WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรมของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา

GOV 26

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรมของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรมของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          สาระสำคัญ 

          กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรมของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมติเห็นชอบในหลักการของรายงานการพิจารณาศึกษาฯ และได้มีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สรุปได้ดังนี้

          1. ข้อเสนอเชิงนโยบาย อาทิ (1) ควรประกาศกำหนดให้การพัฒนาสมุนไพรไทยเป็นวาระแห่งชาติ (2) ควรส่งเสริมให้พัฒนาความรู้ สมรรถนะและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงด้านภูมิปัญญาไทย (3) ควรกำหนดนโยบายแห่งรัฐในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เป็นต้น กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วย

          2. ข้อเสนอเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเชิงบูรณาการ อาทิ (1) ด้านการจัดการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ควรพัฒนาสายพันธุ์พืชสมุนไพรและปัจจัยที่เกี่ยวกับการปลูกการเก็บเกี่ยว การเตรียมวัตถุดิบก่อนส่งเข้ากระบวนการแปรรูป ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมให้วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีคุณภาพ (2) ด้านการวิจัยและจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน ควรแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการและวิจัยสมุนไพรและสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอ (3) ระเบียบวิธีวิจัยในคนที่เกี่ยวข้องกับการใช้สมุนไพร 3.1) ควรแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการและวิจัยสมุนไพรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการบูรณาการและความเข้าใจระหว่างการแพทย์แผนตะวันออกและตะวันตกโดยให้เข้าใจหลักการการวิจัย การจัดการข้อมูล และการตัดสินใจนำมาใช้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่ต่างกัน 3.2) ควรจัดข้อมูลให้เป็นระบบและนำไปสู่หลักสูตรการเรียนรู้ของแพทย์และบุคลากรด้านสุขภาพ (4) ด้านกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ มาตรฐานอาหารและยาสิทธิบัตร/สิทธิประโยชน์ การคุ้มครองผู้บริโภค การตลาดและการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วย

          3. กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ (1) ควรมีขั้นตอนในการพิจารณา จัดลำดับ และคัดเลือกปัญหาที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตพืชสมุนไพรวิจัยและนวัตกรรม และการนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด (2) ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมเพื่อลดอุปสรรคและสร้างโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยผ่านกลไกการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐเอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อขยายผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรให้มีความรู้และเทคนิคเฉพาะด้านการปลูก การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรเพื่อให้ได้ปริมาณสารสำคัญสูงสุด (3) ควรให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ในการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร เช่น การพัฒนาระบบถ่ายถอดปริวรรตตำรับและตำรายาแผนไทยดั้งเดิมด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้เกิดการนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ได้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรด้วยฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นต้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 13 มิถุนายน 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A6406

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

MTL 720x100

TU 720 x 109

sme 720x100

ธกส 720x100

SPALAI 720x100

PF 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!