WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการดำเนินงานตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ

GOV 3

ผลการดำเนินงานตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบทั้ง 2 ข้อตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้ 

          1. รับทราบผลการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ (ผลการดำเนินการฯ) รอบ 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2565 และเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2565

          2. เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 มีนาคม 2565) เห็นชอบ โดยกำหนดเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 20 พร้อมทั้งให้รายงานผลการดำเนินการฯ ในเว็บไซต์ www.e-report.energy.go.th เป็นประจำทุกเดือน แล้วให้ พน. โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ทำหน้าที่กำกับดูแลและรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานของหน่วยงานภาครัฐในภาพรวมเสนอนายกรัฐมนตรี โดยปรับรอบการรายงานผลการดำเนินการฯ จากเดิม รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส เป็น รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นประจำทุก 6 เดือน (เดือนตุลาคม-มีนาคมและเดือนเมษายน-กันยายนของทุกปี) 

          ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          สาระสำคัญของเรื่อง

          พน. รายงานว่า

          1. ผลการดำเนินงานตามมาตรการลดใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ สนพ. ได้กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของการประเมินผลการประหยัดพลังงาน โดยอ้างอิงแนวทางการประเมินตัวชี้วัดการลดใช้พลังงานของหน่วยงานราชการที่สำนักงาน ก.พ.ร. และ สนพ. ได้ดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 มีหน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 9,104 หน่วยงาน แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ (1) ส่วนราชการ (2) จังหวัด (3) ที่ทำการปกครองอำเภอ (4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) (5) สถาบันอุดมศึกษา และ (6) รัฐวิสาหกิจ และแบ่งการประเมินออกเป็น 2 ด้าน คือ การลดใช้ไฟฟ้าและการลดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีเป้าหมายการลดใช้พลังงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เทียบกับมาตรฐานการใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำมันของแต่ละหน่วยงาน ซึ่ง สนพ. ได้กำหนดแนวทางการคำนวณมาตรฐานการใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำมันของแต่ละหน่วยงานจากปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการใช้พลังงานของหน่วยงาน เช่น จำนวนบุคลากร พื้นที่ใช้สอยของอาคาร ชั่วโมงการทำงานในแต่ละเดือน และพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน โดยมีผลการดำเนินงานรอบ 3 เดือน จำนวน 2 รอบ สรุปได้ ดังนี้

                    1.1 รอบที่ 1 ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2565

                    (1) ด้านไฟฟ้า

กลุ่ม

หน่วยงาน

ทั้งหมด

(หน่วยงาน)

หน่วยงาน

ที่รายงาน

ข้อมูลครบ

(หน่วยงาน)

หน่วยงาน

ที่ลดไฟฟ้า

ได้เกินร้อยละ 20

(หน่วยงาน)

เพิ่ม/(ลด)

ไฟฟ้า

เทียบกับ

มาตรฐาน

การใช้ไฟฟ้า

(ร้อยละ)

เพิ่ม/(ลด)

ไฟฟ้า 

เทียบกับ

ช่วงเดียวกัน

ของปี 2564*

(ร้อยละ)

1) ส่วนราชการ

167

85

61

(40)

(1.58)

2) จังหวัด

76

55

55

(49)

(8.45)

3) อำเภอ

878

239

140

(34)

(18.52)

4) อปท.

7,851

3,549

2,485

(61)

(6.25)

5) สถาบันอุดมศึกษา

80

5

3

(30)

(0)

6) รัฐวิสาหกิจ

52

1

1

(84)

(0)

รวม

9,104

3,934

2,745

(47)

(4.79)

 

                    (2) ด้านน้ำมัน

กลุ่ม

หน่วยงาน

ทั้งหมด

(หน่วยงาน)

หน่วยงาน

ที่รายงาน

ข้อมูลครบ

(หน่วยงาน)

หน่วยงาน

ที่ลดน้ำมัน

ได้เกินร้อยละ 20

(หน่วยงาน)

เพิ่ม/(ลด)

น้ำมัน

เทียบกับ

มาตรฐาน

การใช้น้ำมัน

(ร้อยละ)

เพิ่ม/(ลด)

น้ำมัน

 เทียบกับ

ช่วงเดียวกัน

ของปี 2564

(ร้อยละ)

1) ส่วนราชการ

167

88

86

(61)

(8.21)

2) จังหวัด

76

53

52

(65)

(2.83)

3) อำเภอ

878

228

204

(58)

(8.90)

4) อปท.

7,851

3,333

2,557

(47)

3.31

5) สถาบันอุดมศึกษา

80

6

4

(38)

0

6) รัฐวิสาหกิจ

52

1

1

(92)

0

รวม

9,104

3,709

2,904

(56)

(0.76)

 

                    เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 พบว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง 16.33 ล้านหน่วย และปริมาณการใช้น้ำมันลดลง 0.16 ล้านลิตร คิดเป็นจำนวนเงินที่ประหยัดได้ทั้งสิ้น 71.9 ล้านบาท

                    1.2 รอบที่ 2 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2565

                    (1) ด้านไฟฟ้า 

กลุ่ม

หน่วยงาน

ทั้งหมด

(หน่วยงาน)

หน่วยงาน

ที่รายงาน

ข้อมูลครบ

(หน่วยงาน)

หน่วยงาน

ที่ลดไฟฟ้า

ได้เกินร้อยละ 20

(หน่วยงาน)

เพิ่ม/(ลด)

ไฟฟ้า

เทียบกับ

มาตรฐาน

การใช้ไฟฟ้า

(ร้อยละ)

เพิ่ม/(ลด)

ไฟฟ้า 

เทียบกับ

ช่วงเดียวกัน

ของปี 2564

(ร้อยละ)

1) ส่วนราชการ

167

128

92

(33)

0.45

2) จังหวัด

76

76

73

(45)

1.92

3) อำเภอ

878

242

135

(31)

(17.86)

4) อปท.

7,851

4,778

2,899

(55)

(3.04)

5) สถาบันอุดมศึกษา

80

12

5

(27)

0

6) รัฐวิสาหกิจ

52

1

1

(78)

0

รวม

9,104

5,237

3,205

(41)

(0.02)

 

                    (2) ด้านน้ำมัน

กลุ่ม

หน่วยงาน

ทั้งหมด

(หน่วยงาน)

หน่วยงาน

ที่รายงาน

ข้อมูลครบ

(หน่วยงาน)

หน่วยงาน

ที่ลดน้ำมัน

ได้เกินร้อยละ 20

(หน่วยงาน)

เพิ่ม/(ลด)

น้ำมัน

เทียบกับ

มาตรฐาน

การใช้น้ำมัน

(ร้อยละ)

เพิ่ม/(ลด)

น้ำมัน

เทียบกับ

ช่วงเดียวกัน

ของปี 2564

(ร้อยละ)

1) ส่วนราชการ

167

128

126

(68)

(16.25)

2) จังหวัด

76

76

76

(64)

(1.83)

3) อำเภอ

878

226

208

(68)

(26.19)

4) อปท.

7,851

4,679

3,522

(37)

(15.39)

5) สถาบันอุดมศึกษา

80

11

5

2

0

6) รัฐวิสาหกิจ

52

1

1

(90)

0

รวม

9,104

5,121

3,938

(53)

(12.96)

 

                    เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ในช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ. 2564 พบว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง 0.095 ล้านหน่วย และปริมาณการใช้น้ำมันลดลง 4.28 ล้านลิตร คิดเป็นจำนวนเงินที่ประหยัดได้ทั้งสิ้น 171.85 ล้านบาท

          2. การดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ

                    2.1 สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (22 มีนาคม 2565) เห็นชอบแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐตามที่ พน. เสนอ โดยกำหนดเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 20 (รวมไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง) และกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ นั้น สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่า ไม่ควรกำหนดเป็นตัวชี้วัดของส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ เนื่องจากไม่ต้องการสร้างภาระให้กับส่วนราชการเกินควร ประกอบกับ พน. สามารถใช้กลไกของมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) เรื่อง มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยให้ส่วนราชการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ และรายงานผลผ่านระบบการรายงานผลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเพื่อติดตามการดำเนินงานและรายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างต่อเนื่อง

                    2.2 พน. เห็นว่า เนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลก รวมถึงสงครามสหพันธรัฐรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ส่งผลให้ราคาพลังงานยังคงมีความผันผวนและทำให้ราคาค่าไฟฟ้าภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนทั่วประเทศในปี 2566 ทำให้ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จึงเห็นควรให้หน่วยงานราชการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 20 อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและให้หน่วยงานราชการเป็นตัวอย่างให้แก่ภาคประชาชนในการลดการใช้พลังงาน ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) เรื่อง มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ อย่างไรก็ตาม พน. เห็นว่า ควรปรับรอบการรายการผลการดำเนินการฯ จาก รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส เป็น รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นประจำทุก 6 เดือน (เดือนตุลาคม-มีนาคม และเดือนเมษายน-กันยายนของทุกปี) เพื่อลดภาระการรายงานผลการดำเนินการฯ และให้สอดคล้องกับ รอบการประเมินผลของส่วนราชการ ตามที่เคยดำเนินการในช่วงปี 2561-2564

_________________________ 

*เนื่องจากแนวทางการประเมินตัวชี้วัดการลดใช้พลังงานฯ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. และ สนพ. กำหนดได้กำหนดให้ส่วนราชการ จังหวัด อำเภอ และ อปท. ดำเนินการเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงสถาบันอุดมศึกษาและรัฐวิสาหกิจ ทำให้สถาบันอุดมศึกษาและรัฐวิสาหกิจไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของปี 2564 ไว้ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (22 มีนาคม 2565) เห็นชอบแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐฯ ทำให้สถาบันอุดมศึกษาและรัฐวิสาหกิจร่วมกันดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวในปี 2565 ดังนั้น จึงไม่มีข้อมูลการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันในปี 2564 ของสถาบันอุดมศึกษาและรัฐวิสาหกิจเพื่อใช้เปรียบเทียบกับปี 2565

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7622

Click Donate Support Web  

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100sme 720x100ธกส 720x100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!