WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. ....

GOV5 copy copy

ร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. .... ที่ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 

          ทั้งนี้ สคก. เสนอว่า 

          1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 13 บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครอง1 ไม่ได้

                    (1) เป็นคู่กรณีเอง

                    (2) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี

                    (3) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใดๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น

                    (4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี

                    (5) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี

                    (6) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

          2. โดยที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มาตรา 22 วรรคสอง กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดำเนินการออกกฎกระทรวงไว้ว่า กฎหมายที่มิใช่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ แต่ในกรณีที่บทบัญญัติในเรื่องนั้นให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับได้โดยไม่ต้องมีกฎหรือดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ระยะเวลาสองปีดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกินหนึ่งปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลาสองปีนั้น

          3. สำหรับการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น ในการประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้มีมติในส่วนของการออกกฎกระทรวงตามมาตรา 13 (6) ที่กำหนดเหตุต้องห้ามกรณีอื่นมิให้เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครองว่าการออกกฎกระทรวงตามมาตรานี้มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนอันเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน โดยให้รัฐสามารถกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อรองรับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ในอนาคตได้ จึงเป็นกรณีที่ต้องตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ดังนั้น จึงต้องดำเนินการออกกฎกระทรวงภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดต่อไป ซึ่งมาตรา 22 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 99 (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดำเนินการออกกฎกระทรวงให้ต้องดำเนินการภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ โดยในวาระเริ่มแรก สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ผลใช้บังคับ การนับระยะเวลาสองปีตามมาตรา 22 วรรคสอง ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ มีผลใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 การนับระยะเวลาที่ต้องดำเนินการออกกฎกระทรวงตามมาตรา 13 (6) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ จึงต้องนับระยะเวลาเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 กรณีจึงต้องมีการออกกฎกระทรวงดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 

          4. คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้พิจารณาตามมาตรา 11 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยเห็นสมควรกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ ตามมาตรา 13 (6) เพิ่มเติมขึ้นอีก 8 กรณี จากที่กำหนดไว้ในมาตรา 13 (1) ถึง (5) เพื่อให้การพิจารณามีความเป็นกลางมากยิ่งขึ้น ดังนี้

                    (1) เคยเป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี

                    (2) เป็นหรือเคยเป็นผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกับคู่กรณี

                    (3) เป็นหรือเคยเป็นผู้ซึ่งอยู่กินกับคู่กรณีที่เป็นบุคคลเพศเดียวกันโดยกำเนิด ในลักษณะเดียวกันกับชายหญิงที่อยู่กินกันฉันสามีภริยา

                    (4) เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานในความเป็นจริงไม่ว่าชั้นใดๆ หรือเป็นพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องในความเป็นจริงนับได้เพียงภายในสามชั้นของคู่กรณี

                    (5) เป็นหรือเคยเป็นบุตรบุญธรรมของคู่กรณี หรือเป็นหรือเคยเป็นผู้รับคู่กรณีเป็นบุตรบุญธรรม

                    (6) เป็นลุง ป้า น้า อา ของคู่กรณี

                    (7) เป็นผู้พักอาศัยอยู่ร่วมกับคู่กรณีในสถานที่เดียวกันในลักษณะครัวเรือนเดียวกัน

                    (8) เป็นลูกจ้างหรือที่ปรึกษาซึ่งได้รับค่าตอบแทนของคู่กรณี

          และได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. .... และเห็นควรเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและให้ดำเนินการประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

          สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

          กำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ เพิ่มเติมขึ้นอีก 8 กรณี จากที่กำหนดไว้ในมาตรา 13 (1) ถึง (5) โดยเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์กับคู่กรณีในทางใดทางหนึ่งซึ่งอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองขาดความเป็นกลางได้

 

เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ ตามมาตรา 13 (1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง .. 2539 (รวม 5 กรณี)

 

เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ ตามร่างกฎกระทรวงออกตามมาตรา 13 (6) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง .. 2539 (รวม 8 กรณี)

(1) เป็นคู่กรณีเอง

(2) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี

(3) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใดๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น

(4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี

(5) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี

(6) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

(1) เคยเป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี

(2) เป็นหรือเคยเป็นผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกับคู่กรณี

(3) เป็นหรือเคยเป็นผู้ซึ่งอยู่กินกับคู่กรณีที่เป็นบุคคลเพศเดียวกันโดยกำเนิด ในลักษณะเดียวกันกับชายหญิงที่อยู่กินกันฉันสามีภริยา

(4) เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานในความเป็นจริงไม่ว่าชั้นใดๆ หรือเป็นพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องในความเป็นจริงนับได้เพียงภายในสามชั้นของคู่กรณี

(5) เป็นหรือเคยเป็นบุตรบุญธรรมของคู่กรณี หรือเป็นหรือเคยเป็นผู้รับคู่กรณีเป็นบุตรบุญธรรม

(6) เป็นลุง ป้า น้า อา ของคู่กรณี

(7) เป็นผู้พักอาศัยอยู่ร่วมกับคู่กรณีในสถานที่เดียวกันในลักษณะครัวเรือนเดียวกัน

(8) เป็นลูกจ้างหรือที่ปรึกษาซึ่งได้รับค่าตอบแทนของคู่กรณี

 

_________________

1 “การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 16 พฤษภาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A5664

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

MTL 720x100

TU 720 x 109

sme 720x100

ธกส 720x100

SPALAI 720x100

PF 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!