กรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Thursday, 27 July 2023 02:02
- Hits: 1406
กรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ก.พ.ร. รายงานว่า
1. ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ได้มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
|||||||||||||||||||||||||
หลักการและแนวทางการประเมินฯ |
● มุ่งเน้นการบูรณาการการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ แผ่นแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนงานบูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และดัชนีชี้วัดสากล (International KPIs) รวมทั้งนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยกรอบแนวทางการประเมินของส่วนราชการให้กระทรวงมีบทบาทหลักเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณากำหนดตัวชี้วัดและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดกระทรวงผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง เช่นเดียวกับการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และกรอบแนวทางการประเมินของจังหวัดมุ่งเน้นการบูรณาการการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายระดับชาติและนโยบายสำคัญของรัฐบาลเช่นเดียวกับส่วนราชการ รวมถึงนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงมหาดไทย (มท.) นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการประเมินผลสำเร็จของการบรรลุเป้าหมาย ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรา 58 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 โดยให้ มท. มีบทบาทหลักในการพิจารณาความเหมาะสม ตัวชี้วัด น้ำหนัก และค่าเป้าหมาย รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของจังหวัดผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ● ให้ความสำคัญกับการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวง (Joint KPIs) โดยกำหนดประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) ที่จะขับเคลื่อนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 5 ประเด็น* เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานอื่นๆ โดยมีการถ่ายทอดเป้าหมายจากระดับประเทศลงสู่ระดับหน่วยงานที่รับผิดชอบขับเคลื่อนการดำเนินงาน |
|||||||||||||||||||||||||
องค์ประกอบการประเมิน |
ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ดังนี้
|
|||||||||||||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมายการประเมิน |
ส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย (1) ส่วนราชการ 154หน่วยงาน และ (2) จังหวัด 76 จังหวัด สำหรับส่วนราชการสังกัด กห. กอ.รมน. ตช. และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศร.ชล.) ให้นำแนวทางการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหารไปประยุกต์ใช้และส่งผลการประเมินให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรีพร้อมกับส่วนราชการอื่น |
|||||||||||||||||||||||||
ผู้ประเมิน2 |
● นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ● รัฐมนตรีว่าการหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการ ● เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ประเมินเบื้องต้น) |
|||||||||||||||||||||||||
รอบระยะเวลาการประเมิน |
กำหนดให้ประเมินส่วนราชการและจังหวัด ปีละ 2 รอบ ดังนี้ ● รอบการประเมินครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ● รอบการประเมินครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายน โดยให้ส่วนราชการและจังหวัดมีการกำกับติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติราชการและกำหนดให้รายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบการรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (Electronic Self Assessment Report: e-SAR) |
|||||||||||||||||||||||||
เกณฑ์การประเมิน |
ประกอบด้วยการประเมิน 2 ระดับ ดังนี้ 1. เกณฑ์การประเมินระดับตัวชี้วัด พิจารณาจากผลการดำเนินงานเทียบกับค่าเป้าหมายใน 3 ระดับ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) (ส่วนราชการและจังหวัดที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นต้นจะได้คะแนนศูนย์) ดังนี้
2. เกณฑ์การประเมินระดับส่วนราชการและจังหวัด (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) โดยแบ่งเกณฑ์การประเมินเป็น 3 ระดับ ดังนี้
|
|||||||||||||||||||||||||
กลไกการประเมิน |
ดำเนินการผ่านกลไกคณะทำงานและคณะกรรมการใน 2 ระดับ ดังนี้ ระดับ 1 คณะทำงานเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ และคณะทำงานเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของจังหวัดเป็นกลไก ของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่แต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ระดับ 2 คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ/จังหวัดเป็นกลไกของส่วนราชการและจังหวัด ดังนี้ 1. ส่วนราชการ มีคณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของส่วนราชการประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง 18 กระทรวง (ยกเว้น กห.) แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (2) คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของส่วนราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) และส่วนราชการไม่สังกัด นร. กระทรวง หรือทบวง (ยกเว้น กอ.รมน. ตช. และ ศร.ชล) รวม 19 หน่วยงาน แต่งตั้งโดยรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่กำกับส่วนราชการ และ (3) คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของส่วนราชการใน นร. [เฉพาะสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)] แต่งตั้งโดยรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่กำกับ สปน. 2. จังหวัด มีคณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของจังหวัดซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ ผู้แทนของสำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในคณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของส่วนราชการ/จังหวัด ควรกำหนดให้ผู้แทนหลักเป็นระดับผู้อำนวยการกองขึ้นไปและผู้แทนสำรองเป็นระดับผู้เชี่ยวชาญขึ้นไป |
|||||||||||||||||||||||||
ขั้นตอนการพิจารณาตัวชี้วัด |
● สำนักงาน ก.พ.ร. จะเป็นผู้พิจารณารายการตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic KPIs) ของส่วนราชการและตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานตามประเด็นนโยบายสำคัญ (Joint KPIs by Agenda) และร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณารายการตัวชี้วัดของจังหวัด ● การขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดและตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานตามประเด็นนโยบายสำคัญ (Joint KPIs by Agenda) ให้ส่วนราชการและจังหวัดเสนอให้คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ของส่วนราชการ/จังหวัด รับทราบ/พิจารณา และเสนอ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการฯ เพื่อทราบ/พิจารณา ตามลำดับ |
|||||||||||||||||||||||||
การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ |
● เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ดังนี้ 1. ส่วนราชการและจังหวัดสามารถขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนน หากการดำเนินงานตามตัวชี้วัดได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น (1) สถานการณ์ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติ โรคระบาดรุนแรง โรคอุบัติใหม่ ที่ไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า (2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาล และ (3) ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณหรือได้รับงบประมาณล่าช้าอย่างน้อย 6 เดือน 2. คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามแนวทาง ดังนี้ 2.1 การปรับเปลี่ยนค่าเป้าหมายต้องไม่เป็นการนำผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นแล้วมากำหนดเป็นค่าเป้าหมายใหม่เพื่อให้มีผลการประเมินดีขึ้น 2.2 หากเห็นควรให้ยกเลิกตัวชี้วัด ให้นำน้ำหนักของตัวชี้วัดนั้นไปกระจายลงตัวชี้วัดอื่นตามสัดส่วนความสำคัญของแต่ละตัวชี้วัด 2.3 ไม่กำหนดตัวชี้วัดทดแทนหรือตัวชี้วัดใหม่ระหว่างปี เนื่องจากไม่ได้มีการพิจารณาตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2.4 การปรับเปลี่ยนค่าเป้าหมายเเผนการดำเนินงาน/กิจกรรมที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนวิธีการ หรือแนวทางการดำเนินงานที่เป็นการบริหารจัดการภายในของส่วนราชการหรือเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานอันเนื่องมาจากการบริหารโครงการที่ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ไม่ได้เป็นเหตุจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ 3. การพิจารณาขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ของส่วนราชการและจังหวัดให้คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ พิจารณา และเสนอ อ.ก.พ.ร. เพื่อทราบตามลำดับ และการพิจารณาขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ให้คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ พิจารณาเบื้องต้นและเสนอ อ.ก.พ.ร. พิจารณา ตามลำดับ หมายเหตุ : การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงฯ จะปรับเปลี่ยนได้เฉพาะองค์ประกอบการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (น้ำหนักร้อยละ 70) (ตัวชี้วัดตามภารกิจและ Joint KPIs) เท่านั้น ● การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ให้ส่วนราชการและจังหวัดเสนอคณะกรรมการกำกับการประเมินฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้คณะกรรมการกำกับการประเมินฯ แจ้งผลการพิจารณาให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ แบ่งออกเป็น 2 รอบ ดังนี้ - รอบ 6 เดือน (ภายในเดือนกุมภาพันธ์) - รอบ 12 เดือน (ภายในเดือนกรกฎาคม) |
|||||||||||||||||||||||||
การให้ข้อเสนอแนะเพื่อส่งสัญญาณล่วงหน้า (Early Warning) |
เป็นการกำกับและติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของส่วนราชการและจังหวัดเพื่อติดตามแนวโน้มผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดของส่วนราชการและจังหวัด และให้ข้อเสนอแนะเพื่อส่งสัญญาณล่วงหน้า (Early Warning) โดยสำนักงาน ก.พ.ร. จะแจ้งเตือนสถานการณ์ดำเนินงานตามตัวชี้วัดของส่วนราชการและจังหวัด ปีละ 1 ครั้ง ในเดือนมิถุนายน (ถ้ามี) |
|||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมโยงผลการประเมินส่วนราชการกับการประเมินผู้บริหารส่วนราชการ |
ผลการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคลระดับหัวหน้าส่วนราชการ (ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า อธิบดีหรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด) เพื่อให้การประเมินหัวหน้าส่วนราชการสามารถผลักดันการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ ส่วนราชการและจังหวัดจะนำผลการประเมินตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ไปประกอบการประเมินผู้บริหารส่วนราชการ |
2. สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีหลังยุบสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งหลังจากมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปเว้นแต่ที่กำหนดไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี ก.พ.ร. แจ้งว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการดำเนินการในลักษณะงานปกติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ได้เป็นการกำหนดนโยบายขึ้นใหม่ จึงไม่เป็นการกระทำการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
__________________
* ก.พ.ร. มีมติ (7 มิถุนายน 2566) เห็นชอบประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) 5 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การบริหารจัดการและอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ (2) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (3) รายได้จากการท่องเที่ยว (4) รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP และ (5) การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10
2 จากการประสานสำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า สำนักงาน ก.พ.ร. จะพิจารณารายงานผลการประเมินตนเองเบื้องต้นของส่วนราชการและจังหวัด ก่อนรายงานให้ผู้ประเมินข้างต้นทราบ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 กรกฎาคม 2566
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A7897