WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

GOV 5

รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการและการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (จ.ภ.)* 6 แห่ง ดังนี้

          เรื่องเดิม

          คณะรัฐมนตรีมีมติ (5 ตุลาคม 2564) เห็นชอบในหลักการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็น จ.ภ. ประจำเขตตรวจราชการ จำนวน 6 แห่ง (ประกอบด้วย จ.ภ. ประจำเขตตรวจราชการที่ 3, 9, 12, 14, 15 และ 18) และให้ปรับปรุงแก้ไขจังหวัดเขตพื้นที่บริการ จ.ภ. ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจำนวนโรงเรียนและบริบทเชิงพื้นที่ ภูมิศาสตร์ ภูมิสังคม ระบบราชการ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินการ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2569) ภายในกรอบวงเงิน 3,275.96 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 443.40 ล้านบาท ให้ ศธ. พิจารณาจัดลำดับความสำคัญตามขั้นตอนและกิจกรรมการดำเนินงาน การเตรียมความพร้อมของ จ.ภ. แห่งใหม่ โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับ และหากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายนอกเหนือจากแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้ ให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในการปรับแผนฯ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นตามขั้นตอนต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2569 จำนวน 2,832.56 ล้านบาท ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็น ประหยัด เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

          สาระสำคัญ

          ศธ. รายงานว่า ศธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฟื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 ตุลาคม 2564) ดังนี้

          1. จัดทำแนวทางการพัฒนาจัดตั้ง จ.ภ. จำนวน 6 แห่ง (คณะกรรมการพัฒนา จ.ภ. และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีมติรับทราบแล้ว) โดยพัฒนาและใช้พื้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเดิม จำนวน 4 แห่ง และพัฒนาจัดตั้งบนพื้นที่ที่ได้รับจัดสรรใหม่จำนวน 2 แห่ง ควบคู่ไปกับการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในการขยายองค์ความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนของ จ.ภ. ตามภารกิจการเป็นโรงเรียนศูนย์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษาในส่วนภูมิภาค โดยกำหนดพื้นที่จังหวัดสำหรับการจัดตั้ง จ.ภ. จำนวน 6 แห่ง ในพื้นที่เขตตรวจราชการ 6 เขตตรวจฯ ที่ยังไม่มี จ.ภ. ตั้งอยู่ สอดคล้องกับพื้นที่เขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) ที่กำหนดไว้ ตามคำสั่ง นร. ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ จำนวน 18 เขตตรวจฯ ดังนี้

 

เขตตรวจฯ ที่

จังหวัดตามเขตตรวจฯ

..ประจำเขตตรวจฯ

พื้นที่จัดตั้งโรงเรียน

ขนาดพื้นที่

พื้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเดิม จำนวน 4 แห่ง

3

กาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี

.. สุพรรณบุรี

โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา

ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง

จังหวัดสุพรรณบุรี

71 ไร่ 1 งาน

88.8 ตารางวา

12

กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด

.. กาฬสินธุ์

โรงเรียนโคกศรีเมือง

ตำบลดงลิง

อำเภอกมลาไสย

จังหวัดกาฬสินธุ์

131 ไร่ 1 งาน

6 ตารางวา

14

ยโสธร ศรีสะเกษ

อำนาจเจริญ

และอุบลราชธานี

.. อุบลราชธานี

โรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัย

ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง

อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

175 ไร่

44 ตารางวา

15

เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน

ลำปาง และลำพูน

.. ลำปาง

โรงเรียนแม่ทะประชาสามัคคี

ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ

จังหวัดลำปาง

62 ไร่ 3 งาน

79 ตารางวา

พื้นที่ที่ได้รับจัดสรรใหม่ จำนวน 2 แห่ง

9

จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว

.. สระแก้ว

พื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรใหม่

ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

77 ไร่

55 ตารางวา

18

กำแพงเพชร นครสวรรค์

พิจิตร และอุทัยธานี

.. กำแพงเพชร

พื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรใหม่

ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง

กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

89 ไร่ 1 งาน

14 ตารางวา

­­­หมายเหตุ : ปัจจุบันมี จ.ภ. จำนวน 12 แห่ง ที่สอดคล้องกับพื้นที่ในเขตตรวจฯ ของ นร. และเพิ่มใหม่อีก 6 แห่งดังกล่าว รวมมี จ.ภ. ทั้งหมด 18 แห่ง กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ

 

          2. ปรับปรุงเขตพื้นที่บริการของ จ.ก. จากเดิมที่มีพื้นที่รับนักเรียนจำนวน 7-8 จังหวัดต่อหนึ่งโรงเรียน ให้มีจำนวนเล็กลงเพื่อให้การเข้าถึงโอกาสของนักเรียนในจังหวัดต่างๆ มีการกระจายอย่างทั่วถึง เป็นจำนวน 4-5 จังหวัดต่อหนึ่งโรงเรียน

          3. ศธ. ได้มีประกาศ ศธ. เรื่อง ตั้ง จ.ภ. กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ลำปาง สระแก้ว สุพรรณบุรี และอุบลราชธานี ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษในสังกัด สพฐ. ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 รับนักเรียนประเภทประจำ โดยมีเขตพื้นที่บริการตามที่ สพฐ. กำหนด และให้สถานศึกษานี้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

          4. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สพฐ. ได้รับการจัดสรรงบประมาณของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากแผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิตเด็กผู้มีความสามารถพิเศษด้านการพัฒนาศักยภาพ กิจกรรมหลักการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็น จ.ภ. รวมวงเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 215.64 ล้านบาท เพื่อดำเนินการพัฒนาจัดตั้ง จ.ภ. ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอน 

____________________

*สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ได้พระราชทานนามย่อโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชริทยาลัยว่า “จ.ภ.”

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 2 พฤษภาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A5060

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

MTL 720x100

TU 720 x 109

sme 720x100

ธกส 720x100

SPALAI 720x100

PF 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!