WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2566

GOV 5

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการติดตามดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปผลการประชุม กตน. ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้

          1. เห็นชอบในหลักการการจัดทำ (ร่าง) รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปีที่ 4 (25 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2565) (ฉบับที่ 1) โดยคณะอนุกรรมการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลประจำปี ได้เสนอร่างรายงานฯ เพื่อกรรมการ กตน. (ผู้แทนส่วนราชการ) พิจารณาตรวจสอบความถูกต้อง และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้ว เพื่อนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และเสนอคณะรัฐมนตรีทราบรวมทั้งจัดพิมพ์เล่มรายงานผลการดำเนินงานฯ ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ และเผยแพร่ผลงานรัฐบาลต่อไป

          2. การบูรณาการระบบข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและจัดทำข้อมูลทางด้านการเกษตรแบบเปิดเชื่อมโยงกับศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ

 

ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน

 

ข้อเสนอแนะ/มติที่ประชุม กตน.

การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม

     1. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ดำเนินการ ดังนี้

          1.1 ฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer One) ที่เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยรับขึ้นทะเบียนเกษตรกร ได้แก่ ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลกิจกรรมการเกษตร ข้อมูลพื้นที่ทำการเกษตรและเอกสารสิทธิ์ และข้อมูลเครื่องจักรกลการเกษตร จัดเก็บไว้บนคลาวด์กลางของภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service: GDCC) โดยสำนักงานเศรษฐกิจทางการเกษตร (สศก.) เป็นหน่วยงานร่วมบูรณาการและบริหารจัดการข้อมูลกับกรมการปกครองเพื่อให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

          1.2 ปรับปรุงแอปพลิเคชัน (Food And Agriculture Revolution Model Information System: FAARMis) เวอร์ชั่น 2 สำหรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้สามารถรองรับการแสดงผลได้ทุกอุปกรณ์ โดยปรับปรุงระบบบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้แก่ (1) ข้อมูลบุคคลและข้อมูลครัวเรือน (2) ข้อมูลเครื่องจักรกลการเกษตร (3) ข้อมูลแปลงเอกสารสิทธิ์และแปลงไม่มีเอกสารสิทธิ์ (4) ข้อมูลกิจกรรมการเกษตร (5) ข้อมูลลายมือชื่อดิจิทัล (6) การเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (7) การตรวจสอบข้อมูลบุคคล ข้อมูลแปลงที่ดินและข้อมูลกิจกรรมการเกษตร และ (8) การแสดงผลรายงาน

          1.3 ส่งข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้กับระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) เพื่อนำไปประมวลผลร่วมกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อค้นหาคนจนเป้าหมาย

     2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้ดำเนินการ ดังนี้

          2.1 การดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มการขึ้นทะเบียนเกษตรกรกลาง ได้แก่ (1) การจัดทำระบบการจัดเก็บประวัติ (2) การทำการเกษตรของเกษตรกรและการใช้ที่ดิน (3) การจัดทำระบบการตรวจสอบความถูกต้องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ และ (4) การจัดทำรายงานและการให้บริการการสืบค้นข้อมูลทะเบียนเกษตรกร โดยดำเนินการบูรณาการระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง ทั้งนี้ บริษัทผู้รับจ้างได้ทำแผนคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 25661

          2.2 การศึกษาออกแบบกระบวนการทำงานการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ให้ครอบคลุมทั้งพืช ปศุสัตว์และประมง โดยกำหนดเสนอผลการศึกษาให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และจัดทำรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ภายในเดือนมิถุนายน 25662

          2.3 การจัดทำข้อมูลทางด้านการเกษตรแบบเปิดเชื่อมโยงกับศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ ได้จัดทำบัญชีข้อมูลด้านการเกษตรในเว็บไซต์ nabc-catalog.oae.go.th โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 91 องค์กร ปัจจุบันมีชุดข้อมูล 1,041 ชุดข้อมูล ทั้งนี้ มีชุดข้อมูลที่เชื่อมโยงเข้ากับศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ data.go.th จำนวน 128 ชุดข้อมูล และอยู่ระหว่างการปรับปรุงชุดข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติกำหนด

 

ข้อเสนอแนะ :

1. กษ. เห็นว่าระบบ Farmer One ยังอยู่ภายใต้การพัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer technology Center: NECTEC) ซึ่งจะส่งมอบให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นผู้ดูแลระบบต่อไปในอนาคต โดย NECTEC ได้มีการทำงานร่วมกับ กษ. อย่างใกล้ชิดเพื่อให้การพัฒนาระบบสามารถส่งและประมวลผลข้อมูลได้อย่างแม่นยำและเที่ยงตรง ทั้งในการจัดทำชุดข้อมูลและการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยหากมีการใช้งานและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระบวนการส่งต่อข้อมูลเป็นไปโดยอัตโนมัติจะสามารถช่วยให้ข้อมูลมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ รวมทั้งสะท้อนตามสภาพการณ์จริงได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

2. การเชื่อมต่อข้อมูลเกษตรกรเข้ากับระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชุดข้อมูล โดยข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุด คือ กิจกรรมทางการเกษตรจะมีการปรับปรุงข้อมูลบ่อยครั้งกว่า ในขณะที่ข้อมูลรายชื่อและจำนวนเกษตรกรที่มีการเคลื่อนไหวน้อย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการปรับปรุงข้อมูลเป็นรายปี

มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ กษ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะและความเห็นไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

          3. โครงการดำเนินการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อการจ้างแรงงานไทยในต่างประเทศ มีการดำเนินงานและแผนงานของหน่วยงาน สรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน

 

ข้อเสนอแนะ/มติที่ประชุม กตน.

การแก้ไขปัญหาการว่างงานและส่งเสริมการมีงานทำและการส่งเสริมการจ้างงานในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กระทรวงแรงงาน (รง.) ได้ดำเนินการ เช่น

     1. การให้บริการจัดหางานในต่างประเทศ ในช่วงปี 2561 - 2565 มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ 423,451 คน สร้างรายได้ส่งกลับประเทศไทย จำนวน 1,020,774 ล้านบาท ทั้งนี้ สามารถจำแนกจำนวนแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศด้วยวิธีการเดินทางอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้ (1) การแจ้งการเดินทางด้วยตนเอง 44,254 คน (2) บริษัทหางานจัดส่ง 109,677 คน (3) กรมการจัดหางานจัดส่ง 51,607 คน (4) นายจ้างพาลูกจ้างไปทำงานในต่างประเทศ 48,270 คน และ (5) นายจ้างส่งลูกจ้างไปฝึกงานในต่างประเทศ และการแจ้งการเดินทางกลับไปทำงานในต่างประเทศ (Re-entry) 169,643 คน

     2. การขยายตลาดเชิงรุกเพื่อการจ้างแรงงานไทยในต่างประเทศ ภายใต้โครงการการดำเนินการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อการจ้างงานไทยในต่างประเทศโดยผลการดำเนินงานและความคืบหน้า ดังนี้

          2.1 สาธารณรัฐเกาหลี รง. ได้ดำเนินการ เช่น ขยายตลาดแรงงานไทยตามระบบการอนุญาตจ้างงานแรงงานต่างชาติและขอความร่วมมือพิจารณาเพิ่มโควตาการจัดส่งแรงงานของประเทศไทย จากเดิม จำนวน 3,000 คน เป็น 5,000 คน และจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในอุตสาหกรรมต่อเรือด้วยวีซ่าทักษะฝีมือ (E-7) ในตำแหน่งช่างเชื่อม ช่างทาสี และช่างไฟฟ้า โดยข้อมูล เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ได้รับรองสัญญาจ้างแล้วกว่า 2,400 คน และเดินทางถึงสาธารณรัฐเกาหลีแล้ว 118 คน

          2.2 สาธารณรัฐฟินแลนด์และราชอาณาจักรสวีเดน รง. ได้ผลักดันการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานเก็บผลไม้ตามฤดูกาลอย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานการจ้างงานสากล รวมทั้งได้หารือในประเด็นความต้องการแรงงานประเภทแรงงานฝีมือ (Skill Workers) และการขยายตลาดแรงงานไทยในสาขาวิชาชีพอื่นๆ เช่น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานนวดไทย และผู้ประกอบการอาหารไทย

          2.3 ประเทศญี่ปุ่น รง. ได้ดำเนินการประสานความร่วมมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การจัดทำร่างข้อตกลงว่าด้วยโครงการแรงงานทักษะเฉพาะ และการจัดทำความตกลงด้านการประกันสังคมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศญี่ปุ่น และขยายตลาดแรงงาน ได้แก่ การประกาศรับสมัครคัดเลือกผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคชาวไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น และการจัดหาและทดสอบคนหางานเพื่อไปทำงานประเภทวีซ่าแรงงานทักษะเฉพาะในตำแหน่งทำความสะอาดอาคาร รวม 10 อัตรา

     3. การพัฒนาฝีมือแรงงานไทยในต่างประเทศ ภายใต้โครงการส่งเสริมศักยภาพมาตรฐานฝีมือแรงงานไทยในต่างประเทศในปีงบประมาณ .. 2561 - 2563 มีแรงงานไทยผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในต่างประเทศ ในสาขาผู้ประกอบอาหารไทยและไทยสัปปายะ (หัตถบำบัด) จำนวน 554 คน (ร้อยละ 97.70) ใน 12 ประเทศ สร้างรายได้เข้าประเทศ จำนวน 254.84 ล้านบาท

     4. แนวทางการขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศปี 2567 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณดำเนินงานโครงการส่งเสริมศักยภาพมาตรฐานฝีมือแรงานไทยในต่างประเทศ จำนวน 10 ล้านบาท เพื่อดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้แก่แรงงานไทยในต่างประเทศ ในสาขาอาชีพภาคบริการ สาขาผู้ประกอบอาหารไทย สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (ไทยสัปปายะ สปาตะวันตก) และสาขาพนักงานนวดแผนไทยในประเทศแถบทวีปอเมริกา เอเชีย และออสเตรเลีย โดยมีเป้าหมายดำเนินงานในปีงบประมาณ .. 2567 จำนวน 240 คน

 

ข้อเสนอแนะ :

1. ควรมีการบูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลการเดินทางของคนไทย/แรงงานไทย การสอดส่อง Social Media ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการลักลอบไปทำงานอย่างผิดกฎหมายในสาธารณรัฐเกาหลี (สป.รง.)

2. ควรผลักดันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยสนับสนุนให้มีการดำเนินงานโครงการส่งเสริมศักยภาพมาตรฐานฝีมือแรงงานไทยในต่างประเทศในปีงบประมาณถัดไป เพื่อให้แรงงานไทยในต่างประเทศเป็นที่ยอมรับในตลาดสากลและมีโอกาสในการขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศผ่านหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ [รง. (กรมการพัฒนาฝีมือแรงงาน)]

ความเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุม กตน. :

1. เนื่องจากกฎหมาย/ระเบียบ/หลักเกณฑ์ของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ทำให้การจัดทำบันทึกความร่วมมือด้านแรงงานกับต่างประเทศเกิดความล่าช้า และเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนจึงจำเป็นต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างรอบด้าน ดังนั้น รง. จึงควรขอความร่วมมือ กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาเร่งรัดการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารเงื่อนไขสัญญา และบันทึกความร่วมมือด้านแรงงานกับต่างประเทศในเรื่องต่างๆ ด้วยความรอบคอบ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ

2. รง. ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานไทยให้มีทักษะแรงงานตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาทักษะแรงงานเพิ่มเติมให้แก่แรงงานไทยที่ครบกำหนดการทำงานในต่างประเทศและกลับมายังประเทศไทย (โครงการแรงงานคืนถิ่น) เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการกลับไปทำงานในต่างประเทศได้ในอนาคต ตลอดจนการจัดหางานภายในประเทศรองรับแรงงานกลุ่มดังกล่าว

มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ รง. กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของหน่วยงานและความเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

          4. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ดังนี้

                  4.1 ผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565) ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566

หน่วย : ล้านบาท

งบประมาณ

รายจ่าย

วงเงิน ...

งบประมาณ

จัดสรร

แผนการใช้จ่ายฯ

ผลการใช้จ่ายฯ

สูง/ต่ำกว่าแผนฯ

ภาพรวม

    ร้อยละ/...

    ร้อยละ/จัดสรร

3,185,000.00

00

2,221,823.9202

69.76

1,389,392.2268

43.62

62.53

1,404,312.3453

44.09

63.21

14,920.1185

0.47

0.67

รายจ่ายประจำ

    ร้อยละ/...

    ร้อยละ/จัดสรร

2,520.329.09

91

1,628,075.2147

64.60

1,154,574.1141

45.81

70.92

1,080,644.4803

42.88

66.38

-73,929.6339

-2.93

-4.54

รายจ่ายลงทุน

    ร้อยละ/...

    ร้อยละ/จัดสรร

664,670.90

09

593,748.7056

89.33

234,818.1127

35.33

39.55

323,667.8650

48.70

54.51

88,849.7523

13.37

14.96

 

                  4.2 สรุปรายการผูกพันใหม่ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่มีวงเงินทั้งสิ้นเกิน 1,000 ล้านบาท ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 โดยในภาพรวมรายการผูกพันใหม่ฯ จำนวน 32 รายการ วงเงิน 84,051.5874 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินงบประมาณ (พ.ศ. 2566 - 2571) จำนวน 73,122.5708 ล้านบาท เงินนอกงบประมาณ จำนวน 7,556 ล้านบาท และเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด ร้อยละ 5 จำนวน 3,373.0166 ล้านบาท

          5. รับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ภายใต้ กตน. โดยดำเนินการขยายผลการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามนโยบายตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีใน 2 เรื่องหลัก ดังนี้

                  5.1 การส่งเสริมการนำไทยสู่เมืองหลวงสุขภาพโลก ได้ประชาสัมพันธ์นโยบาย Medical Hub หรือการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ประเทศไทยเป็นจุดหมายสำคัญด้านการท่องเที่ยวที่มีความพร้อมทุกด้านสำหรับชาวต่างชาติ โดย Medical Tourism Association โดยในปี 2564 ได้จัดอันดับให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยติดอันดับ 5 ของโลก เนื่องจากแพทย์ไทยมีศักยภาพ มาตรฐานการรักษาอยู่ในระดับสากล ค่ารักษาพยาบาลสมเหตุสมผลและค่าครองชีพไม่สูงมากเหมาะแก่การพักฟื้นในระยะยาว นอกจากนี้ เรื่อง Wellness ทั้งการนวดไทย สปา ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เป็นซอฟต์เพาเวอร์ที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวและรายได้เข้าประเทศและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์มียอดเข้าถึง 4.42 ล้านคน Like 53,547 ครั้ง Share 19,487 ครั้ง

                  5.2 การเยียวยาและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้มีการตั้งศูนย์บัญชาการจัดการน้ำท่วม (ส่วนหน้า) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ชัยนาท หนองบัวลำภู สงขลา จันทบุรี สุราษฎร์ธานี และกาญจนบุรี เพื่อสื่อสารข้อมูลสู่ประชาชนหลังจากที่สถานการณ์คลี่คลายได้ประชาสัมพันธ์มาตรการช่วยเหลือและการเยียวยาจากภาครัฐ เช่น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร พืชไร่ ปศุสัตว์ ประมง การลดหย่อนภาษี การยกเว้นภาษีสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อบริจาคให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ขยายกำหนดเวลายื่นงบฯ รายเดือนสำหรับผู้ประกอบการในพื้นที่ประกาศเขตอุทกภัย และมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินของรัฐต่างๆ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินกว่า 6,258 ล้านบาท ช่วยผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2565 ในอัตรา 5,000 บาท 7,000 บาท และ 9,000 บาท/ครัวเรือน ตามกรณี พร้อมอธิบายหลักเกณฑ์ วิธีการขอรับเงินการช่วยเหลือเยียวยาอุทกภัย โดยมียอดเข้าถึงทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเด็นดังกล่าว 90.20 ล้านคน Like 39.85 ล้านครั้ง Share 1.17 ล้านครั้ง

_____________________

จากการประสานงานภายใน กตน. แจ้งว่า

1 บริษัทที่รับผิดชอบไม่สามารถดำเนินงานตามแผนได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งบนเครื่องแม่ข่ายของ สศก.

2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความสมบูรณ์ โดยคาดว่าสามารถส่งมอบได้ภายในเดือนมิถุนายน 2566

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 11 เมษายน 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A4419

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!