินของไทยกับรัสเซียเพื่อเพิ่มจำนวนเที่ยวบินให้เท่าช่วงก่อนโรคโควิด-19 และพัฒนาความร่วมมือด้านการบินระหว่างกัน

 

กระทรวงคมนาคม (คค.) และสำนักงานการบินผลเรือนแห่งประเทศไทย

 

คมนาคม และโครงสร้างพื้นฐาน

ดำเนินความร่วมมือด้านความปลอดภัยในการเดินเรือ ระบบเดินเรืออัตโนมัติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

 

คค.

(8) การท่องเที่ยว

 

- ส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ผ่านการจัดประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวไทย-รัสเซีย

การอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และการเข้าร่วมนิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน

- ฝ่ายรัสเซียเสนอจัดทำโครงการปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว สำหรับปี 2566-2568ระหว่าง กก. กับกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจรัสเซีย

 

กก.

(9) สิ่งแวดล้อม

 

สิ่งแวดล้อม

ส่งเสริมความร่วมมือด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ ขยะ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านกรอบการประชุมคณะทำงานว่าด้วยการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไทย-รัสเซีย

 

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ฝ่ายรัสเซียเสนอจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

ทส.

(10) สาธารณสุข

 

- ส่งเสริมและขยายความร่วมมือด้านสาธารณสุขทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

- ความร่วมมือในการอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการสุขภาพ

 

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

(11) การจัดทำความตกลงที่คั่งค้าง3

 

- สนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักไทยกับรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

- ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ

- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการจัดหายุทโธปกรณ์รัสเซียโดยการค้าต่างตอบแทนกับสินค้าส่งออกของไทย

 

กระทรวงกลาโหม (กห.) กต. พน. พณ. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)

 

          3. เรื่องดังกล่าวไม่เข้าข่ายมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากไม่มีกรณีที่ต้องดำเนินการโดยใช้งบประมาณ และมีการตั้งงบประมาณในการดำเนินการไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี รวมทั้งมิได้เป็นหนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

_____________________________________________________

1จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 กต. แจ้งว่า มีแก้ไขเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ในบางถ้อยคำแต่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญ และไม่ขัดต่อหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 เช่น มีการปรับแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ข้อ 49 เดิม เป็น ข้อ 66 ใหม่ โดยมีการเพิ่มการกำหนดกรอบเวลาในข้อนี้เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น

2คือ การเชื่อมต่อเครื่องจักรและระบบอุตสาหกรรมเข้ากับอินเทอร์เน็ตเพื่อนำข้อมูลมาใช้เฝ้าดู ประมวล และวิเคราะห์ผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต และลดค่าใช้จ่าย

3รายชื่อความตกลงที่คั่งค้างปรากฏตามภาคผนวก 4 ของเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 สิงหาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A8459

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!