WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

GOV 16

ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ เมืองยอกยาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย [คณะรัฐมนตรีมีมติ (31 มกราคม 2566) เห็นชอบต่อร่างเอกสาร จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 (2) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ครั้งที่ 22 (3) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-สาธารณรัฐอินเดีย ครั้งที่ 10 (4) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งที่ 2 และ (5) ร่างแผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย พ.ศ. 2566-2570 และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนฯ ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Minister) ของไทย และร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ โดยไม่มีการลงนาม] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 ที่ประชุมรับทราบความสำเร็จในการฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน โดยในปี 2565 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในภูมิภาคเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 1,222.99 และมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 1,706.61 เมื่อเทียบกับปี 2564 ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับ (1) การส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียนให้มีความสามารถในการแข่งขันและการใช้นวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นผ่านการสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยว การส่งเสริมจุดเด่นทางวัฒนธรรมและความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวทั้งเมืองหลักและเมืองรองผ่านการสร้างเครือข่ายระเบียงการท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559-2568 แผนฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน และการสนับสนุนกิจกรรมตามแผนการท่องเที่ยวเรือสำราญ พ.ศ. 2566 (2) การยกระดับการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน โดยที่ประชุมสนับสนุนการดำเนินการตามข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน ฉบับปรับปรุง ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการเพิ่มตำแหน่งานในอุตสาหกรรม MICE1 (3) การพัฒนาการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบ ยั่งยืนและครอบคลุม โดยที่ประชุมชื่นชมการดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานของอาเซียนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกทบทวนและดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานดังกล่าว รวมถึงส่งเสริมการจัดทำผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียนที่สะท้อนเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกในการฟื้นฟูและเปลี่ยนแปลงการท่องเที่ยวในภูมิภาคไปสู่ความยั่งยืน และ (4) การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการท่องเที่ยว โดยที่ประชุมกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติของสังคมและสิ่งแวดล้ม รวมถึงเพื่อสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว นอกจากนี้ ที่ประชุมยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวต่างๆ เช่น สมาคมการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Association: ASEANTA) ซึ่งร่วมกับอาเซียนในการจัดทำเครื่องมือส่งเสริมบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Pacific Asia Travel Association: PATA) ซึ่งจัดทำผลการศึกษาแนวโน้มสถานการณ์การท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: US-ABC) ซึ่งให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับกระแสการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนการท่องเที่ยว MICE และการท่องเที่ยวเรือสำราญ รวมถึงแนวทางในการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations World Tourism Organization: UNWTO) ประสงค์จะจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวร่วมกับอาเซียน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

          2. การประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

                  2.1 การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 22 ที่ประชุมสนับสนุนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวร่วมกับกลุ่มประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ในประเด็น (1) การเสริมสร้างศักยภาพ (2) การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (3) การเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล (4) การส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยว (5) การเสริมสร้างบทบาทของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย และ (6) การระบุข้อริเริ่มที่จะดำเนินการในอนาคต โดยอาศัยการสนับสนุนจากศูนย์อาเซียน-จีน ศูนย์อาเซียน-เกาหลี และศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น โดยที่ผ่านมากลุ่มประเทศบวกสามได้ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนมาอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดการประชุม นิทรรศการ และการจัดอบรมให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในอาเซียน ทั้งนี้ ปี 2566 อันเป็นปีแห่งการครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น จะมีการจัดการเสวนาพิเศษในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566

                  2.2 การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 10 ที่ประชุมรับทราบความสำคัญของกลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียที่เดินทางมาท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนมากกว่า 2.5 ล้านคน ในปี 2565 โดยสนับสนุนการดำเนินแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย พ.ศ. 2564-2565 ซึ่งมุ่งเน้น (1) การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและครอบคลุม (2) การส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการท่องเที่ยว (3) ความปลอดภัยและความมั่นคงด้านการท่องเที่ยว (4) การลงทุนด้านการท่องเที่ยว (5) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว (6) การท่องเที่ยวและการเชื่อมโยง และ (7) การประชาสัมพันธ์และการตลาด นอกจากนี้ ที่ประชุมได้สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการจ้างงานในชุมชนเพิ่มขึ้น รวมถึงการดำเนินงานตามแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยว (ASEAN Promotional Chapter for Tourism: APCT)

                  2.3 การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเชีย ครั้งที่ 2 ที่ประชุมรับทราบอุปสงค์ของนักท่องเที่ยวรัสเซียในตลาดการท่องเที่ยวอาเซียนที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งที่ประชุมสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมความร่วมมือตามแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเชีย พ.ศ. 2565-2567 เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการเดินทางที่ปลอดภัยของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย

          3. รัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนได้ให้การรับรองเอกสาร จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีการลงนาม ได้แก่ (1) ถ้อยแถลงประธานการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 (2) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ครั้งที่ 22 (3) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 10 (4) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเชีย ครั้งที่ 2 และ (5) แผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย พ.ศ. 2566-2570 

__________________________________

1อุตสาหกรรมสร้างสรรค์งานอีเวนท์ เป็นอุตสาหกรรมที่พัฒนาการจัดงานทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประชุมบริษัทและสมาคม ทั้งในระดับองค์กรภูมิภาคไปจนถึงระดับนานาชาติ เป็นการจัดงานที่มุ่งเน้นบริการนักธุรกิจที่เข้าร่วมการประชุมและงานแสดงสินค้าเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 2 พฤษภาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A5057

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!