WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองสำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยการทบทวนครึ่งวาระของกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยง ค.ศ. 2015-2030

GOV4 copy copy

การรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองสำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยการทบทวนครึ่งวาระของกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยง ค.ศ. 2015-2030

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองสำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยการทบทวนครึ่งวาระของกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ค.ศ. 2015-2030 ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างปฏิญญาฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) และกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้ นายสุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก หรือผู้แทน ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้รับรองร่างปฏิญญาดังกล่าวตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          ร่างปฏิญญาฯ เป็นการแสดงเจตจำนงทางการเมืองของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ โดยมีสาระสำคัญเพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นและการเร่งรัดการดำเนินการตามพันธกิจ 4 ประการ (Priorities for Action) ของกรอบเซนได ประกอบด้วย พันธกิจที่ 1 เข้าใจความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พันธกิจที่ 2 เสริมสร้างศักยภาพในการบริหารและจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พันธกิจที่ 3 ลงทุนในด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเพื่อให้พร้อมรับมือและฟื้นคืนกลับได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และพันธกิจที่ 4 พัฒนาศักยภาพในการเตรียมความพร้อมผชิญเหตุภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการฟื้นสภาพและซ่อมสร้างที่ดีกว่าเดิมในช่วงของการบูรณะฟื้นฟูภายหลังเหตุภัยพิบัติ โดยได้เรียกร้องให้รัฐบาลและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดำเนินการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมและการปฏิบัติให้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น การพัฒนาฐานข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติของประเทศ การบูรณาการหลักการลดความเสี่ยงเข้าไว้ในกระบวนการจัดทำนโยบายของภาคส่วนต่างๆ การส่งเสริมขีดความสามารถและการมีส่วนร่วมในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของท้องถิ่นและชุมชนโดยใช้แนวปฏิบัติตามการสร้างชุมชนและเมืองแห่งความปลอดภัยอย่างยั่งยืน 10 ประการ (Making Cities Resilient 2030) ของสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) การส่งเสริมแนวทางการแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน การจัดทำมาตรการและเครื่องมือทางการเงินเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การลงทุนด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในภาคส่วนสาธารณสุขโดยต่อยอดจากหลักการกรุงเทพฯ ว่าด้วยการอนุวัติประเด็นสาธารณสุขภายใต้กรอบเซนได (Bangkok Principles) และการพัฒนาด้านการแจ้งเตือนภัยที่หลากหลายประเภทภัย เป็นต้น โดยคำนึงถึงบริบท ความต้องการและการจัดลำดับความสำคัญของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 16 พฤษภาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A5652

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

MTL 720x100

TU 720 x 109

sme 720x100

ธกส 720x100

SPALAI 720x100

PF 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!