WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2566 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2023)

GOV8 copy

ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2566 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2023)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2566 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2023) (การประชุมฯ) ระหว่างวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา โดยมีรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์) เข้าร่วมการประชุมฯ [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (16 พฤษภาคม 2566) ที่เห็นชอบร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2566 (ร่างแถลงการณ์ฯ) และเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีเคยได้เห็นชอบไว้ ให้สามารถดำเนินการได้โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง] ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2566 สรุปได้ ดังนี้

          1. วาระระบบการค้าพหุภาคี ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (ที่ประชุมฯ) ยืนยันให้การสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี เร่งรัดการปฏิบัติตามผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ครั้งที่ 12 เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 และสนับสนุนให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในการประชุมครั้งต่อไป โดยผู้อำนวยการใหญ่ WTO คาดหวังให้ประเด็นการค้าและการพัฒนาเป็นหนึ่งในผลลัพธ์ดังกล่าว ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจเอเปคจำนวนมากกล่าวถึงประเด็นการปฏิรูป WTO (รวมถึงกลไกการระงับข้อพิพาท) และสิ่งแวดล้อมด้วย โดยในส่วนของประเทศไทยได้มีการนำเสนอแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย

          2. วาระการค้ากับความยั่งยืนและครอบคลุม มีการนำเสนอนโยบายทางการค้าหรือมาตรการภายในที่สนับสนุนความยั่งยืนและส่งเสริมความครอบคลุม เช่น การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) ของสตรีและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ทั้งนี้ ไทยสนับสนุนให้สานต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bangkok Goals on Bio-Circular-Green Economy (BCG Economy)] และเน้นย้ำการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจผ่านข้อริเริ่มต่างๆ (รวมถึงแผนงานเขตการค้าเสรี เอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTAAP)

          3. การหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) เป็นวาระพิเศษที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 โดยผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่เป็นผู้นำการหารือร่วมกับผู้ประกอบการ SMEs เกี่ยวกับประเด็นการใช้เทคโนโลยีหรือบริการทางดิจิทัลในสาขาการชำระเงิน แพลตฟอร์มทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ เพื่อสนับสนุนให้ SMEs สามารถเข้าสู่เศรษฐกิจโลกได้มากขึ้น

          4. เอกสารผลลัพธ์การประชุม เขตเศรษฐกิจเห็นพ้องกันในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุน แต่เนื่องจากเหตุทางการเมืองระหว่างประเทศ (สงครามสหพันธรัฐรัสเซีย-ยูเครน) ที่ประชุมฯ จึงไม่สามารถมีฉันทามติรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ โดยปรากฎเป็นเอกสารผลลัพธ์และมีประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติม เช่น

 

เอกสารผลลัพธ์

 

ประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยน/เพิ่มเติม

(1) แถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2566 (แถลงการณ์ประธานฯ)

 

● ปรับย้ายย่อหน้าการสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีจากเดิมที่อยู่ตอนท้ายมาเป็นตอนต้น และเพิ่มเติมรายละเอียดของการดำเนินงานในปัจจุบันภายใต้ WTO

● เพิ่มเติมถ้อยคำแสดงความมุ่งมั่น ข้อสั่งการ และรายชื่อเอกสารผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เอเปคสามารถบรรลุผลลัพธ์การดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม การเร่งรัดการปฏิบัติการตามแผนงานลาเซเรนาเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม และการขับเคลื่อน FTAAP โดยการเสริมสร้างศักยภาพและความร่วมมือ

(2) ภาคผนวกเรื่องหลักการสำหรับการทำงานร่วมกันของระบบใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเปค

 

เป็นภาคผนวกที่ให้การรับรองเพิ่มเติมในระหว่างการประชุมเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงและสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางดิจิทัล โดยพยายามให้เขตเศรษฐกิจเอเปคสามารถใช้ใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันได้ตามเขตอำนาจของกฎหมายของแต่ละเขตเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งเสริมการใช้มาตรฐานและพิธีการร่วมกันและการสนับสนุนข้อริเริ่มที่เกี่ยวข้อง

(3) ภาคผนวกเรื่องหลักการทั่วไปที่ไม่มีผลผูกพันเรื่องบริการที่สนับสนุนการจัดเก็บขยะในทะเลของเอเปค

 

ตัดหัวข้อการติดตามสถานการณ์ขยะในทะเลและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องออก

 

          ทั้งนี้ ประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมจากเอกสารผลลัพธ์ไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2566

          ความเห็นและข้อสังเกตของ พณ.

          1. สหรัฐอเมริกาในฐานะเจ้าภาพให้ความสำคัญกับนโยบายการค้าที่สนับสนุนความยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งเขตเศรษฐกิจได้นำเสนอนโยบายหรือมาตรการภายในที่สอดรับกับแนวทางดังกล่าว ขณะที่ไทยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาสินค้าภายใต้แนวคิด BCG Economy ที่สามารถตอบโจทย์การค้าสินค้าที่ยั่งยืน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของไทย และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของการประชุมด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ

          2. ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศส่งผลให้ที่ประชุมฯ ต้องออกเอกสารผลัพธ์เป็นแถลงการณ์ประธานฯ แทนการออกแถลงการณ์ร่วมฯ แต่ไม่ได้ส่งผลให้การดำเนินงานของเอเปคหยุดชะงักเนื่องจากทุกเขตเศรษฐกิจเห็นพ้องและยอมรับในสาระสำคัญที่จะผลักดันและสานต่อการทำงานของเอเปคในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7891

Click Donate Support Web  

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!