WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวงกำหนดเรื่องที่อุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ. ....

GOV8

ร่างกฎกระทรวงกำหนดเรื่องที่อุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดเรื่องที่อุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย และดำเนินการต่อไปได้ 

          ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ. 2560 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นที่ห้ามไม่ให้ผู้ที่ทำการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐซึ่งไม่ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะอุทธรณ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 ได้เห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงฯ ด้วยแล้ว

          ประเด็นที่ต้องห้ามอุทธรณ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ จากเดิมที่มี 2 กรณี ปรับเป็น 4 กรณี ดังนี้

          1. คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นที่เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุในครั้งนั้น โดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (คงเดิม)

          2. เพิ่มเติมกรณีที่หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการเชิญชวนและวิธีคัดเลือกและเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุก่อนจะทำการจัดซื้อจัดจ้าง และให้มีการชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนจะทำการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว แต่ปรากฏว่า ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้นมิได้วิจารณ์ หรือเสนอแนะร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ (เดิมไม่ได้กำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างว่าเป็นรูปแบบใดจึงกำหนดวิธีการเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจน)

          3. เพิ่มเติมการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมาตรา 56 (1) (ค) (เดิมไม่มี เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ประกอบการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ เพราะอาจเกิดความเสียหายกับหน่วยงานของรัฐได้ หากมีการใช้สิทธิอุทธรณ์ภายหลังจากที่หน่วยงานของรัฐได้ลงนามในสัญญาไปแล้ว)

          4. เพิ่มเติมกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยได้มีการยกเลิกประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาเดิม และได้มีการประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาใหม่ ให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นที่สุด เว้นแต่มีข้อเท็จจริงใหม่ที่จะทำให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป (เดิมไม่มี เป็นการกำหนดรายละเอียดที่ให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นที่สุด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ)

          สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

          ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ. 2560 และกำหนดให้ผู้ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอ (ผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก) เพื่อทำการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐไม่มีสิทธิอุทธรณ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุในกรณี ดังนี้

กฎกระทรวงฯ เดิม

 

ร่างกฎกระทรวงฯ

 

หมายเหตุ

1. กรณีคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นที่เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุในครั้งนั้นโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (เนื่องจากการจัดซื้อจัดจ้างประเภทนี้กรมบัญชีกลางได้พิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นขอเสนอทุกรายแล้ว)

 

คงเดิม

 

กำหนดให้ผู้ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอแต่ไม่ได้รับคัดเลือกด้วยวิธีนี้ไม่มีสิทธิอุทธรณ์เนื่องจากกรมบัญชีกลางจะกำหนดรายการสินค้า เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ และพัสดุสำนักงานต่างๆ และกำหนดรายชื่อผู้ประกอบการที่ขายสินค้าดังกล่าวโดยผ่านการพิจารณาคุณสมบัติจากกรมบัญชีกลางแล้ว ไว้ในระบบ e-catalog

2. กรณีที่หน่วยงานของรัฐเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุจากผู้ประกอบการก่อนจะทำการจัดซื้อจัดจ้างหากปรากฏว่า ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนี้มิได้วิจารณ์หรือเสนอแนะร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอนั้นจะอุทธรณ์ในเรื่องขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุของหน่วยงานของรัฐนั้นมิได้ (ไม่ได้กำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างว่าเป็นรูปแบบใด)

 

2. กรณีที่หน่วยงานของรัฐเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุก่อนจะทำการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือเปิดโอกาสให้มีการชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนจะทำการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือกจากผู้ประกอบการ หากปรากฏว่าผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนั้นมิได้วิจารณ์หรือเสนอแนะร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอนั้นจะอุทธรณ์ในเรื่องขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุของหน่วยงานของรัฐนั้นมิได้

 

เพิ่มเติมกรณีที่หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการเชิญชวนและวิธีคัดเลือกและเปิดโอกาสให้มีการชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนจะทำการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว แต่ปรากฏว่าผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้นมิได้วิจารณ์หรือเสนอแนะร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ (กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ได้ เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการตีความ เนื่องจากในกฎกระทรวงฯ เดิม ไม่ได้กำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างไว้ว่าเป็นรูปแบบใด)

เดิมไม่มี

 

3. การจัดซื้อจัดจ้างที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมาตรา 56 (1) ()1

 

กำหนดเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ประกอบการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ภายหลังจากที่หน่วยงานของรัฐได้ทำสัญญาไปแล้ว กรณีที่มีการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพราะอาจเกิดความเสียหายกับหน่วยงานของรัฐได้

เดิมไม่มี

 

4. เมื่อหน่วยงานของรัฐดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน (คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์) ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 119 วรรค 2 กรณีที่พิจารณาแล้วเห็นว่า อุทธรณ์ฟังขึ้นและมีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสำคัญ แล้วสั่งให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการให้มีการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเริ่มจากขั้นตอนใดตามที่เห็นสมควรหรือกรณีพิจารณาแล้วเห็นว่าอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น หรือไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสำคัญ แล้วแจ้งให้หน่วยงานของรัฐทำการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป เนื่องจากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวถือเป็นที่สุด ตามนัยมาตรา 119 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติฯ เว้นแต่มีข้อเท็จจริงใหม่ที่จะทำให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป

 

กำหนดอธิบายรายละเอียดของบทบัญญัติ มาตรา 119 วรรค 3 ที่ให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นที่สุด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ

 

________________

1 มาตรา 56 (1) (ค) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อน เว้นแต่ความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้พัสดุนั้นอันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ซึ่งหากใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปจะทำให้ไม่ทันต่อความต้องการใช้พัสดุให้ใช้วิธีการคัดเลือก

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤษภาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A51229

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!