WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

อุทยานธรณีโคราชได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)

GOV8 copy

อุทยานธรณีโคราชได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบอุทยานธรณีโคราช1 ได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)2 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอโดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) เป็นโครงการด้านการอนุรักษ์มรดกทางธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) อุทยานธรณีโลกเป็นขอบเขตพื้นที่ที่ประกอบด้วยแหล่งที่มีคุณค่าด้านธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม มีการบริหารจัดการแบบองค์รวมระหว่างการอนุรักษ์ การให้ความรู้ การศึกษาวิจัย และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ เชื่อมโยงความสำคัญของมรดกทางธรณีวิทยาผ่านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ตลอดจนทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน การสร้างวิสาหกิจชุมชน มีนวัตกรรมใหม่ การสร้างงานใหม่ เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจระดับรากหญ้าและการสร้างรายได้แก่ชุมชน ในขณะเดียวกันทรัพยากรธรณีก็ได้รับการปกป้องและอนุรักษ์ไปพร้อมกัน

          2. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการเสนออุทยานธรณีโคราชเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต่อสำนักเลขาธิการยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 [ตามมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เห็นชอบให้เสนออุทยานธรณีโคราชสมัครเข้ารับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก3]

          3. ยูเนสโกได้ตรวจประเมินคุณค่าทางวิชาการด้านธรณีวิทยาของอุทยานธรณีโคราชและพบว่ามีความสำคัญโดดเด่นระดับโลก และได้ส่งผู้ประเมินภาคสนามมาเพื่อตรวจประเมินอุทยานธรณีโคราช ระหว่างวันที่ 22-26 มิถุนายน 2565 โดยผู้ประเมินได้จัดทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks Council Meeting) พิจารณาระหว่างวันที่ 4-5 กันยายน 2565 ซึ่งที่ประชุมดังกล่าวมีมติว่าคุณสมบัติของอุทยานธรณีโคราชครบถ้วนตามหลักเกณฑ์4 และได้นำมติดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโกพิจารณาแล้ว โดยคณะกรรมการบริหารของยูเนสโกในการประชุม ครั้งที่ 216 ซึ่งจัดขึ้น ณ องค์การยูเนสโกสำนักงานใหญ่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 10-24 พฤษภาคม 2566 ได้รับรองอุทยานธรณีโคราชเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกและได้ส่งหนังสือแจ้งผลอย่างเป็นทางการกับอุทยานธรณีโคราช รวมทั้งประกาศในเว็บไซต์ของยูเนสโก (https:/www.unesco.org) แล้ว

          4. เมื่อมีสถานะเป็นอุทยานธรณีโลกภายในระยะเวลา 4 ปี จะต้องได้รับการประเมินใหม่อีกครั้งเพื่อรักษาคุณสมบัติและคุณภาพของอุทยานธรณีโลก โดยหากผ่านเกณฑ์จะได้รับการต่ออายุเป็นอุทยานธรณีโลกอีก 4 ปี แต่หากไม่ผ่านเกณฑ์หน่วยงานผู้รับผิดชอบในการบริหารอุทยานธรณีโลกต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามขั้นตอนและข้อเสนอแนะของยูเนสโกให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ทั้งนี้ หากไม่สามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในกำหนดจะถูกถอนออกจากการเป็นอุทยานธรณีโลก

          5. ปัจจุบันประเทศไทยมีอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ อุทยานธรณีโลกสตูล5 และอุทยานธรณีโลกโคราช รวมทั้งมีอุทยานธรณีประเทศไทยจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก (จังหวัดอุบลราชธานี) อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ และอุทยานธรณีขอนแก่น โดยปัจจุบันอุทยานธรณีขอนแก่นอยู่ระหว่างขอรับรองเป็นอุทยานธรณีโลก

_____________

1อุทยานธรณีโคราช จัดตั้งโดยจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมด 5 อำเภอ คือ อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอเมืองนครราชสีมา และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยมีแหล่งธรณีวิทยา แหล่งธรรมชาติ และแหล่งวัฒนธรรมในพื้นที่จำนวน 35 แหล่ง ในจำนวนนี้เป็นแหล่งธรณีวิทยาที่มีคุณค่าระดับนานาชาติ 4 แหล่ง ได้แก่ (1) แหล่งอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินฯ (2) แหล่งไดโนเสาร์อิกัวโนดอนพันธุ์ใหม่ของโลก (3) แหล่งฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์ และ (4) แหล่งฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้ ยังมีภูมิประเทศเขาเควสตาแบบคู่ (เควสตาโคราช) ซึ่งเป็นภูเขาที่มีลักษณะคล้ายมีดอีโต้ที่นับว่ายาวที่สุดแห่งหนึ่งของโลกตลอดจนมีโบราณสถาน วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน และความหลากหลายทางชีวภาพที่สอดคล้องกับแนวทางการเป็นอุทยานโลกของยูเนสโก

2ประโยชน์ของการเป็นสมาชิกอุทยานธรณียูเนสโก คือ ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านคุณค่าของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจะดึงดูดนักท่องเที่ยว นำรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่นและประเทศ ประชากรในพื้นที่มีงานทำ มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประชากรในพื้นที่เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหน ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งศึกษา วิจัย ของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

3การสมัครเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก : อุทยานธรณีโคราช จังหวัดนครราชสีมาเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับชำระค่าสมาชิกปีละ 1,500 ยูโร (ประมาณ 56,000 บาท) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประเมินภาคสนาม และการเข้าร่วมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกและเครือข่ายอุทยานธรณีในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

4หลักเกณฑ์ในการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกตามข้อมูลโครงการด้านธรณีศาสตร์และอุทยานธรณีของยูเนสโก (International Geoscience and Geoparks Programme: IGGP) เช่น ต้องเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เป็นหนึ่งเดียวหรือเป็นสถานที่ซึ่งอาจมีเพียงที่เดียว และมีลักษณะทางภูมิทัศน์ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาในระดับโลก มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น และเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีโลก (Global Geoparks Network GGN) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล แบ่งปันประสบการณ์ และดำเนินโครงการหรือกิจกรรมร่วมกันภายในเครือข่าย

5อุทยานธรณีโลกสตูลได้รับการรับรองจากยูเนสโกให้เป็นอุทยานธรณีโลกเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 ซึ่งเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7614

Click Donate Support Web  

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100sme 720x100ธกส 720x100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!