รายงานผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 ต่อแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Thursday, 25 May 2023 00:02
- Hits: 1480
รายงานผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 ต่อแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้
1. รับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 ต่อแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6) ตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ
2. ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
สทนช. รายงานว่า
1. สทนช. ได้ติดตามความก้าวหน้า (1) การดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทฯ น้ำ ช่วงปี 2561 - 2565 (2) การประเมินแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ (3) การประเมินตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6) : การจัดการน้ำและสุขาภิบาล แล้วรายงานต่อ กนช.
2. ผลการดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทฯ น้ำ ช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565
2.1 งบประมาณโครงการด้านแหล่งน้ำภายใต้แผนแม่บทฯ น้ำ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับงบประมาณไปดำเนินโครงการทั้ง 6 ด้าน วงเงินทั้งสิ้น 411,930.98 ล้านบาท (ไม่รวมโครงการที่ยกเลิก/ตกพับ) จำแนกได้ ดังนี้
แผนแม่บทฯ น้ำ |
งบประมาณ |
ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค |
53,664.43 ล้านบาท (ร้อยละ 13.03) |
ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต |
197,295.70 ล้านบาท (ร้อยละ 47.90) |
ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย |
148,047.69 ล้านบาท (ร้อยละ 35.94) |
ด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ |
4,837.57 ล้านบาท (ร้อยละ 1.17) |
ด้านที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน |
925.34 ล้านบาท (ร้อยละ 0.22) |
ด้านที่ 6 การบริหารจัดการ |
7,160.25 ล้านบาท (ร้อยละ 1.74) |
รวม 6 ด้าน |
411,930.98 ล้านบาท (ร้อยละ 100) |
2.2 ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ น้ำ จำแนกตามตัวชี้วัด
2.2.1 ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค มีผลสัมฤทธิ์ จำแนกตามตัวชี้วัด เช่น
ตัวชี้วัด (หน่วย) |
5 ปี (ปี 2561 - 2565) |
||
เป้า 5 ปี |
ผล 5 ปี |
ร้อยละ |
|
การก่อสร้างระบบประปา (จำนวนหมู่บ้าน) |
256 |
256 |
100 |
การเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปา (จำนวนหมู่บ้าน) |
5,472 |
5,005 |
91 |
การขยายเขต/เพิ่มเขตจ่ายน้ำ (จำนวนแห่ง/สาขา) (จำนวนครัวเรือน) |
2,570 280,000 |
1,002 227,697 |
39 81 |
แผนระบบประปาเมืองหลัก/พื้นที่เศรษฐกิจ/แหล่งท่องเที่ยว (จำนวนแห่ง/สาขา) (จำนวนครัวเรือน) |
55 789,980 |
60 85,336 |
109 11 |
จัดหาแหล่งน้ำสำรอง/จัดหาน้ำต้นทุน (พัฒนาประปาเมือง/พื้นที่เศรษฐกิจ) (จำนวนแห่ง) (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) |
59 72 |
12 12.85 |
20 18 |
ลดการสูญเสียน้ำในระบบท่อส่งจ่ายน้ำประปา (การควบคุมการสูญเสีย-ร้อยละ) |
ไม่เกิน 25 |
30.89 |
- |
การปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านให้ได้มาตรฐาน (SDGs) (ระบบประปาที่ผ่านมาตรฐานประปาดื่มได้-ร้อยละ) (หมู่บ้านที่ได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน-ร้อยละ) |
18 20 |
เฉลี่ย 38.48 ไม่ได้รับรายงาน |
- - |
2.2.2 ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต มีผลสัมฤทธิ์ จำแนกตามตัวชี้วัด เช่น
ตัวชี้วัด (หน่วย)
|
5 ปี (ปี 2561 - 2565) |
||
เป้า 5 ปี |
ผล 5 ปี |
ร้อยละ |
|
พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ/อาคารบังคับน้ำ/ระบบส่งน้ำใหม่ (เกษตรและอุตสาหกรรม) ในพื้นที่ชลประทาน (จำนวนแห่ง) (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) (พื้นที่รับประโยชน์-ไร่) |
2,312 1,140 2,163,003 |
1,420 601.51 1,189,955 |
61 53 55 |
อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำพื้นที่เกษตรน้ำฝน (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) |
2,701 |
450.45 |
17 |
พัฒนาระบบกระจายน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน (พื้นที่รับประโยชน์-ไร่) |
2,725,389 |
179,381 |
7 |
แหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ/แหล่งน้ำชุมชน/สระน้ำในไร่นา (พื้นที่เกษตรน้ำฝน) (จำนวนแห่ง) (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) |
225,321 330 |
224,532 305.58 |
100 93 |
พัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร (พื้นที่เกษตรน้ำฝน) (พื้นที่รับประโยชน์-ไร่) (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) |
310,670 186 |
236,097 154.39 |
76 83 |
เพิ่มเติมน้ำต้นทุนโดยการปฏิบัติการฝนหลวง (พื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้งได้รับการช่วยเหลือตามแผนงาน ปฏิบัติการฝนหลวง-ร้อยละ) (ความสำเร็จของการปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในเขื่อน ตามที่ร้องขอ-ร้อยละ) |
80
75 |
38.50 - 80.98
36.01 - 78.14 |
-
- |
หมายเหตุ : เนื่องจากปี 2565 มีฝนตกตามธรรมชาติ ปริมาณการกระจายของฝนค่อนข้างดีครอบคลุมหลายพื้นที่ ทำให้มีการขอรับบริการฝนหลวงน้อยกว่าปีที่ผ่านมา (อยู่ที่ร้อยละ 36.01)
2.2.3 ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ มีผลสัมฤทธิ์ จำแนกตามตัวชี้วัด เช่น
ตัวชี้วัด (หน่วย) |
5 ปี (ปี 2561 - 2565) |
||
เป้า 5 ปี |
ผล 5 ปี |
ร้อยละ |
|
ปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ (เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ) (จำนวนแห่ง) |
562 |
201 |
36 |
ปรับปรุงลำน้ำธรรมชาติที่ตื้นเขิน (เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ) (จำนวนแห่ง) (กิโลเมตร) |
499 2,122 |
115 181 |
23 9 |
การกำจัดวัชพืชและขยะมูลฝอยในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำสาขาและแหล่งน้ำปิด (เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ) (ปริมาณวัชพืชและขยะมูลฝอยที่กำจัด-ตันต่อปี) |
7,400,000 |
เฉลี่ย 1,716,917 |
23 |
ระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง (จำนวนแห่ง) (พื้นที่ที่ได้รับการป้องกัน-ไร่) |
153 304,165 |
18 40,448 |
12 13 |
เขื่อนป้องกันตลิ่ง (การป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง) (กิโลเมตร) |
539 |
243 |
45 |
การพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ชะลอน้ำเข้าทุ่ง (จำนวนแห่ง) (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) |
13 2,050 |
13 1,787 |
100 87 |
ข้อมูลเพิ่มเติม : 1. สทนช. ได้นำเสนอ (ร่าง) ผังน้ำและรายการประกอบผังน้ำ 22 ลุ่มน้ำ ต่อคณะกรรมการลุ่มน้ำเพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยผังน้ำที่ดำเนินการแล้วเสร็จมีจำนวน 8 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ชี มูล เจ้าพระยา สะแกกรัง ป่าสัก ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง 2. สทนช. ได้มีการศึกษาและจัดทำแผนหลักเพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่เป้าหมาย (Area Based) แล้วจำนวน 36 พื้นที่ (จากทั้งหมด 43 พื้นที่) สำหรับการบรรเทาอุทกภัยในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบในระดับลุ่มน้ำและพื้นที่วิกฤต |
2.2.4 ด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ มีผลสัมฤทธิ์ จำแนกตามตัวชี้วัด เช่น
ตัวชี้วัด (หน่วย) |
5 ปี (ปี 2561 - 2565) |
||
เป้า 5 ปี |
ผล 5 ปี |
ร้อยละ |
|
การป้องกันและลดการเกิดน้ำเสียที่ต้นทาง (ความสำเร็จในการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานสำหรับครัวเรือนใหม่-ร้อยละ) |
10 |
ไม่ได้รับรายงาน |
|
การเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดและควบคุมการระบายน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม (จำนวนระบบบำบัดที่ก่อสร้างใหม่) (จำนวนระบบบำบัดที่เพิ่มประสิทธิภาพระบบเดิม) (ปริมาณน้ำเสียที่รับการบำบัดได้ตามมาตรฐาน-ร้อยละ) |
100 34 19 |
18 1 เฉลี่ย 15 |
15 3 - |
แหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำที่ตรวจสอบได้รับการจัดการ (ร้อยละ) |
70 |
เฉลี่ย 41.68 |
- |
การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ (จำนวนลุ่มน้ำที่มีวางแผนจัดสรรน้ำเพื่อระบบนิเวศ) |
5 |
10 |
200 |
การดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับระหว่างประเทศ ระดับนานาชาติ และระดับชาติ (แห่ง) |
131 |
3 |
2 |
2.2.5 ด้านที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน มีผลสัมฤทธิ์ จำแนกตามตัวชี้วัด เช่น
ตัวชี้วัด (หน่วย) |
5 ปี (ปี 2561 - 2565) |
||
เป้า 5 ปี |
ผล 5 ปี |
ร้อยละ |
|
การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม (ในเขตป่าอนุรักษ์/ป่าสงวนแห่งชาติ) (ไร่) |
734,000 |
179,909 |
25 |
การป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำ (ในเขตป่าอนุรักษ์/ป่าสงวนแห่งชาติ) (ไร่) |
240,000 |
118,608 |
49 |
การป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำ (พื้นที่เกษตรนอกพื้นที่อนุรักษ์) (ไร่) |
1,000,000 |
367,900 |
37 |
2.2.6 ด้านที่ 6 การบริหารจัดการ ตัวชี้วัดเป็นตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ เช่น (1) จัดทำปรับปรุงกฎหมายและองค์กรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (2) การจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และ (3) การติดตามและประเมินผล โดยมีผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
(1) มีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานโดยมีผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่สำคัญๆ คือ สทนช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ดำเนินการตราและออกกฎหมายลำดับรองแล้วเสร็จ จำนวน 25 ฉบับ มีองค์กรผู้ใช้น้ำที่ได้รับการจดทะเบียนทั้งสิ้น 3,413 องค์กร พัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างประเทศด้านทรัพยากรน้ำ โดยการจัดทำความร่วมมือ/ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งกรอบทวิภาคีและกรอบพหุภาคี รวมทั้งดำเนินการจัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทฯ น้ำ (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 - 2580) เพื่อประกาศใช้ใหม่
(2) สำหรับการติดตามและประเมินผล สทนช. ได้ดำเนินการประเมินผลและจัดทำรายงาน Country Survey Instrument for SDG 6.5.1และรายงาน Reporting SDG Indicator 6.5.2 การประเมินผลและจัดทำรายงาน SDG 6.4 ประสิทธิภาพการใช้น้ำและความขาดแคลนนน้ำ (รายงาน Thailand National Report SDG 6.4) รวมทั้งรายงานการติดตามประเมินผลตามแผนแม่บทฯ น้ำ และรายงานประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ รวมทั้งผลักดันให้เกิดกลไกขยายผลความสำเร็จด้านการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน จำนวน 191 หมู่บ้านที่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้ด้วยตนเองและสามารถขยายผลความสำเร็จไปยังพื้นที่อื่น
3. ผลการประเมินดัชนีตัวชี้วัดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
ตัวชี้วัด |
ผลการประเมิน โดย ADB* ปี 2563 |
ผลการประเมิน โดย สนทช.** ปี 2564 - 2565 |
ค่าเป้าหมาย 20 ปี |
แผนแม่บทย่อย 19.1 : การพัฒนาการจัดการน้ำ เชิงลุ่มน้ำทั้งระบบ |
|||
ดัชนีความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภค |
ระดับ 3 เต็ม 5 |
ระดับ 4 เต็ม 5 |
ระดับ 4 เต็ม 5 |
ดัชนีความมั่นคงด้านน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม |
ระดับ 2 เต็ม 5 |
ระดับ 4 เต็ม 5 |
ระดับ 4 เต็ม 5 |
ดัชนีการรับมือกับพิบัติภัยด้านน้ำ |
ระดับ 2 เต็ม 5 |
ระดับ 3 เต็ม 5 |
ระดับ 4 เต็ม 5 |
ดัชนีธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการน้ำ |
ไม่มีการประเมิน |
ร้อยละ 53 |
ร้อยละ 80 |
แผนแม่บทย่อย 19.2 : การเพิ่มผลิตภาพของน้ำทั้งระบบ |
|||
ดัชนีความมั่นคงด้านน้ำในเขตเมือง |
ระดับ 2 เต็ม 5 |
ระดับ 3 เต็ม 5 |
ระดับ 4 เต็ม 5 |
ดัชนีความมั่นคงด้านน้ำเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ |
ระดับ 3 เต็ม 5 |
ระดับ 3 เต็ม 5 |
ระดับ 4 เต็ม 5 |
ผลิตภาพจากการใช้น้ำใช้ผลคะแนนตัวชี้วัด SDG 6.4.1 : ประสิทธิภาพการใช้น้ำ |
- |
ปี 2558 - 2563 7.5 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 238 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร |
- |
แผนแม่บทย่อย 19.3 : การอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ |
|||
ตัวชี้วัดสัดส่วนพื้นที่ลำคลองที่ได้รับ การฟื้นฟู (ร้อยละของพื้นที่เป้าหมาย) |
ทส. โดยกรมทรัพยากรน้ำ อยู่ระหว่างปรับปรุงตัวชี้วัดที่กำหนดเป็นตัวชี้วัดผลผลิตและผลสัมฤทธิ์ที่จะดำเนินการรวมทั้งจัดทำแผนหลักการอนุรักษ์ฟื้นฟู แม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้สามารถกำหนดเป้าหมายเป็นจำนวนและจัดทำดัชนีสุขภาพแม่น้ำ (River health index) เพื่อเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จต่อไป |
หมายเหตุ : * ผลประเมินโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ปี 2563 อ้างอิงจาก Asian Development Water Outlook 2020 ที่จัดทำโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)
** ผลประเมินโดย สทนช. ปี 2564 - 2565 อ้างอิงจากโครงการพัฒนาระบบประเมินความมั่นคงด้านน้ำของประเทศไทย (สทนช. ปี 2564) โดยผลการประเมินผ่านกระบวนการประชุมอย่างเป็นทางการเพื่อออกแบบตัวชี้วัดในปีฐานและค่าเป้าหมาย การเชื่อมโยงตัวชี้วัดในแผนแต่ละระดับ การส่งมอบและรับข้อมูลระหว่างหน่วยงาน รวมถึงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกันในการพัฒนาระบบโดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมการประชุมมากกว่า 1,000 คน จาก 40 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมการประชุมทั้งหมด 18 ครั้ง (ประชุมรายด้านจากทั้ง 6 ด้าน ของแผนแม่บทน้ำ 20 ปี ด้านละ 3 ครั้ง ในช่วงปี 2563 - 2564) และโครงการปรับปรุงระบบประเมินและเชื่อมโยงผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ น้ำ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2565)
4. ผลการประเมินตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6) : การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
ตัวชี้วัด |
ผลประเมิน |
ค่าเฉลี่ยระดับโลก |
เป้าหมาย SDG 6.1 : น้ำดื่ม |
||
สัดส่วนประชากรที่ใช้บริการน้ำดื่มปลอดภัย/บริการน้ำดื่มขั้นพื้นฐาน |
ร้อยละ 100 เข้าถึงน้ำดื่มพื้นฐาน |
ร้อยละ 74 |
เป้าหมาย SDG 6.2 : สุขาภิบาลและสุขอนามัย |
||
ประชากรที่ใช้บริการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานที่สุด (Sanitation) |
ร้อยละ 99 เข้าถึงสุขาภิบาล ร้อยละ 26 มีการจัดการน้ำเสียครัวเรือน |
ร้อยละ 54 |
ประชากรที่ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ (Hygiene) |
ร้อยละ 84 |
ร้อยละ 71 |
เป้าหมาย SDG 6.3 : คุณภาพน้ำและน้ำเสีย |
||
สัดส่วนของน้ำเสียผ่านการบำบัดอย่างปลอดภัย |
ร้อยละ 26 |
ร้อยละ 55 |
สัดส่วนของแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำโดยรอบดี |
ร้อยละ 42 |
ร้อยละ 72 |
เป้าหมาย SDG 6.4 : ประสิทธิภาพการใช้น้ำและความขาดแคลนน้ำ |
||
การเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพการใช้น้ำตามช่วงเวลา |
7.5 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อลูกบาศก์เมตร (238 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร) |
19 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อลูกบาศก์เมตร |
ความเครียดของน้ำ (สัดส่วนของน้ำจืดที่นำมาใช้ต่อทรัพยากรน้ำจืดที่มีอยู่) |
ร้อยละ 12.64 |
ร้อยละ 17 |
เป้าหมาย SDG 6.5 : การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ |
||
ระดับการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ |
ร้อยละ 53 (ระดับปานกลาง - สูง) |
ร้อยละ 54 |
สัดส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำข้ามพรมแดนที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือที่มีการถือปฏิบัติ |
ร้อยละ 100 เฉพาะการจัดการ น้ำผิวดิน |
ร้อยละ 58 |
เป้าหมาย SDG 6.6 : ระบบนิเวศเกี่ยวกับแหล่งน้ำ |
||
การเปลี่ยนแปลงของขอบเขตน้ำที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศตามช่วงเวลา |
ยังไม่มีผลรายงาน การประเมิน อย่างเป็นทางการ |
- |
เป้าหมาย SDG 6.a : ความร่วมมือระหว่างประเทศและการส่งเสริมสร้างศักยภาพ |
||
ปริมาณความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการในด้านที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสุขาภิบาล |
3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (96.5 ล้านบาท) |
9,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (299,000 ล้านบาท) |
เป้าหมาย SDG 6.b : การมีส่วนร่วม (ชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำและสุขาภิบาล) |
||
ร้อยละของหน่วยงานท้องถิ่นมีนโยบาย ระเบียบปฏิบัติและวิธีการดำเนินงานสำหรับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำและสุขาภิบาล |
(1) การมีส่วนร่วม ของหน่วยงานท้องถิ่น ระดับ 2 (เต็ม 3) (2) ความชัดเจนนโยบาย และการบริการจัดการ 10 คะแนน (เต็ม 10) |
|
5. ปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนและแนวทางแก้ไข
ปัญหา/อุปสรรค |
แนวทางแก้ไข |
|
งบประมาณเรื่องการพัฒนาระบบประปาให้ได้มาตรฐานมีจำนวนจำกัด |
การวางแผนเรื่องน้ำอุปโภค บริโภค ควรพิจารณาเรื่องน้ำต้นทุนความต้องการใช้น้ำทั้งปัจจุบันและอนาคต การผลิตน้ำประปาให้ได้มาตรฐาน และระบบกระจายน้ำไปพร้อมกัน |
|
หน่วยงานท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการดำเนินงานภารกิจถ่ายโอนน้อย |
ส่วนราชการควรเป็นพี่เลี้ยงให้กับหน่วยงานท้องถิ่นให้สามารถทำงานได้ตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนซึ่งยังขาดทักษะและความเชี่ยวชาญ |
|
การบังคับใช้กฎหมายเรื่องน้ำเสียมีความล่าช้า |
ผลักดันให้เกิดกลไกการบังคับใช้กฎหมายโดยหน่วยงานในพื้นที่ เน้นมาตรการเชิงรุก เช่น การส่งเสริมให้ลดปริมาณน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด และส่งเสริมให้มีการเก็บค่าบำบัดน้ำเสียเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในอนาคต |
|
หน่วยงานกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดสูงเกินความเป็นจริง |
ขอให้หน่วยงานติดตามผลโครงการตามแผนแม่บทฯ น้ำ ที่ดำเนินการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบการกำหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของโครงการให้ถูกต้องกับข้อเท็จจริงได้รับ |
|
การปลูกพืชที่มีมูลค่าต่ำส่งผลให้ผลิตภาพจากการใช้น้ำต่ำ |
โครงการขนาดใหญ่ที่มีน้ำต้นทุนและระบบกระจายน้ำควรส่งเสริมเกษตรมูลค่าสูงเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ |
|
การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไม่ครบถ้วน ครอบคลุมจากทุกมิติของงบประมาณ โดยเฉพาะแผนงานท้องถิ่น แผนงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัด |
ให้หน่วยงานรายงานผลการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ของโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ น้ำ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ทุกมิติ งบประมาณและตัวชี้วัดตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ น้ำ เพื่อสะท้อนผลสัมฤทธิ์ทั้งหมด |
6. กนช. ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 มีมติรับทราบประเมินผลการดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ระยะปี 2561 - 2565 ตามข้อ 2 - 5 และรายงานคณะรัฐมนตรีต่อไป รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำความเห็นของกรรมการไปประกอบการพิจารณา สรุปได้ ดังนี้
6.1 การติดตามและประเมินผลในรอบ 5 ปีต่อไป ควรนำเรื่องงประมาณที่ได้รับในแต่ละปีมาร่วมพิจารณา โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่หรือโครงการที่มีความสำคัญ ควรต้องมีการดำเนินการในรูปแบบอื่น การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) หรือหาเงินจากแหล่งเงินกู้มาดำเนินการ
6.2 ประเด็นเรื่องประสิทธิภาพการใช้น้ำ สทนช. กษ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันจัดทำแผนว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยอาจปรับการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Zoning) ปรับการเพาะปลูก (Crop) หรือปรับรายได้ต่างๆ โดยเฉพาะการปลูกพืชฤดูแล้ง หรือการปรับพืชที่มีผลผลิตต่อปริมาณการใช้น้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากการหาน้ำเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องยากแต่การทำให้ผลตอบแทนต่อลูกบาศก์เมตรสูงขึ้นมีความเป็นไปได้
6.3 ประเด็นเรื่องน้ำเสีย ขอให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีแผนอยู่แล้วร่วมกันพิจารณาให้สามารถปฏิบัติตามแผน
6.4 เมื่อมีการรับแผนแม่บทฯ น้ำ ใหม่แล้ว ขอให้ สทนช. ติดตามและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการรายงานผลในทุกตัวชี้วัด
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 23 พฤษภาคม 2566
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A5997