WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023

GOV 23

การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอดังนี้

          1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับ แก้ถ้อยคำในร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ สทนช. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

          2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีเสนอการปรับแก้ถ้อยคำในร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 ตามข้อคิดเห็นของกรมสนธิสัญญาและกฎหมายในการประชุมรัฐมนตรีในกรณีที่มีความจำเป็น

          3. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม สุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 เป็นผู้รับรองปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          สทนช. รายงานว่า

          1. ราชอาณาจักรไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา สปป.ลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ร่วมลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 (1995 Mekong Agreement) เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2538 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การใช้ การอนุรักษ์ การจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องของลุ่มแม่น้ำโขงในลักษณะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก โดยมีสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเป็นประเทศคู่เจรจา พร้อมทั้งจัดตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission : MRC) ให้มีสถานภาพเป็นองค์การระหว่างประเทศ (International Body)

          2. การดำเนินการของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงที่ผ่านมาได้มีการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

 

การประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขง

 

ผลลัพธ์ของการดำเนินการ

ครั้งที่ 1 (5 เมษายน 2553) อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

ผู้นำประเทศสมาชิกได้ร่วมกันรับรองปฏิญญาหัวหิน .. 2010 โดยมีแนวคิดหลัก คือ การบรรลุความต้องการและรักษาสมดุลในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน

ครั้งที่ 2 (5 เมษายน 2557) นครโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

 

ผู้นำประเทศสมาชิกได้ร่วมกันรับรองปฏิญญานครโฮจิมินห์ .. 2014 โดยมีแนวคิดหลัก คือ ความร่วมมือในการบริหารจัดการลุ่มน้ำข้ามพรมแดนเพื่อความมั่นคงด้านน้ำ พลังงานและอาหารของลุ่มน้ำโขงภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ครั้งที่ 3 (5 เมษายน 2561) เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา

 

ผู้นำประเทศสมาชิกได้ร่วมกันรับรองปฏิญญาเสียมราฐ .. 2018 โดยมีแนวคิดหลัก คือ การเพิ่มพูนความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนของประเทศสมาชิก ในการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของลุ่มแม่น้ำโขง

 

          3. การประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 5 เมษายน 2566 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยรัฐบาล สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม และได้เรียนเชิญนายกรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิกและประเทศคู่เจรจา (จีนและเมียนมา) เข้าร่วมการประชุมฯ และจะร่วมกันรับรองร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 ในวันที่ 5 เมษายน 2566 โดยร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในการมุ่งเน้นการดำเนินงานตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 มีแนวคิดหลัก คือ นวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อความมั่นคงด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง

          ทั้งนี้ สทนช. แจ้งว่า คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) มีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) พิจารณษแล้วเห็นว่า ร่างปฏิญญาฯ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตร 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 4 เมษายน 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A4141

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!