WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566

GOV 3

 

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ดังนี้

 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สคทช. รายงานว่า คทช. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ได้มีมติรับทราบและพิจารณาผลการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

 

เรื่อง

 

ความเห็นที่ประชุม/มติ คทช.

1. เรื่องเพื่อทราบ จำนวน 1 เรื่อง

        ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. และคณะอนุกรรมการภายใต้ คทช. ดังนี้

        1.1 ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. เช่น (1) ภาพรวมผลการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ปีงบประมาณ .. 2558-2565 พื้นที่เป้าหมาย 1,491 พื้นที่ 70 จังหวัด เนื้อที่ 5.79 ล้านไร่ ใน 9 ประเภทที่ดิน เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ (663 พื้นที่ เนื้อที่ 3.98 ล้านไร่) ป่าไม้ถาวร (2 พื้นที่ เนื้อที่ 1.15 เเสนไร่) และป่าชายเลน (577 พื้นที่ เนื้อที่ 26,217 ไร่) ทั้งนี้ ได้จัดคนเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้ว 78,109 ราย 96,536 แปลง เนื้อที่ 5.29 แสนไร่ ใน 354 พื้นที่ (2) การดำเนินงานภายใต้แผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม กิจกรรม ปฏิรูปประเทศที่ 5 (Big Rock) การสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน โดย สคทช. ได้ดำเนินโครงการจัดทำแนวทางการสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน ในงบปีประมาณ .. 2565 โดยมีข้อเสนอแนวทางการสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน ดังนี้ 1) การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบในการจัดที่ดินเพื่อลดข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยน/จำหน่ายจ่ายโอนและเพื่อลดข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเพื่อลดข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) การกำหนดแนวทางการประเมินมูลค่าที่ดินและทรัพย์สินที่รัฐจัดให้กับประชาชนและ 3) การจัดให้มีระบบหรือสถาบันที่ให้สินเชื่อระยะกลางและระยะยาวให้แก่ประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินของรัฐ และจัดให้มีระบบบประกันความเสี่ยงในการอำนวยสินเชื่อ ทั้งนี้ สคทช. จะได้นำแนวทางดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการนโยบาย แนวทาง และมาตรการการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน และ คทช. พิจารณา ตามลำดับต่อไปและ (3) การขอให้พื้นที่อาคารราชพัสดุเป็นที่ตั้งของ สคทช. ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจ้างออกแบบแก้ไขปรับปรุงอาคารโดยจะขอรับการสนับสนุนงบกลางเพื่อดำเนินการปรับปรุงอาคารต่อไป

        1.2 ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการภายใต้ คทช. เช่น (1) คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน ปีงบประมาณ .. 2565 ได้เห็นชอบให้นำพื้นที่ไปดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน 2 พื้นที่ ใน 2 จังหวัด เนื้อที่ 4,583 ไร่ (2) คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน ปีงบประมาณ .. 2566 ได้ส่งข้อมูลให้คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดดำเนินการจัดราษฎรเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในพื้นที่เป้าหมาย 1,981 แปลง 1,656 ราย เนื้อที่ 6,687 ไร่ ใน 16 พื้นที่ 7 จังหวัด และ (3) คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) และแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ ปีงบประมาณ .. 2566 ได้ดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นครสวรรค์ ระยอง (ยกเว้น กรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด) ลพบุรี ศรีสะเกษ และสระบุรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 [เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตรส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด] เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ 10 ข้อ และให้นำไปใช้กับทุกกลุ่มจังหวัด เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเดียวกัน

 

มติ คทช.: รับทราบผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. และคณะอนุกรรมการ ภายใต้ คทช.

2. เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน 2 เรื่อง

        2.1 การดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 มีมติเห็นชอบ ดังนี้

                (1) ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) พื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สระแก้ว สุรินทร์ อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ และเลย (ยกเว้นกรณีแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี) และให้นำเสนอ คทช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

                (2) ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ดินของรัฐ กรณีการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) อาจมีผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัดดังกล่าว โดยให้ถือเป็นส่วนประกอบของแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 [เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด]

                (3) แนวทางการแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี (กรณีเร่งด่วน) ดังนี้

                (3.1) กรณีอุทยานแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน [ซึ่งกรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (...) ดำเนินการ] ให้ยึดเส้นแนวเขตของ ... ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ข้อ 5.11 และ 6.12 โดยอยู่ในอำนาจของคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ให้นำเรื่องเสนอ คทช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

                (3.2) กรณีพื้นที่นอกแนวเขตที่กรมป่าไม้ส่งมอบให้ ... ดำเนินการ (แต่อยู่ภายในเขตเส้นปรับปรุงปี 2543) ให้นำข้อเสนอของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2 แนวทาง คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียเสนอคณะอนุกรรมการนโยบาย แนวทาง และมาตรการการบริหารจัดการที่ดินฯ ของ คทช. เพื่อพิจารณากำหนดนโยบายว่าพื้นที่ดังกล่าว ควรใช้แนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมอย่างไร ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 [เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1: 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด] เสนอ คทช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วแจ้งให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ทราบต่อไป

 

มติ คทช.: 

1. เห็นชอบต่อผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ในพื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด ดังกล่าว และมอบหมายให้ สคทช. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป [คณะรัฐมนตรีมีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) เห็นชอบแล้ว

ทั้งนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ดังกล่าว ซึ่งนำไปใช้กับทุกกลุ่ม จังหวัดเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน

2. เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี (กรณีเร่งด่วน) ดังนี้

        2.1 การดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของ รัฐฯ (One Map) กรณีอุทยานแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน (ซึ่งกรมป่าไม้ ส่งมอบพื้นที่ให้ ... ดำเนินการ) ให้ยึดเส้นแนวเขตของ ... ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) และให้ สคทช. นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป [คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 มีนาคม 2566) เห็นชอบแล้ว

        2.2 มอบหมายให้คณะอนุกรรมการนโยบาย แนวทาง และมาตรการการบริหารจัดการที่ดินฯ รับเรื่องไปพิจารณากรณีพื้นที่นอกแนวเขตที่กรมป่าไม้ส่งมอบให้ ... ดำเนินการ (แต่อยู่ภายในเขตเส้นปรับปรุงปี 2543) ว่าควรใช้แนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมอย่างไร และนำเรื่องเสนอ คทช. พิจารณา ผลเป็นประการใดให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป [คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 มีนาคม 2566) เห็นชอบแล้ว] แล้วแจ้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ทราบและพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

        2.2 การแก้ไขปัญหาข้อพิพาท กรณีป่าสงวนแห่งชาติ ป่าพระแท่นดงรัง ในพื้นที่ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีทับซ้อนกับวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร โดยมีประเด็นข้อกฎหมาย 4 ประเด็น ดังนี้

                (1) การกำหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ จะประกาศกำหนดโดยทับซ้อนพื้นที่เดียวกันกับเขตโบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน ได้หรือไม่

                (2) การประกาศกำหนดเขตโบราณสถานของกรมศิลปากรตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน จะเป็นผลให้วัดพระแท่นดงรังฯ มีสิทธิครอบครองในที่ดินตามพื้นที่ที่กรมศิลปากรได้ประกาศกำหนดหรือไม่ เพียงใด

                (3) ตามบทกฎหมายและเอกสารของทางราชการเท่าที่ปรากฏในขณะนี้ (ทั้งของทางราชการและของวัดพระแท่นดงรังฯ) มีกฎหมายเเละเอกสารใดบ้างที่แสดงให้เห็นว่าวัดมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองในที่ดินและถ้ามีเอกสารเช่นนั้น สิทธิของวัดดังกล่าวมีอยู่เพียงใดและตั้งแต่เมื่อใด

                (4) คำพิพากษาเกี่ยวกับการโต้แย้งสิทธิในที่ดินในคดีระหว่าง วัดพระแท่นดงรังฯ กับเอกชน จะนำมาใช้ยันกับทางราชการได้เพียงใดและในคำพิพากษาดังกล่าว มีข้อเท็จจริงใดบ้างที่แสดงให้เห็นว่าวัดมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ที่ใด

                คณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ได้พิจารณาแล้ว มีมติเห็นชอบตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ ดังนี้

                (1) เสนอให้กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติป่าพระแท่นดงรัง บางส่วน บริเวณที่ตั้งของวัดพระแท่นดงรังฯ โบสถ์ เขาถวายพระเพลิงรวมถึงบริเวณที่โรงเรียนขอใช้พื้นที่จากวัดพระแท่นดงรังฯ จัดตั้งโรงเรียน เนื้อที่ประมาณ 193 ไร่ ตามแนวทางที่กรมป่าไม้ได้เคยดำเนินการไว้แล้ว โดยให้ระบุหมายเหตุ แนบท้ายกฎกระทรวงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ให้มีข้อความไปถึงว่า เพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว เพื่อให้เป็นอาณาเขตของวัดพระแท่นดงรังฯ และเป็นที่ธรณีสงฆ์

                (2) ทั้งนี้ หากภายภาคหน้า วัดพระแท่นดงรังฯ มีเอกสารหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่จะขอออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินในบริเวณนอกเหนือจากพื้นที่ 193 ไร่ ก็สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อยื่นขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินได้ต่อไป โดยมติที่ประชุมในเรื่องนี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ได้รับรองในการประชุมด้วยแล้ว

 

มติ คทช.: เห็นชอบการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท กรณีป่าสงวนแห่งชาติป่าพระแท่นดงรังในพื้นที่ ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

ทับซ้อนกับวัดพระแท่นดงรังฯ

โดยให้กรมป่าไม้เพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติป่าพระแท่นดงรังบางส่วนเนื้อที่ประมาณ 193 ไร่ เพื่อให้เป็นอาณาเขตของวัดพระแท่นดงรังฯ และเป็นที่ธรณีสงฆ์ และมอบหมายให้ ทส. โดยกรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากภายภาคหน้าวัดพระแท่นดงรังฯ มีเอกสารหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่จะขอออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินก็สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อยื่นขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินได้ต่อไป

3. เรื่องอื่นๆ เรื่อง ติดตามผลการแก้ไขปัญหากลุ่มราษฎรร้องขอที่ดินทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

        3.1 จังหวัดสุพรรณบุรีขอหารือกรณีกลุ่มราษฎรผู้เดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกินเรียกร้องที่ทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำและป่าเขาห้วยพลู ท้องที่ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อที่ 557 ไร่ โดยกลุ่มราษฎรฯ ขอให้พิจารณาจัดที่ดินให้กลุ่มทั้งกลุ่มเนื่องจากว่าเป็นผู้เรียกร้องที่ดินทำกินที่มาลงทะเบียนผู้ยากไร้ไม่มีที่ดินทำกินเป็นกลุ่มแรก

        3.2 พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำ และป่าเขาห้วยพลูได้กำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายการจัดที่ดินทำกินป่าสงวนแห่งชาติแปลงว่าง (การจัดระบบการใช้ประโยชน์) กรมป่าไม้ได้อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (แบบ .. 23-1) เล่มที่ 16 ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 เมษายน 2565 โดยกระบวนการจัดที่ดินในป่าสงวนแห่งชาติแปลงว่างกำหนดประเภทของผู้ที่ได้รับการจัดที่ดินจะพิจารณาจากผู้ที่ถูกผลักดันและอพยพโยกย้ายออกจากพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามโครงการของทางราชการที่สูญเสียที่ดินทำกิน และผู้ที่ไร้ที่ดินทำกินที่ขอรับการจัดที่ดินที่มีถิ่นที่อยู่ในท้องที่ที่จะจัดที่ดิน (พิจารณาจากหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หากมีพื้นที่เหลือจึงจะจัดให้ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในท้องที่ใกล้เคียงอื่นต่อไป และได้ขึ้นทะเบียนไว้กับทางราชการ) ตามลำดับ

 

มติ คทช.: มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ดินของรัฐพิจารณานำเสนอที่ดินของรัฐแปลงว่างที่หมดอายุสัมปทานและไม่มีแผนการดำเนินงานในพื้นที่เสนอเป็นพื้นที่เป้าหมายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนต่อไป

 

__________________

1 หลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ข้อ 5.1 หมายถึง กรณีป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดินให้ใช้แนวเขตตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินที่มีแผนงานดำเนินการแล้วเป็นหลัก และอยู่ในเขตพื้นที่ที่กรมป่าไม้ส่งมอบให้ ส.ป.ก. กรณีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินทั้งตำบล/อำเภอ ให้ใช้แนวเขตปฏิรูปที่ดินตามแผนที่ที่กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้ ส.ป.ก. รวมทั้งพื้นที่ที่ ส.ป.ก. กันคืน (RF) ตามบันทึกข้อตกลงเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 

2 หลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ข้อ 6.1 หมายถึง กรณีกรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินก่อนการกำหนดให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ให้ใช้แนวเขตปฏิรูปที่ดินเป็นหลัก เว้นแต่เป็นพื้นที่ที่ไม่สมควรนำไปปฏิรูปที่ดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 (เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ในเขตเศรษฐกิจที่เสื่อมโทรม) ให้ใช้แนวเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นหลัก

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 มีนาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A3923

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!