WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนพฤษภาคม 2566

GOV5 copy copy

ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนพฤษภาคม 2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ณ เดือนพฤษภาคม 2566 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ

                  1.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายและกฎ อย่างน้อยทุก 5 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลบังคับใช้ และโดยที่พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ครบกำหนด 5 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ดังนั้น สศช. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย* จึงได้เริ่มประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ทั้ง 2 ฉบับ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลประกอบการรับฟังความเห็นและแบบรับฟังความคิดเห็นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานของรัฐและประชาชนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15 วัน ทั้งนี้ สศช. จะนำผลการรับฟังความเห็นมาประกอบการพิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมของการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและนำเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

                  1.2 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) (แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13) มีการดำเนินการ ดังนี้

                          1.2.1 การขับเคลื่อนโดยกลไกเชิงยุทธศาสตร์ คณะทำงานสนับสนุนการขับเคลื่อนเผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้เตรียมประเด็นที่มีผลกระทบสูงต่อการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้บรรลุเป้าหมายโดยรวมและรายหมุดหมายและเป็นประเด็นที่ไม่มีกลไกหลักในการดำเนินงาน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 โดยได้คัดเลือกประเด็นที่มีผลกระทบสูงและต้องเร่งผลักดันให้แล้วเสร็จในบางหมุดหมาย เช่น หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต โดยประเด็นที่ต้องเร่งผลักดัน คือ คุณธรรม จริยธรรมในโรงเรียน การพัฒนาเครดิตทักษะในอนาคตสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต การขยายผลการพัฒนากำลังคนสมรรถะสูงทั้งในและนอกเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การจัดทำสื่อการเรียนรู้ที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการจัดทำข้อมูลและแผนการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

                          1.2.2 การขับเคลื่อนโดยกลไกตามภารกิจ มีการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ 

 

หมุดหมาย

 

การดำเนินการ

หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง

 

● ส่งเสริมการพัฒนาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพให้แก่เกษตรกรเพื่อยกระดับศักยภาพการผลิตและมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร เช่น การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี จำนวน 17,017.402 ตัน ให้แก่เกษตรกร 82,293 ราย

● พัฒนาและขยายช่องทางตลาดสินค้าเกษตร โดยพัฒนาแพลตฟอร์มสินค้าเกษตร

หมุดหมายที่ 4 ไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง

 

มีการยกร่างยุทธศาสตร์และแผนงานระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสประเทศไทยและเขตนวัตกรรมการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพ โดยกำหนดพื้นที่เศรษฐกิจมูลค่าสูง 9 แห่ง ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต สงขลา เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา และชลบุรี และตั้งเป้าการลงทุนของภาคเอกชนไม่น้อยกว่า 4,138,447 ล้านบาท

หมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SME) ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้

 

● ขยายบริการพัฒนาธุรกิจที่ตรงกับความต้องการเฉพาะของธุรกิจโดยจัดกิจกรรม “SME ปังตังได้คืน ปี 2” เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME

● ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง SME ภายในสาขาและกับธุรกิจรายใหญ่ภายในห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้กิจกรรม Thai SME GP Roadshow

 

                          1.2.3 การขับเคลื่อนโดยกลไกในระดับพื้นที่ สศช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบสารสนเทศรองรับการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ทังนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำความเห็นที่ได้รับจากภาคส่วนต่างๆ ไปปรับปรุงระบบสารสนเทศให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมถึงการจัดทำคู่มือสำหรับผู้จัดเก็บข้อมูลซึ่งจะนำไปใช้สำหรับการเก็บข้อมูลในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

                  1.3 การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มีการดำเนินโครงการกรอบการเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อพัฒนากลยุทธ์สู่การบรรลุ SDGs ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ผ่านการบริหารจัดการความเสี่ยงและการจัดสรรทรัพยากรเพื่อระดมเงินลงทุนในโครงการสำคัญสำหรับขับเคลื่อน SDGs ของไทยเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านการเงินและสร้างสภาวะการปรับตัวที่เข้มแข็ง โดยที่ผ่านมาได้มีการศึกษาและพัฒนาเครื่องมือเสริมสร้างความแข็งแกร่งของชุมชนไทยต่อผลกระทบด้านต่างๆ การเผยแพร่รายงานการประเมินทางการเงินเพื่อการพัฒนาประเทศไทยที่ระบุสถานะทางการเงินและความต้องการด้านการเงินที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อน การพัฒนาที่ยั่งยืนพร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกลไกการกำกับดูแล และกลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายและมาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย นอกจากนี้ สศช. ได้ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระปี 2565-2569 ของสหประชาชาติประจำประเทศไทยร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เพื่อติดตามความก้าวหน้าและหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานสหประชาชาติในการมุ่งสู่การบรรลุ SDGs โดยจะนำโครงการภายใต้กรอบความร่วมมือฯ ซึ่งมีความสอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาที่สำคัญภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 สู่การขยายผลอย่างเป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในระดับพื้นที่และตำบลต่อไป

          2. การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 พบว่า มีหน่วยงานนำเข้าโครงการ ทั้งสิ้น 26,239 โครงการ ดังนี้

 

การรายงาน

ความก้าวหน้า

จำนวนโครงการ

ทั้งหมด

จำนวนโครงการ

ที่มีการรายงาน

จำนวนโครงการ

ที่ไม่มีการรายงาน

ร้อยละของโครงการ

ที่มีการรายงาน

ไตรมาสที่ 1

26,239

13,588

12,651

51.78

ไตรมาสที่ 2

26,239

16,809

9,430

19.16

 

          ทั้งนี้ การรายงานความก้าวหน้าทั้ง 2 ไตรมาส มีหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รายงานความก้าวหน้าครบตามจำนวนโครงการที่หน่วยงานนำเข้าในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) รวม 110 หน่วยงาน รายงานความก้าวหน้าโครงการ/การดำเนินงานจำนวนน้อยกว่าที่ได้รายงานไว้ในไตรมาสที่ 1 รวม 24 หน่วยงาน และไม่ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ/การดำเนินงานรวม 61 หน่วยงาน

          3. การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ สศช. ได้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งจัดโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรในระบบตรวจราชการของหน่วยงานของรัฐในการจัดทำแผนการตรวจราชการประจำปี 2567 ให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี (9 พฤศจิกายน 2564) เรื่อง การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยภายใต้ห่วงโซ่คุณค่าประเทศไทย (Final Value Chain Thailand: FVCT) เพื่อกำหนดประเด็นการตรวจราชการและจัดลำดับความเข้มข้นของการตรวจราชการตามสถานะการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงกลไกการตรวจราชการให้สอดรับและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติตามหลักวงจรบริหารงานคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) มากยิ่งขึ้น

          4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ทุกหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติผ่านแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนแม่บทฯ) ตามหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล โดยใช้ FVCT ของ 140 เป้าหมายแผนแม่บทย่อย เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์การจัดทำโครงการ/การดำเนินงานของหน่วยงานที่สามารถส่งผลต่อการบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ได้อย่างบูรณาการและเป็นรูปธรรมโดยในปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่วมกันจัดทำ FVCT ของ 6 เป้าหมายแผนเม่บทย่อยที่เกิดขึ้นใหม่ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) พร้อมทั้งพิจารณาความจำเป็นในการทบทวน/ปรับปรุง FVCT ของ 134 เป้าหมายแผนแม่บทย่อยเดิม เพื่อให้มีองค์ประกอบและปัจจัยที่ครอบคลุมภารกิจหรือการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายแผนแม่บทย่อยนั้นๆ รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สศช. จะเผยแพร่ FVCT ของ 140 เป้าหมายแผนแม่บทย่อยเพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์และเลือกความสอดคล้องในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายแผ่นแม่บทย่อยที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น หน่วยงานของรัฐต้องศึกษาทำความเข้าใจบทบาทของตนเองทั้งในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานระดับกรมที่มีหน้าที่ร่วมขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อย เพื่อนำมาใช้เป็นกรอบในการจัดทำโครงการ/การดำเนินงานที่สอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานรวมถึงตอบโจทย์การพัฒนาประเทศบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ได้แบบ “พุ่งเป้า” และการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม

          5. นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ สศช. ปรับรอบการรายงานความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติเป็นรอบการรายงานทุกๆ 6 เดือน (เดิมรายงานคณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน) และประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการรับผิดชอบการติดตาม เร่งดำเนินการรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการในระบบ eMENSCR อย่างต่อเนื่อง

___________________

*เป็นการดำเนินการตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0913/1 ลงวันที่ 6 มกราคม 2564 เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเภณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7619

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100MTL 720x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!