WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565

GOV 5

รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) เสนอรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 โดยสรุปผลการดำเนินการในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566 ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) มีสาระสำคัญสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2565 โดยมาตรา 165 บัญญัติให้ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ภายในวันที่ 16 ตุลาคม 2567) ให้ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเชิญผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กฎหมายว่าด้วยการประมง กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล กฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ และกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่น มาร่วมกันพิจารณาเพื่อดำเนินการให้หน่วยงานดังกล่าวรับผิดชอบในการป้องกันและปราบปราม การสืบสวน และการสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายนั้นๆ ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่จะได้ตกลงกัน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและการบูรณาการในการปฏิบัติหน้าที่ และการแบ่งเบาภารกิจของ ตช. และให้สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานความคืบหน้าต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบทุกสามเดือน

          2. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ศึกษาข้อมูลของกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 165 เพื่อพิจารณาถึงบทบาท ภารกิจ หน้าที่และอำนาจ ขอบเขตความรับผิดชอบของ ทส. และ ตช. ที่มีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายที่ซ้ำซ้อนหรือคาบเกี่ยวกัน เบื้องต้นพบว่า

                    2.1 กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 165 เกี่ยวข้องกับกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ จำนวนทั้งสิ้น 16 ฉบับ ดังนี้

รายชื่อกฎหมายตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ .. 2565

มาตรา 165

 

กฎหมาย

 

หน่วยงานเจ้าภาพตามกฎหมาย

1. กฎหมายว่าด้วยป่าไม้

 

1. พระราชบัญญัติป่าไม้ .. 2484

2. พระราชบัญญัติสวนป่า .. 2535

3. พระราชบัญญัติป่าชุมชน .. 2562

 

กรมป่าไม้

2. กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ

 

4. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ .. 2507

 

กรมป่าไม้

3. กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ

 

5. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ .. 2562

 

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

4. กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

 

6. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า .. 2562

 

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

5. กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

 

7. พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง .. 2558

 

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

6. กฎหมายว่าด้วยการประมง

 

8. พระราชกำหนดการประมง .. 2558

 

กรมประมง

7. กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

 

9. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ .. 2535

 

กรมควบคุมมลพิษ

8. กฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล

 

10. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล .. 2520

 

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

9. กฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์

 

11. พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ .. 2545

 

กรมป่าไม้

10. กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่น

 

 

12. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ .. 2551

 

กรมทรัพยากรธรณี

 

13. พระราชบัญญัติงาช้าง .. 2558

 

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

 

14. พระราชบัญญัติแร่ .. 2560

 

กรมทรัพยากรธรณี

 

15. พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561

 

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

 

16. ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 (กิจการประปาสัมปทาน)

 

กรมทรัพยากรน้ำ

 

                    2.2 ทส. ดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายมีอำนาจตามกฎหมายในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว โดยเป็นการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่จากส่วนราชการที่มีหน้าที่และอำนาจความรับผิดชอบตามกฎหมายและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 แต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และเจ้าหน้าที่ในสังกัดหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองทัพเรือ กรมประมง กระทรวงมหาดไทย (มท.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามกฎหมาย

                    2.3 ตช. ดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย

                              2.3.1 กำหนดให้ บก.ปทส. สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเป็นหน่วยงานหลักในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั่วราชอาณาจักร โดยอำนาจตามกฎหมายนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทั้งการตรวจสอบ ตรวจค้น ยึด อายัด จับกุม และเรียกบุคคลให้ถ้อยคำ รวมทั้งการสืบสวน และการสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายนั้นๆ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่สามารถดำเนินการสอบสวนได้ นอกจากนี้ บก.ปทส. ยังดำเนินการตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นอกเหนือจากกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 165) รวมจำนวนทั้งสิ้น 37 ฉบับ โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก จำนวน 11 กระทรวง 22 หน่วยงาน เช่น 1) พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 (กรมการปกครอง มท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก) และ 2) พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 (กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก)

                              2.3.2 ตช. มีกลไกการทำงานโดยได้มีการจัดทำแผนป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจัดตั้งศูนย์ป้องกันปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน 3 ระดับ ได้แก่ 1) ศูนย์ป้องกันปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตช. 2) ศูนย์ป้องกันปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับกองบัญชาการ/ตำรวจภูธรภาค และ 3) ศูนย์ป้องกันปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับกองบังคับการ/ตำรวจภูธรจังหวัด โดยมีหน้าที่บริหารอำนวยการ กำกับดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์และนโยบายของ ตช.

                              2.3.3 ตช. มีคำสั่ง ตร. ที่ 470/2565 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2565 แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และ บก.ปทส. มีคำสั่ง บก.ปทส. ที่ 608/2565 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2565 แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เพื่อขับเคลื่อนในการตัดโอนภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

          3. การดำเนินการของสำนักงาน ก.พ.ร. กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                    สำนักงาน ก.พ.ร. ได้หารือร่วมกับ ทส. และ บก.ปทส. ตช. เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการและความพร้อมในการถ่ายโอนภารกิจ จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

                    3.1 ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 ได้ประชุมหารือร่วมกับส่วนราชการในสังกัด ทส. เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการและความพร้อมของ ทส. ในการรับโอนงานป้องกันและปราบปราม การสืบสวน และการสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย ทส. พิจารณาแล้วเห็นว่า อาจรับโอนภารกิจในการป้องกันและปราบปรามได้ ทั้งนี้ เห็นควรให้มีการกำหนดขอบเขตภารกิจ การปรับเปลี่ยน การถ่ายโอนภารกิจให้มีความชัดเจน โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งเน้นให้การดำเนินการเปลี่ยนแปลงหรือถ่ายโอนภารกิจต้องเป็นไปเพื่อการแบ่งเบาภารกิจของ ตช. และประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่

                    3.2 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 ได้ประชุมหารือร่วมกับ บก.ปทส. เกี่ยวกับแนวนโยบายของ บก.ปทส. ในการดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และการดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจและอำนาจหน้าที่ของ บก.ปทส. โดย บก.ปทส. พิจารณาแล้วเห็นว่า อาจพิจารณาถ่ายโอนงานป้องกันและปราบปรามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยยังคงภารกิจด้านการสืบสวน และสอบสวนไว้

                    จากการประชุมหารือกับ ทส. และ บก.ปทส. ตช. ในเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ในการถ่ายโอนภารกิจจาก ตช. ไปยัง ทส. เพื่อรับผิดชอบงานการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแบ่งเบาภารกิจของ ตช.

          4. แนวทางในการดำเนินการต่อไป

                    สำนักงาน ก.พ.ร. จะหารือร่วมกับ ทส. ตช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในรายละเอียดของการดำเนินการ ดังนี้

                    4.1 กำหนดบทบาทภารกิจ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ วิธีการปฏิบัติงานในภารกิจการป้องกันและปราบปราม เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการตัดโอนภารกิจดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาภารกิจอื่นที่อาจตัดโอนเพิ่มเติมด้วย เช่น ภารกิจการสืบสวน สอบสวนการกระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                    4.2 แนวทางการปรับปรุงกระบวนงานตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ เช่น ระบบงานอนุญาตที่เชื่อมโยงกับข้อมูลด่านป่าไม้ และระบบงานรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้และถ่านไม้ และระบบลงทะเบียนไม้มีค่าหรือระบบควบคุมมาตรฐานการลาดตระเวน การใช้โดรนในการลาดตระเวน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤษภาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A51231

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!