WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570 ประจำปี 2565

GOV8

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570 ประจำปี 2565

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ รายงานผลการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570 (แผนปฏิบัติการฯ) ประจำปี 2565 และโครงการตามเผนปฏิบัติการฯ ประจำปี 2566 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (14 มิถุนายน 2565) ที่เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570 ซึ่งกำหนดให้มีการรายงานผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี] โดยในปี 2565 การดำเนินงานเป็นการวางรากฐานและเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยมีกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะทางการเงินอย่างบูรณาการเพื่อสร้างระบบนิเวศด้านการพัฒนาทักษะทางการเงินที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 3 เป้าหมาย 8 มาตรการ 19 แผนงาน ซึ่งมีความคืบหน้า สรุปได้ ดังนี้

          1. ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ประจำปี 2565 ซึ่งมีแผนงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 7 แผนงาน แผนงานที่เป็นไปตามแผน 11 แผนงาน และแผนงานที่ไม่เป็นไปตามแผน 1 แผนงาน สรุปได้ ดังนี้

มาตรการ

 

แผนงาน

 

ผลการดำเนินงาน

เป้าหมายที่ 1 คนไทยตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบริหารจัดการเงินและเข้าถึงข้อมูลการเงิน ประกอบด้วย 2 มาตรการ

(1) ยกระดับความสำคัญการพัฒนาทักษะทางการเงิน

 

1) กำหนดให้มีการรณรงค์ระดับชาติเพื่อสร้างความตระหนักรู้ทางการเงินให้แก่ประชาชน

 

ดำเนินการแล้วเสร็จ โดยรัฐบาลได้กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือนซึ่ง กค. ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดมหกรรมร่วมใจแก้หนี้เมื่อเดือนกันยายน 2565-มกราคม 2566 มีกิจกรรม 3 ด้าน ได้แก่ การแก้ไขปรับโครงสร้างหนี้ การแก้ไขสินเชื่อเดิมและการให้สินเชื่อใหม่ และการให้คำปรึกษาด้านการเงิน โดยมีผู้ลงทะเบียนเพื่อขอแก้ไขหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผ่านระบบออนไลน์ 188,739 ราย และมีผู้ขอรับบริการกิจกรรมมหกรรมร่วมใจแก้หนี้รูปแบบสัญจร 33,859 รายการ

 

 

2) กำหนดให้การพัฒนาทักษะทางการเงินเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ

 

ดำเนินการไม่เป็นไปตามแผน เนื่องจากในปี 2565 ภาวะเศรษฐกิจอยู่ระหว่างฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จึงต้องเร่งแก้ไขหนี้ครัวเรือนก่อน อย่างไรก็ตาม กค.จะเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะทางการเงินร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนทั่วประเทศต่อไป

(2) ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ทางการเงินที่ถูกต้อง

และเชื่อถือได้และพัฒนาทักษะทางการเงินด้วยตนเองของประชาชน

 

1) ใช้เทคโนโลยีและสื่อ ดิจิทัลเพื่อเพิ่มระดับการเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ทางการเงินที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ รวมทั้งการเตือนภัยทางการเงิน

2) พัฒนาเว็บไซต์ความรู้ทางการเงินเพื่อคนไทยที่เข้าถึง ใช้งานง่ายและเชื่อถือได้อย่างต่อเนื่อง

3) ประชาสัมพันธ์ช่องทางให้คำปรึกษาทางการเงินของหน่วยงานต่างๆ

 

ดำเนินการแล้วเสร็จทั้ง 3 แผนงาน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธปท. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ...) และบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้ผลิตเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานและสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น การบริหารจัดการหนี้ การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลและภัยทางการเงิน นอกจากนี้ สำนักงาน ... ได้พัฒนาและดูแลเว็บไซต์รู้เรื่องเงิน.com” ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง มีผู้เข้าชมเว็บไซต์ 632,308 ครั้ง (เป้าหมาย 500,00 ครั้ง)

เป้าหมายที่ 2 คนไทยมีความรู้และทักษะทางการเงินเพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 4 มาตรการ

(3) กำหนดกรอบสมรรถนะ

ทางการเงินสำหรับคนไทย

 

พัฒนากรอบสมรรถนะทางการเงินสำหรับคนไทยแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

 

ดำเนินการเป็นไปตามแผน โดยอยู่ระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จัดทำกรอบสมรรถนะทางการเงินร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ทั้งนี้ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2566

(4) ผลักดันการพัฒนาทักษะทางการเงินในระบบการศึกษา

 

1) ผลักดันการพัฒนาทักษะทางการเงินในหลักสูตรการเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับอาชีวศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

ดำเนินการเป็นไปตามแผน โดยปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอยู่ระหว่างพัฒนา (ร่าง) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งอาจใช้ระยะเวลานาน ดังนั้นหน่วยงานต่างๆ จึงได้จัดทำหลักสูตรด้านการเงินร่วมกับหน่วยงานด้านการศึกษาเพื่อจัดทำเป็นโครงการนำร่องและเป็นต้นแบบให้สถานศึกษาอื่นๆ ต่อไป เช่น ธปท. จัดทำหลักสูตรวิชารู้ทันเงินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายร่วมกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

2) ยกระดับความรู้และพัฒนาครูผู้สอน

 

ดำเนินการเป็นไปตามแผน โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการแบบภาคสมัครใจ เช่น การนำการอบรมของ SET e-Learning มาใช้เลื่อนวิทยฐานะ และการจัดทำเอกสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางการเงิน

 

 

3) ส่งเสริมการเรียนการสอน

เรื่องการเงินส่วนบุคคลในระดับอุดมศึกษา

 

ดำเนินการเป็นไปตามแผน โดย ตลท. ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนหลักสูตรการเงินและการลงทุนเพื่อการศึกษาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับสถาบันอุดมศึกษา

(5) พัฒนาทักษะทางการเงิน

ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายตลอดช่วงชีวิต

 

ดำเนินโครงการให้ความรู้และพัฒนาทักษะทางการงินรวมถึงการเงินดิจิทัล ภัยและกลโกงการเงิน และการป้องกันและจัดการความเสี่ยงให้ประชาชนทุกกลุ่ม โดยจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายตามสภาพปัญหาและความจำเป็นเร่งด่วน

 

ดำเนินการเป็นไปตามแผน โดยให้ความรู้ทักษะทางการเงินต่างๆ เช่น การออม การลงทุน การประกันภัยและการทำแผนธุรกิจ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย 9 กลุ่ม ผ่านทางช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ได้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มอุดมศึกษา กลุ่มผู้มีงานทำ กลุ่มภาครัฐ กลุ่มประชาชนระดับฐานราก กลุ่มผู้สูงวัย กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ถ่ายทอดความรู้ และทักษะทางการเงิน และกลุ่มเปราะบางทางการเงินสูง โดยมีผู้เข้ารับการอบรมทักษะทางการเงินรวม 3.59 ล้านราย มีจำนวนการรับชมความรู้ทักษะทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ 43.62 ล้านครั้ง โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีงานทำและกลุ่มประชาชนทั่วไป

(6) พัฒนากฎระเบียบและมาตรการเพื่อสนับสนุน

 

1) กำหนดให้องค์กรในภาคการเงินต้องจัดให้มีกิจกรรมพัฒนาทักษะทางการเงิน

 

ดำเนินการเป็นไปตามแผน โดย กค. ได้กำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องพัฒนาทักษะทางการเงินในแผนธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งในปี 2565 ได้บรรจุกิจกรรมพัฒนาทักษะทางการเงินให้แก่ทุกกลุ่มเป้าหมาย ยกเว้นกลุ่มบุคลากรภาครัฐ

 

 

2) กำหนดให้การเข้ารับการอบรมและการผ่านแบบทดสอบการบริหารจัดการหนี้เพื่อการศึกษาเป็นเงื่อนไขของการได้รับอนุมัติวงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

 

ดำเนินการเป็นไปตามแผน โดยคณะกรรมการ กยศ. กำหนดให้การเข้ารับการอบรมและการผ่านแบบทดสอบการพัฒนาทักษะทางการเงินเป็นเงื่อนไขของการได้รับอนุมัติวงเงินกู้ยืมจาก กยศ. ทั้งนี้ กยศ. ร่วมกับ ธปท. และ ตลท. จัดทำหลักสูตรทางการเงินที่เหมาะสม โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มบังคับใช้กับผู้กู้ยืมเงิน กยศ. ได้ใน ปี 2567

 

 

3) กำหนดให้บุคลากรภาครัฐบรรจุใหม่ได้รับการฝึกอบรมการเงินส่วนบุคคล

 

ดำเนินการเป็นไปตามแผน โดยสำนักงาน .. จะพิจารณานำหลักสูตร e-Learning ของ ตลท. เป็นวิชาเลือกเรียนตามอัธยาศัยภายใต้ระบบ e-Learning ของสำนักงาน .. เพื่อเป็นการทดสอบระบบและทดสอบความสนใจในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายต่อไป

เป้าหมายที่ 3 ประเทศไทยมีกลไกขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาทักษะทางการเงินอย่างบูรณาการและยั่งยืน

(7) จัดตั้งกลไกขับเคลื่อน การดำเนินการพัฒนาทักษะทางการเงินอย่างบูรณาการและยั่งยืน

 

แต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาทักษะทางการเงินเพื่อขับเคลื่อนกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน (คณะกรรมการฯ)

 

ดำเนินการแล้วเสร็จ โดยนายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ แล้วตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 200/2565 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมพิจารณาขับเคลื่อน กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ แล้วเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565

(8) สร้างระบบการติดตามและประเมินผล

 

1) กำหนดตัวชี้วัดระดับเป้าหมาย

 

ดำเนินการแล้วเสร็จ โดยคณะกรรมการฯ กำหนดให้ทุกแผนงาน/โครงการที่เป็นการดำเนินการต่อเนื่องควรมีผลการดำเนินการเฉลี่ยไม่น้อยกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นปีฐาน และเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จากปีก่อนหน้า รวมทั้งกำหนดกรอบการวัดผลในมิติ ต่างๆ เช่น เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และเชิงพื้นที่

 

 

2) กำหนดตัวชี้วัดของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งการประเมินผล

 

ดำเนินการแล้วเสร็จโดยหน่วยงานตามแผนปฏิบัติการฯได้กำหนดตัวชี้วัดสำหรับปี 2565 และ 2566 แล้วทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และเชิงพื้นที่

 

 

3) จัดให้มีการสำรวจระดับทักษะทางการเงินทุก 2 ปี

 

ดำเนินการเป็นไปตามแผน โดย ธปท. อยู่ระหว่างจัดทำรายงานการสำรวจทักษะทางการเงินปี 2565 และคาดว่าจะเผยแพร่ภายในปี 2566

 

 

4) ผลักดันให้มีการบูรณาการ

ระบบข้อมูลความรู้/ทักษะทางการเงิน

 

ดำเนินการเป็นไปตามแผน โดย กค. (สศค.) ได้รวบรวมข้อมูล เช่น จำนวนกลุ่มเป้าหมาย และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีแผนจัดเก็บข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านที่สะท้อนข้อมูลเชิงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย โดยจะมีการบูรณาการระบบข้อมูลดังกล่าวเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลต่อไป

 

 

5) จัดทำรายงานผลการดำเนินและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี

 

ดำเนินการเป็นไปตามแผน โดยคณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ และข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจำทุกปี

 

          2. คณะกรรมการฯ มีข้อเสนอแนะในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการให้ความรู้การเงินดิจิทัลและภัยและกลโกงทางการเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งมีหน่วยงานได้ดำเนินการแล้ว เช่น สำนักงาน ก.ล.ต. ได้จัดทำหลักสูตร e-Learning “ก.ล.ต. Crypto Academy” ซึ่งจะเริ่มเผยแพร่ในปี 2566 และ ธปท. ได้ออกมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน โดยให้ธนาคารงดส่งลิงก์ ทุกประเภท ปิดกั้น SMS และเบอร์ Call Center ที่แอบอ้างเป็นธนาคาร

          3. โครงการตามแผนปฏิบัติการฯ ประจำปี 2566 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำโครงการตามแผนปฏิบัติการฯ ประจำปี 2566 เพิ่มเติม จำนวน 18 โครงการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการฯ ในการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ด้านการเงิน การผลักดันการพัฒนาทักษะทางการเงินในระบบการศึกษา การให้ความรู้ด้านการเงินแก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น การออม การบริหารจัดการเงิน ภัยและกลโกงการเงิน และการมีมาตรการสนับสนุนเพื่อให้องค์กรในภาคการเงินมีกิจกรรมด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 20 มิถุนายน 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A6685

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!