WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566

GOV 7

มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566

          คณะรัฐมนตรีมีมติทราบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 ตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เสนอและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวโดยรายงานให้ กนช. ทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กนช. รายงานว่า กนช. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 มีมติเห็นชอบ 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 25661 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการดังกล่าว เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนมาตรการให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถรองรับสถานการณ์ด้านทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

การดำเนินงาน/กลไก

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

มาตรการที่ 1 คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงช่วงฝนทิ้งช่วง (เดือนมีนาคม 2566 เป็นต้นไป)

(1.1) ประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและดินโคลนถล่มในช่วงเดือนมีนาคม-ธันวาคม 2566 และปรับปรุงข้อมูลทุกเดือนเพื่อส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เตรียมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน

(1.2) ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำจากช่วงฝนทิ้งช่วงในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2566 เพื่อให้หน่วยงานนำไปกำหนดแผนปฏิบัติการสำหรับเตรียมดำเนินการในเชิงป้องกันล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยง

 

- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) [สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)]

- กระทรวงเกษตรกรรมและสหกรณ์ (กษ.) (กรมชลประทาน)

- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) (กรมอุตุนิยมวิทยา)

- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (กรมทรัพยากรธรณีและกรมทรัพยากรน้ำ)

- กรุงเทพมหานคร (กทม.)

- สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

มาตรการที่ 2 บริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก (ภายในเดือนสิงหาคม 2566)

(2.1) เตรียมความพร้อมการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ/แก้มลิงเป็นพื้นที่หน่วงน้ำ2ในช่วงฤดูน้ำหลาก บริหารจัดการเพื่อป้องกันและบรรเทาระดับความรุนแรงของน้ำท่วม รวมถึงจัดทำแผนการระบายน้ำ/แผนเก็บกักน้ำไว้ใช้ก่อนสิ้นฤดูฝน เช่น พื้นที่ทุ่งบางระกำ และพื้นที่ลุ่มต่ำ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง รวมถึงพื้นที่ลุ่มต่ำภายในเขตพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ กทม. และปริมณฑล และพื้นที่ลุ่มต่ำอื่นๆ

(2.2) หลักเกณฑ์การใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองและการจ่ายเงินค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายในพื้นที่เอกชน

 

- กษ. (กรมชลประทาน) และกรมส่งเสริมการเกษตร)

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ)

- กระทรวงมหาดไทย (มท.) 

- กทม.

มาตรการที่ 3 ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ/เขื่อนระบายน้ำและจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำเชิงบูรณาการ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดู)

(3.1) ทบทวน ปรับปรุงหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบริหารจัดการน้ำสำหรับใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น เกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) เกณฑ์การระบายน้ำเขื่อน/อาคารระบายน้ำ การคาดการณ์ฝนและปริมาณน้ำท่าในลำน้ำ ประเมินน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเกณฑ์ค่าเฝ้าระวังระดับเตือนภัย และเกณฑ์การบริหารจัดการ (กลไกการสั่งการ)

 

- กษ. (กรมชลประทานและกรมประมง)

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ)

- กระทรวงพลังงาน (พน.) [การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน]

- มท. [กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.)]

- สทนช.

(3.2) การบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของกลุ่มลุ่มน้ำ ได้แก่ 1) จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำในพื้นที่นำร่อง (ลุ่มน้ำวังและลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก) 2) ติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำทุกขนาดเพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำหรือเกณฑ์ควบคุม โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของกลุ่มลุ่มน้ำ และ 3) จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางในช่วงภาวะวิกฤต เช่น แผนการระบายน้ำเพื่อรักษาเสถียรภาพของอ่างเก็บน้ำ

 

- กษ. (กรมชลประทานและกรมประมง)

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ)

- พน. (กฟผ. และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ)

- มท. (สถ.)

- สทนช.

มาตรการที่ 4 เตรียมความพร้อม ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน และปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน)

(4.1) เตรียมความพร้อม ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารชลศาสตร์ และระบบระบายน้ำให้พร้อมใช้งาน เช่น ตรวจสอบสภาพความมั่นคงและซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำ อาคารควบคุมบังคับน้ำ รวมทั้งระบบระบายน้ำกรณีมีอาคารไม่พร้อมใช้งานหรือเสียหายระหว่างฤดูฝนให้จัดทำแผนซ่อมแซมปรับปรุงและแผนปฏิบัติการสำรองการบริหารจัดการน้ำหลาก

 

- กษ. (กรมชลประทาน)

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ)

- พน. (กฟผ. และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ

- มท. (สถ.)

- กทม.

(4.2) เตรียมความพร้อม ซ่อมแซม ปรับปรุง สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน เช่น ตรวจสอบสถานีโทรมาตร ซ่อมแซมให้มีสภาพพร้อมใช้งานได้ตามปกติในช่วงฤดูฝน รวมทั้งสามารถตรวจวัดแสดงผลและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้ในการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

 

- อว. (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ)

- กษ. (กรมชลประทานและกรมประมง)

- ดศ. (กรมอุตุนิยมวิทยา)

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ)

- พน. (กฟผ. และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ)

- กทม.

(4.3) ปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ เช่น สำรวจและจัดทำแผนดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ และการปรับปรุงคูคลอง เพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำและระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็วและทบทวน/ตรวจสอบสิ่งที่กีดขวางการไหลของน้ำในระบบทางน้ำจากการศึกษาการจัดทำผังน้ำเพื่อจัดทำแผนปรับปรุงแก้ไข

 

- กระทรวงกลาโหม (กห.) (กองทัพบก)

- กษ. (กรมชลประทาน)

- กระทรวงคมนาคม (คค.) (กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมเจ้าท่า และรถไฟแห่งประเทศไทย)

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ)

- มท. (สถ.) 

- กทม

- สทนช.

มาตรการที่ 5 เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือ บุคลากร ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน)

(5.1) เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือ ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง เช่น 1) เตรียมความพร้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/แผนเผชิญเหตุในภาวะน้ำท่วมและช่วงฝนทิ้งช่วง 2) เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมและช่วงฝนทิ้งช่วง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง 3) เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเข้าช่วยเหลือได้ทันสถานการณ์ 4) วางแผนจุดติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในพื้นที่ที่เหมาะสม และ 5) ติดตามวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและช่วงฝนทิ้งช่วงด้วยภาพถ่ายดาวเทียมและอากาศยานไร้คนขับ รวมทั้งกำหนดแนวทางและเงื่อนไขของการแจ้งเตือนตามระดับความรุนแรง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

 

- กห. (กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ)

- อว. [สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)]

- กษ. (กรมชลประทาน)

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล)

- คค. (กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท)

- มท. [สถ. และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)]

- กทม

- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

(5.2) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำในพื้นเสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง เช่น 1) วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ลดการสูญเสียน้ำโดยการปรับปรุงวิธีการส่งน้ำและซ่อมแซมระบบการส่งน้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้น้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุด และ 3) การปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงฝนทิ้งช่วง

 

- กษ. (กรมชลประทาน และกรมฝนหลวงและการบินเกษตร)

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล)

- พน. (กฟผ.)

- มท. [สถ. การประปานครหลวง (กปน.) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)]

มาตรการที่ 6 ตรวจความมั่นคงปลอดภัย คัน ทำนบ และพนังกั้นน้ำ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน)

(6.1) ตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรง ของคันกั้นน้ำ ทำนบและพนังกั้นน้ำ พร้อมทั้งซ่อมแซมและปรับปรุงให้มีสภาพพร้อมใช้งาน

(6.2) เตรียมแผนเสริมความสูงหรือก่อสร้างคัน ทำนบ และพนังกั้นน้ำชั่วคราว (หากจำเป็น)

 

- อว. (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ)

- กษ. (กรมชลประทาน)

- คค. (กรมเจ้าท่า กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท)

- พน. (กฟผ.)

- มท. (กรมโยธาธิการและผังเมือง และ สถ.)

มาตรการที่ 7 เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน)

(7.1) จัดทำแผนบูรณาการด้านเครื่องจักรเครื่องมือ/สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดวัชพืช ผักตบชวา และขยะในลำน้ำ

(7.2) ขุดลอกคลองเพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าตัดแม่น้ำลำคลองและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

(7.3) ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนประชาชนในชุมชนช่วยกันจัดเก็บหรือกำจัดวัชพืช ผักตบชวา และขยะในลำน้ำ

(7.4) มอบหมายคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาผักตบชวากำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาผักตบชวา ในช่วงก่อนฤดูฝนและระหว่างฤดูฝน ปี 2566 ให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2566

(7.5) จัดทำ Big Cleaning Day ในพื้นที่ลุ่มน้ำนำร่อง

 

- อว. (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศฯ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)

- กษ. (กรมชลประทาน)

- คค. (กรมเจ้าท่า)

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ)

- มท. (กรมโยธาธิการและผังเมือง สถ. และ ปภ.)

- กทม

- สทนช.

มาตรการที่ 8 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ (ตลอดช่วงฤดูฝน)

(8.1) ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุจัดเตรียมพื้นที่อพยพ โดยบูรณาการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับชาติและระดับพื้นที่ และซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ รวมทั้งจัดเตรียมพื้นที่อพยพ (อย่างน้อยภาคละ 1 พื้นที่)

 

- มท. [ปภ. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)]

- สทนช.

(8.2) ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย โดยตั้งศูนย์บัญชาการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าสำหรับเผชิญเหตุเพื่อเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการสถานการณ์ และบูรณาการการทำงานร่วมกับกลไกการทำงานของแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

 

- กห. (กองบัญชาการกองทัพไทย)

- อว. (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศฯ)

- กษ. (กรมชลประทาน)

- ดศ. (กรมอุตุนิยมวิทยา)

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ)

- มท. (สถ. และ ปภ.)

- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) (กรมประชาสัมพันธ์)

- สทนช

- สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

(8.3) จัดทำแผนการฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับกลไกการทำงานของแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ และวางแผนกำหนดแนวทางการฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ

 

- มท. (ปภ.)

มาตรการที่ 9 เร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝน (ภายในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2566)

(9.1) เร่งเก็บน้ำ/สูบทอยน้ำส่วนเกิน ในช่วงปลายฤดูฝนไปเก็บในอ่างเก็บน้ำ/แหล่งน้ำธรรมชาติไว้ใช้ในฤดูแล้ง

(9.2) บริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ/แหล่งน้ำตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) หรือเต็มศักยภาพเก็บกัก

(9.3) พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำขนาดเล็กเพิ่มขึ้น ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ และบ่อน้ำตื้น

 

- กษ. (กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดิน)

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ)

- มท. (ปภ. สถ. กปภ. และ กปน.)

- พน. (กฟผ. และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ)

มาตรการที่ 10 สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน)

(10.1) อบรมการจัดการความรู้ สร้างองค์ความรู้แก่ปราชญ์ชุมชนและภาคประชาชน

(10.2) ให้องค์ความรู้ภาคประชาชนในการติดตาม เฝ้าระวัง และแจ้งข้อมูลในพื้นที่

(10.3) สร้างเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่เพื่อแจ้งข้อมูลสถานการณ์

(10.4) สร้างช่องทางในการส่งข้อมูล/แจ้งข้อมูลสถานการณ์

 

- ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ)

- มท. (อปท. และ ปภ.)

- สทนช.

- กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

มาตรการที่ 11 การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน)

สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ช่วงฤดูฝน ปี 2566 ให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้และเข้าใจผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด องค์กรผู้ใช้น้ำ เครือข่ายต่างๆ และประชาชน

 

- มท. (สถ.)

- สปน. (กรมประชาสัมพันธ์)

- สทนช.

มาตรการที่ 12 ติดตาม ประเมินผล ปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย (ตลอดช่วงฤดูฝน)

(12.1) กำหนดประเด็นตัวชี้วัดการดำเนินการ (กระบวนการ ผลผลิตและผลลัพธ์)

(12.2) ติดตาม วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนอย่างใกล้ชิด

(12.3) ติดตามการดำเนินงานและสรุปผลเพื่อปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย

 

- สทนช.

 

________________

1 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 มีสาระสำคัญเหมือนกับมาตรการฯ ปี 2565 โดยปรับยุบรวมมาตรการตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยไปอยู่ภายใต้มาตรการที่ 8 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุฯ

2 พื้นที่หน่วงน้ำ คือ พื้นที่สำหรับพักน้ำหรือเก็บกักน้ำฝนไว้ชั่วคราว ก่อนที่จะปล่อยระบายลงสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 พฤษภาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A5300

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

MTL 720x100

TU 720 x 109

sme 720x100

ธกส 720x100

SPALAI 720x100

PF 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!