WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ประเด็นการสร้างและใช้ Big Data ภาคเกษตร ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา

GOV9

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ประเด็นการสร้างและใช้ Big Data ภาคเกษตร ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ประเด็นการสร้างและใช้ Big Data ภาคเกษตร ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอและแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ประเด็นการสร้างและใช้ Big Data ภาคเกษตร ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ มีข้อเสนอแนะและแนวทางดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 9 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ด้านข้อมูล 2) ด้านการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูล 3) ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล 4) ด้านความเป็นเอกภาพของข้อมูล 5) ด้านงบประมาณและแผนดำเนินงาน 6) ด้านความร่วมมือกับภาคเอกชน 7) ด้านกฎหมายระเบียบ และนโยบาย 8) ด้านบุคลาการ และ 9) ด้านโครงสร้างและอัตรากำลัง โดยแบ่งเป็นระยะเร่งด่วน (ดำเนินงานในปี 2566 - 2567) และระยะถัดไป (ดำเนินงานในปี 2568 - 2570)

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ กษ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าวและสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          กษ. ได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2 โดยสรุปผลการพิจารณาได้ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

 

ผลการดำเนินงาน

1. ด้านข้อมูล พบว่า แต่ละหน่วยงานไม่มีมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูล โดยไม่ได้ยึดหลักเกณฑ์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และแนวทางของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น ควรให้ทุกหน่วยงานใช้หลักเกณฑ์การจัดทำมาตรฐานข้อมูลภาครัฐของ สสช. ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลตามหลักธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จัดทำข้อมูลเปิดภาครัฐและจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ของ สพร. และขับเคลื่อน โดย สสช. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลเป็นมาตรฐานเดียวกัน สะดวกต่อการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน รวมทั้ง สสช. ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้พัฒนาและเผยแพร่โปรแกรม CKAN Open-D เพื่อให้หน่วยงานสามารถนำไปใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย อันจะช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้อย่างสะดวก

2. ด้านการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูล ควรสนับสนุนการพัฒนา Application สำหรับการให้บริการทางการเกษตร ที่สามารถใช้ได้ง่าย ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยควรดำเนินการเป็นกรณีเฉพาะเจาะจงในรายสินค้า/รายปัญหาเพื่อเป็นการนำร่องในการพัฒนาและก่อให้เกิดความเข้าใจในการสร้าง Big Data ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง

 

หน่วยงานได้มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของหน่วยงาน ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เป็นต้น นอกจากนี้ มีหลายหน่วยงานได้ดำเนินการนำข้อมูลให้บริการประชาชนในรูปแบบ Application เพื่อความสะดวกต่อการใช้งานของเกษตรกร

3. ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสามารถรองรับการเชื่อมโยงแบบ GDX และ API โดยอาจสนับสนุนให้หน่วยงานใช้ระบบกลางในการให้บริการ Cloud Service

 

ดศ. มีบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service : GDCC) เป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคงปลอดภัย ส่งเสริมการทำงานภาครัฐในลักษณะแพลตฟอร์ม

4. ด้านความเป็นเอกภาพของข้อมูล ควรกำหนดหน่วยงานหลักในระดับกระทรวงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลข้อมูล และประสานงานภายใน กษ. ทั้งระดับกรมและระดับพื้นที่ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติเป็นองค์กรอิสระ ที่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

กษ. ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลปริมาณการผลิตสินค้าเกษตร และคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและเป็นเอกภาพและในระยะต่อไป กษ. จะกำหนดมาตรฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูลที่หน่วยงานจัดทำสามารถใช้วิเคราะห์ร่วมกันได้ และสามารถเปรียบเทียบกับข้อมูลของต่างประเทศ

การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติเป็นองค์กรอิสระ สำนักงาน ... เห็นว่า กษ. ควรทบทวนบทบาทและภารกิจของศูนย์ข้อมูลฯ ให้มีความชัดเจนและเหมาะสม

5. ด้านงบประมาณและแผนดำเนินงาน ควรสนับสนุนให้มี Roadmap ด้าน Big Data ภาคเกษตรของ กษ. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นการสร้างและใช้ Big Data ที่ชัดเจน และควรกำหนดระยะเวลาและงบประมาณในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อประโยชน์ในการสร้างและใช้ Big Data ภาคเกษตร ให้สอดคล้องและมีความต่อเนื่อง

 

ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ โดย สศก. ได้จัดทำ Roadmap ด้าน Big Data ตั้งแต่ปี .. 2566 - .. 2570 โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

       - ระยะที่ 1 (.. 2566 - .. 2567) เป็นการดำเนินการด้านข้อมูล คุณภาพข้อมูล และทักษะด้านข้อมูล (Data Quality and Literacy)

       - ระยะที่ 2 (.. 2568 - .. 2569) เป็นการดำเนินการจัดทำ Data Service Platform

       - ระยะที่ 3 (.. 2570) เป็นการให้บริการข้อมูลที่ตอบสนองความต้องการระดับปัจเจก (Customer & Citizen Centric)

รวมถึงได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ ระยะ 5 ปี (.. 2566 - .. 2570) ประกอบด้วยโครงการสำคัญเพื่อเป็นฐานในการจัดทำคำของบประมาณ

6. ด้านความร่วมมือกับภาคเอกชน โดยผลักดันการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อนำข้อมูล Open Data ไปพัฒนาต่อยอด โดยภาครัฐเป็นผู้ควบคุมและผู้อำนวยความสะดวกด้านข้อมูลให้มีความถูกต้องและส่งต่อให้เอกชนเข้ามามีบทบาทร่วมในการนำข้อมูลไปลงทุนพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจ

 

หลายหน่วยงานได้มีความร่วมมือกับภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ รวมถึงการพัฒนางานร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์จากข้อมูล เกิดเป็นนวัตกรรม หรือบริการในรูปแบบใหม่ ซึ่งจะช่วยพัฒนาและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตร

7. ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และนโยบาย ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายระดับ ซึ่งมีข้อขัดแย้งกันส่งผลให้หน่วยงานไม่กล้าตัดสินใจในบางกรณี ดังนั้นเพื่อลดปัญหาข้อติดขัดในการเชื่อมโยงข้อมูล ควรให้กระทรวงและกรมพิจารณาทบทวนและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการปฏิบัติตาม ... การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล .. 2562 ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนา Big Data สามารถขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

หน่วยงานได้ปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลข้อมูลได้มีการจำแนกข้อมูลตามชั้นความลับ และกำหนดหลักเกณฑ์ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลความมั่นคงและข้อมูลความลับ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ดศ. มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทำหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการใช้กฎหมายอย่างเหมาะสมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ

8. ด้านบุคลากร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีจำนวนอัตราของตำแหน่งที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน Big Data เช่น ตำแหน่ง Data Scientist ตำแหน่ง Data Engineer และตำแหน่ง Data Analyst เป็นต้น

 

สำนักงาน .. มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานพิจารณาใช้บุคลากรที่เป็นการจ้างงานในรูปแบบอื่น เช่น การจ้างเหมาบริการ หรือการจ้างงานในโครงการที่มีลักษณะเป็นการชั่วคราว เป็นต้น และเห็นควรให้มีการจัดสรรทุนฝึกอบรมแก่บุคลากร เพื่อยกระดับทักษะด้าน Data Analytics

9. ด้านโครงสร้างและอัตรากำลัง ปัจจุบันหน่วยงานส่วนใหญ่ยังขาดบุคลากรที่มีทักษะการทำงานด้าน Big Data และการรับบุคคลภายนอกที่มีทักษะเข้าทำงานยังเป็นอุปสรรคอย่างมาก เนื่องจากยังไม่มีการพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ ส่งผลให้ขาดแรงจูงใจที่จะปฏิบัติงาน จึงควรสนับสนุนการวางแผนอัตรากำลังคนให้สอดคล้องกับโครงสร้างขององค์กรและบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลง และผลักดันให้มีการพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) ด้าน Big Data ภาคเกษตรให้ชัดเจน

 

เห็นชอบกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 16 พฤษภาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A5659

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!