สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี 9 ธันวาคม 2557
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 10 December 2014 22:51
- Hits: 4620
สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี 9 ธันวาคม 2557
วันนี้ (9 ธันวาคม 2557) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีย้อมสังเคราะห์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... จำนวน 5 ฉบับ
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. ....
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของส่วนราชการในกระทรวงวัฒนธรรมรวม 5 ฉบับ
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของส่วนราชการในกระทรวงมหาดไทยฯ รวม 3 ฉบับ
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ....
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ....
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ....
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเฮมพ์ (Hemp) พ.ศ. ....
ทหาร และเครื่องแบบผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหาร พ.ศ. 2521
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหาร และเครื่องแบบผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหาร พ.ศ. 2521
10. เรื่อง ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมเจ้าท่า พ.ศ. ….
11. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องหมายและวิธีการแสดงเครื่องหมายบ่งชี้ข้อมูล สำหรับรถที่จดทะเบียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ….
12. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในสถานประกอบการ และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ รวม 2 ฉบับ
เศรษฐกิจ – สังคม
13. เรื่อง การปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการ
14. เรื่อง การยกระดับรายได้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
15. เรื่อง การบูรณาการแผนงาน / โครงการในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่จังหวัด (Area Based)
16. เรื่อง การออกพันธบัตรออมทรัพย์โดยกระทรวงการคลังและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อนักลงทุนรายย่อย
17. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เรื่อง การแก้ไขปัญหายางพาราตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 (โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง)
18. เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
19. เรื่อง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
20.เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (GCC 1111) ประจำปีงบประมาณ 2557
21. เรื่อง มาตรการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อย(Effective rate) ไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี
ต่างประเทศ
22. เรื่อง การจัดงานรำลึกครบรอบ 10 ปีเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย
23. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษว่าด้วยการเตรียมพร้อม และรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
24. เรื่อง ร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีในการประชุม 2014 ASEAN-ROK Special Ministerial Meeting on Forestry ณ นครปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี
25. เรื่อง รายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องของมหาสมุทร ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
26. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน –สาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของความสัมพันธ์คู่เจรจาอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ว่าด้วยวิสัยทัศน์ในอนาคตของหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี’สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองและความสุข’ สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน –สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ
แต่งตั้ง
27. เรื่อง คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (จำนวน 9 ส่วนราชการ)
28. เรื่อง การแต่งตั้งผู้ที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมายประจำ(นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) (สำนักนายกรัฐมนตรี)
29. เรื่อง การแต่งตั้งกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่น
30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)
31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวง วัฒนธรรม)
33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
34. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
35. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
36. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสินเพิ่มเติม
37. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค (เพิ่มเติม)
38. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการประปานครหลวง (เพิ่มเติม)
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีย้อมสังเคราะห์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... จำนวน 5 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีการรวม 5 ฉบับ ประกอบด้วย
1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีย้อมสังเคราะห์ : สีไดเร็กต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีย้อมสังเคราะห์ : สีรีแอกทีฟ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
3. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีย้อมสังเคราะห์ :
สีแวต ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
4. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีย้อมสังเคราะห์ : สีซัลเฟอร์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ... และ
5. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีย้อมสังเคราะห์ : สีแอซิด ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอและให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1. กำหนดให้พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 270 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีย้อมสังเคราะห์สีไดเร็กต์ สีรีแอกทีฟ สีแวต สีซัลเฟอร์ และสีแอซิดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กฎกระทรวงเดิม ร่างกฎกระทรวงใหม่
1.กองกลาง 1.สำนักงานเลขานุการกรม
2.กองพุทธศาสนศึกษา 2.กองพุทธศาสนศึกษา
3.กองพุทธศาสนสถาน 3.กองพุทธศาสนสถาน
4.สำนักงานพุทธมณฑล 4.สำนักงานพุทธมณฑล
5.สำนักงานศาสนสมบัติ 5.สำนักงานศาสนสมบัติ
6.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม 6.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
7.กลุ่มตรวจสอบภายใน 7.กลุ่มตรวจสอบภายใน
8.กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 8.กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
9.ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต 9.ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
10.กองส่งเสริมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของส่วนราชการในกระทรวงวัฒนธรรม รวม 5 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงรวม 5 ฉบับ ประกอบด้วย
1. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ....
2. ร่างกฎหมายแบ่งส่วนราชการกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ....
3. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ฉบับ ..) พ.ศ. ....
4. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. .... และ
5. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้ส่งร่างกฎกระทรวงทั้ง 5 ฉบับดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
การแบ่งส่วนราชการเดิม การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง
1. กลุ่มตรวจสอบภายใน 1. กลุ่มตรวจสอบภายใน
2. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 2. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
3. สำนักบริหารกลาง 3. กองกลาง
4. กองกฎหมาย
4. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5. สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ 6. สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
6. สำนักตรวจและประเมินผล 7. สำนักตรวจและประเมินผล
7. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ 8. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
8. สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม 9. สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
9. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด 10. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
1. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ....
2. ร่างกฎหมายแบ่งส่วนราชการกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ....
การแบ่งส่วนราชการเดิม การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
(จัดตั้งขึ้นเป็นการภายใน) 1. กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
(จัดตั้งขึ้นเป็นการภายใน) 2. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
1. สำนักงานเลขานุการกรม 3. สำนักงานเลขานุการกรม
2. กองศาสนูปถัมภ์ 4. กองศาสนูปถัมภ์
5. กองส่งเสริมกิจการฮัจย์
3. สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 6. สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
3. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ฉบับ ..) พ.ศ. ....
การแบ่งส่วนราชการเดิม การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง
1. กลุ่มตรวจสอบภายใน 1. กลุ่มตรวจสอบภายใน
2. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 2. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
3. สำนักบริหารกลาง 3. สำนักบริหารกลาง
4. สำนักโบราณคดี 4. กองโบราณคดี
5. กองโบราณคดีใต้น้ำ
- งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม
5. สำนักการสังคีต 7. สำนักการสังคีต
6. สำนักช่างสิบหมู่ 8. สำนักช่างสิบหมู่
7. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 9. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
8. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ 10. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
9. สำนักศิลปกรที่ 1 - 15 11. สำนักศิลปกรที่ 1 - 15
10. สำนักสถาปัตยกรรม 12. สำนักสถาปัตยกรรม
11. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ 13. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
12. สำนักหอสมุดแห่งชาติ 14. สำนักหอสมุดแห่งชาติ
4. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ....
การแบ่งส่วนราชการเดิม การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง
1. กลุ่มตรวจสอบภายใน 1. กลุ่มตรวจสอบภายใน
2. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 2. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
3. กองกลาง 3. สำนักงานเลขานุการกรม
4. กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม 4. กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
5. สำนักส่งเสริมเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม 5. กองกิจการเครือข่ายทางวัฒนธรรม
6. สถาบันวัฒนธรรมศึกษา 6. สถาบันวัฒนธรรมศึกษา
7. สำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 7. สำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์
5. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ....
การแบ่งส่วนราชการเดิม การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
(จัดตั้งขึ้นเป็นการภายใน) 1. กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
(จัดตั้งขึ้นเป็นการภายใน) 2. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
1. กองกลาง 3. สำนักงานเลขานุการกรม
2. ศูนย์เครือข่ายสัมพันธ์และแหล่งทุน 4. ศูนย์เครือข่ายสัมพันธ์และแหล่งทุน
3. ศูนย์หอศิลป์ 5. ศูนย์หอศิลป์
4. สถาบันศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 6. สถาบันศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของส่วนราชการในกระทรวงมหาดไทยฯ รวม 3 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงรวม 3 ฉบับ ประกอบด้วย
1. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ....
2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ....
3. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้สำนักเลขาธิการธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ....
กฎกระทรวงปัจจุบัน ร่างกฎกระทรวงใหม่
ก. ราชการบริหารส่วนกลาง
1. สำนักงานเลขานุการกรม
2. กองการเจ้าหน้าที่
3. กองการพิมพ์
4. กองคลัง
5. กองแผนงาน
6. กองฝึกอบรม
7. กองพัสดุ
8. สำนักกฎหมาย
9. สำนักงานคณะกรรมการช่างรังวัดเอกชน
10. สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร
11. สำนักจัดการที่ดินของรัฐ
12. สำนักเทคโนโลยีทำแผนที่
13. สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
14. สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน
15. สำนักมาตรฐานการออกหนังสือสำคัญ
16. สำนักมาตรฐานและส่งเสริมการรังวัด
17. สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
1. สำนักงานที่ดินจังหวัด
2. สำนักงานที่ดินอำเภอ ก. ราชการบริหารส่วนกลาง
1. สำนักงานเลขานุการกรม
2. กองการเจ้าหน้าที่
3. กองการพิมพ์
4. กองคลัง
5. กองแผนงาน
6. กองฝึกอบรม
7. กองพัสดุ
8. สำนักกฎหมาย
9. สำนักงานคณะกรรมการช่างรังวัดเอกชน
10. สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร
11. สำนักจัดการที่ดินของรัฐ
12. กองเทคโนโลยีทำแผนที่
13. สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
14. สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน
15. สำนักมาตรฐานการออกหนังสือสำคัญ
16. สำนักมาตรฐานและส่งเสริมการรังวัด
17. สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
18. ศูนย์ข้อมูลแผนที่รูปแปลงที่ดิน
ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
1. สำนักงานที่ดินจังหวัด
2. สำนักงานที่ดินอำเภอ
2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ....
กฎกระทรวงปัจจุบัน ร่างกฎกระทรวงใหม่
ก. ราชการบริหารส่วนกลาง
1. สำนักงานเลขานุการกรม
2. กองการเจ้าหน้าที่
3. กองคลัง
4. ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เขต 1 - 12
5. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย
6. สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย
7. สำนักนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
8. สำนักมาตรการป้องกันสาธารณภัย
9. สำนักส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย
ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ก.ราชการบริหารส่วนกลาง
1. สำนักงานเลขานุการกรม
2. กองการเจ้าหน้าที่
3. กองคลัง
4. ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 - 12
5. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย
6. สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย
7. กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
8. กองมาตรการป้องกันสาธารณภัย
9. กองส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย
10. กองกฎหมาย
11. กองบูรณาการความปลดดภัยทางถนน
12. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
13. สถาบันพัฒนาบุคคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
3. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ....
กฎกระทรวงปัจจุบัน ร่างกฎกระทรวงใหม่
ก. ราชการบริหารส่วนกลาง
1. สำนักงานเลขานุการกรม
2. กองการเจ้าหน้าที่
3. กองคลัง
4. กองแผนงาน
5. กองเผยแพรและประชาสัมพันธ์
6. กองนิติการ
7. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
8. สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
9. สำนักควบคุมการก่อสร้าง
10. สำนักผังประเทศและผังภาค
11. สำนักผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ
12. สำนักพัฒนามาตรฐาน
13. สำนักวิศวกรรมการผังเมือง
14. สำนักวิศวกรรมโครงสร้างและงานระบบ
15. สำนักสถาปัตยกรรม
16. สำนักสนับสนุนและพัฒนาตามผังเมือง
17. สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร
ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ก. ราชการบริหารส่วนกลาง
1. สำนักงานเลขานุการกรม
2. กองการเจ้าหน้าที่
3. กองคลัง
4. กองแผนงาน
5. กองเผยแพรและประชาสัมพันธ์
6. กองนิติการ
7. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
8. สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
9. กองควบคุมการก่อสร้าง
10. สำนักผังประเทศและผังภาค
11. สำนักผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ
12. สำนักพัฒนามาตรฐาน
13. สำนักวิศวกรรมการผังเมือง
14. สำนักวิศวกรรมโครงสร้างและงานระบบ
15. สำนักสถาปัตยกรรม
16. สำนักสนับสนุนและพัฒนาตามผังเมือง
17. สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร
18. กองวิเคราะห์วิจัยและทดสอบวัสดุ
19. กองออกแบบก่อสร้างพลับพลาพิธี และโครงการพิเศษ
ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สธ. เสนอว่า เดิมการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการดำเนินการต่าง ๆ จึงต้องบังคับตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2545 แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2556 ได้ยกเลิกบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยได้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 แทน จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. .... เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์ไทยฯ ดังกล่าว และมีอัตราที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ค่าครองชีพมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
สำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2545 ร่างกฎกระทรวงฯ
ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(1) ค่าขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
(ก) สาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ฉบับละ 500 บาท
ฯลฯให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(1) ค่าขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ฉบับละ 1,000 บาท
(2) ค่าต่ออายุใบอนุญาต ฉบับละ 200 บาท (2) ค่าต่ออายุใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท
(4) ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ และหนังสือรับรองอย่างอื่น ฉบับละ 100 บาท (3) ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ฉบับละ 200 บาท
(6) ค่าหนังสืออนุมัติให้แสดงว่าเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบโรคศิลปะ ฉบับละ 500 บาท (4) ค่าหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ฉบับละ 1,000 บาท
(7) ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับ 200 บาท (5) ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรม พ.ศ. ..... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1. กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวง (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537
2. ปรับปรุงแก้ไขค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
ค่าธรรมเนียม อัตราตามกฎกระทรวงเดิม
ฉบับละ/บาท อัตราที่ขอปรับปรุง
ฉบับละ/บาท
ค่าขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 1,500 5,000
ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 150 200
ค่าหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตร
แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 1,000 2,000
ค่าใบแทนใบอนุญาต 150 500
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สธ.เสนอว่า
1. เนื่องจากพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556 ได้กำหนดสาขาการประกอบโรคศิลปะเป็น 7 สาขา วิชาชีพ คือ สาขากิจกรรมบำบัด สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก สาขารังสีเทคนิค สาขาจิตวิทยาคลินิก สาขากายอุปกรณ์ และสาขาการแพทย์แผนจีน ประกอบกับการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ได้มีการยกเลิกและนำไปบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว
2. สธ. ได้ตรวจสอบกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พบว่ากฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2545 ยังไม่มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556 จึงได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบการโรคศิลปะ พ.ศ. ....
3. คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2557 วันที่ 22 มกราคม 2557 ได้มีมติรับรองร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. .... แล้ว
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1 มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2545
2. กำหนดค่าธรรมเนียม มีดังนี้
ค่าธรรมเนียม อัตราตามกฎกระทรวงเดิม อัตราที่ขอปรับปรุง
ฉบับละ/บาท ฉบับละ/บาท
- ค่าขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
(ก) สาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (เดิม) 500 -
(ข) สาขากายภาพบำบัด สาขาเทคนิคการแพทย์และสาขาอื่น (เดิม) 1,000 -
(ก) สาขากิจกรรมบำบัด 1,000
(ข) สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย 1,000
(ค) สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก 1,000
(ง) สาขารังสีเทคนิค 1,000
(จ) สาขาจิตวิทยาคลินิก 1,000
(ฉ) สาขากายอุปกรณ์ 1,000
(ช) สาขาการแพทย์แผนจีน 1,000
(ซ) สาขาอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 1,000
- ค่าต่ออายุใบอนุญาต 200 500
- ค่าแก้ไขหรือเพิ่มเติมทะเบียนและใบอนุญาต 100 300
- ค่าหนังสือรับรอง
(ก) หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ 100 500
(ข) หนังสือรับรองอย่างอื่น 100 500
- ค่าสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ดังต่อไปนี้
(ก) สาขาแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (เดิม)
(ข) สาขากายภาพบำบัด สาขาเทคนิคการแพทย์และสาขาอื่น (เดิม) 500 -
(ก) สาขากิจกรรมบำบัด 1,000 -
(ข) สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย 1,000
(ค) สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก 1,000
(ง) สาขารังสีเทคนิค 1,000
(จ) สาขาจิตวิทยาคลินิก 1,000
(ฉ) สาขากายอุปกรณ์ 1,000
(ช) สาขาการแพทย์แผนจีน 1,000
(ซ) สาขาอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 1,000
- ค่าหนังสืออนุมัติให้แสดงว่าเป็นผู้มีความชำนาญในการประกอบโรคศิลปะ 1,000
- ค่าใบแทนใบอนุญาต 500 1,000
- ค่าแปลใบอนุญาตของผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นภาษาต่างประเทศ 200 300
- ค่าคำร้องต่าง ๆ 300 500
20 50
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเฮมพ์ (Hemp) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเฮมพ์ (Hemp) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สธ. เสนอว่า
1. เฮมพ์เป็นชนิดย่อยของกัญชา จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยมีสารสำคัญ คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol,THC) ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และมีลักษณะทางกายภาพคล้ายกับกัญชามากจนยากในการจำแนก ขณะเดียวกันเฮมพ์เป็นพืชที่สามารถนำมาแปรรูปและใช้ประโยชน์เชิงอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ เช่น สิ่งทอ กระดาษ ผลินภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น สำหรับประเทศไทยมีการปลูกเฮมพ์เพื่อนำเส้นใยมาใช้ในการทอผ้าเพื่อเป็นเครื่องนุ่งห่ม และปัจจุบันมีการสนับสนุนให้มีการศึกษาและส่งเสริมให้ปลูกเฮมพ์เพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน และอนาคตจะส่งเสริมให้ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจและนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น
2. เดิมการขออนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฮมพ์ต้องดำเนินการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่เนื่องจากกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การควบคุม และการกำกับดูแลการปลูกเฮมพ์เป็นการเฉพาะ ดังนั้น เพื่อให้สามารถส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ เป็นพืชเศรษฐกิจได้ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินการที่เข้มงวดรัดกุม มิให้มีการรั่วไหลไปใช้ในทางที่ผิด จึงจำเป็นต้องดำเนินการออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การควบคุม และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวกับเฮมพ์เป็นการเฉพาะ ซึ่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษแล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดวัตถุประสงค์ในการขอรับใบอนุญาตผลิต จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งเฮมพ์ และคุณสมบัติของผู้รับในอนุญาต
2. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการเพิกถอนใบอนุญาต และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแลการดำเนินการของผู้ได้รับอนุญาต ตลอดจนการสั่งอายัดหรือห้ามเคลื่อนย้ายเฮมพ์
3. กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติในการผลิตจำหน่าย และการเก็บรักษาเฮมพ์ การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเตตราไฮโดรแคนนาบินอล
4. กำหนดบทเฉพาะกาลให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งเฮมพ์ตามกฎกระทรวงนี้ เป็นระยะเวลา 3 ปีนับจากวันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ และให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษพิจารณาความเหมาะสมในการอนุญาตให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นมายื่นขอรับในอนุญาต หากพิจารณาแล้วยังไม่อนุญาตให้เสนอรัฐมนตรีหรือพิจารณาขยายระยะเวลาของบทเฉพาะกาลนี้ไปอีก 2 ปี
5. กำหนดบทเฉพาะกาลให้ในระหว่างที่ยังไม่สามารถจัดหาเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการจดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืช และมีผลการตรวจวิเคราะห์แสดงปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล ไม่เกินปริมาณตามที่กำหนด
6. กำหนดบทเฉพาะกาลให้ใบอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งเฮมพ์ที่ออกให้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหาร และเครื่องแบบผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหาร พ.ศ. 2521
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหาร และเครื่องแบบผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหาร พ.ศ. 2521 ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กห. เสนอว่า เนื่องจากเครื่องแบบฝึกนักศึกษาวิชาทหารและเครื่องแบบฝึกผู้กำกับการนักศึกษาวิชาทหารที่ใช้ในปัจจุบันตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหารและเครื่องแบบผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหาร พ.ศ. 2521 ไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทย จึงกำหนดให้มีเครื่องแบบฝึกเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อสวมใส่เข้ารับการฝึกวิชาทหารหรือปฏิบัติหน้าที่ในภาคที่ตั้งและภาคสนามแล้ว จะสามารถช่วยระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังทำให้มีความคล่องตัวสง่างาม และมีลักษณะเป็นทหารมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักศึกษาวิชาทหารและผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหารเกิดความรักและความภาคภูมิใจใน การแต่งกายด้วยเครื่องแบบฝึกมากยิ่งขึ้น
สาระสำคัญของร่างกระทรวง
กำหนดให้มีเครื่องแบบฝึกศึกษาวิชาทหารและเครื่องแบบฝึกผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหารเพิ่มขึ้นอีก 1 ชนิด และเพิ่มเติมส่วนประกอบของเครื่องแบบนักศึกษาวิชาการทหารและเครื่องแบบผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหาร ดังนี้
1. เสื้อเครื่องแบบฝึกจากเดิมมี 1 ชนิด เปลี่ยนแปลงเป็นมี 2 ชนิด คือ เสื้อคอเปิดสีกากีแกมเขียวแบบฝึก ชนิด ก (ใช้ในปัจจุบัน) และชนิด ข (กำหนดเพิ่มขึ้น)
2. กางเกงเครื่องแบบฝึกจากเดิมมี 1 ชนิด เปลี่ยนแปลงเป็นมี 2 ชนิด คือ กางเกงขายาวสีกากี แกมเขียวแบบฝึก ชนิด ก (ใช้ในปัจจุบัน) และชนิด ข (กำหนดเพิ่มขึ้น)
3. ส่วนประกอบการแต่งเครื่องแบบของนักศึกษาวิชาทหารชาย และผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหารชาย เปลี่ยนจากเดิมใช้เสื้อยืดคอกลมแขนสั้น เป็นใช้เสื้อยืดคอแหลมแขนสั้น และนักศึกษาวิชาทหารหญิงและผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหารหญิง ใช้เสื้อยืดคอกลมแขนสั้นเท่านั้น
10. เรื่อง ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมเจ้าท่า พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมเจ้าท่า พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
คค. เสนอว่า
1. ในปัจจุบันข้าราชการกรมเจ้าท่าแต่งกายเครื่องแบบพิเศษตามกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี พ.ศ. 2549 ที่กำหนดให้ประดับเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูของเครื่องแบบพิเศษไว้ตามระดับมาตรฐานกลาง 11 ระดับ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
2. ต่อมาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ ได้ปรับปรุงระบบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นการจำแนกตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงาน 4 ประเภท ประกอบกับได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีเป็นกรมเจ้าท่า พ.ศ. 2552 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 260) กำหนดภาพเครื่องหมายราชการของกรมเจ้าท่าขึ้นใหม่ จึงสมควรยกเลิกกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี พ.ศ. 2549
สาระสำคัญของร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี
1. ให้ยกเลิกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี พ.ศ. 2549
2. กำหนดลักษณะ ชนิด และประเภทของเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมเจ้าท่ากับการแต่งเครื่องแบบ ให้สอดคล้องกับระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และการเปลี่ยนชื่อและเครื่องหมายราชการของกรมเจ้าท่า เช่น เครื่องหมายตำแหน่งบนกะบังหมวก ชื่อบนหน้าหมวก ชื่อและเครื่องหมายราชการบนหัวเข็มขัด และเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนู
11. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องหมายและวิธีการแสดงเครื่องหมายบ่งชี้ข้อมูลสำหรับรถที่จดทะเบียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องหมายและวิธีการแสดงเครื่องหมายบ่งชี้ข้อมูลสำหรับรถที่จดทะเบียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. กำหนดให้เครื่องหมายบ่งชี้ข้อมูลสำหรับรถ ต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งข้อมูลสำหรับรถตามที่อธิบดีกำหนดด้วยคลื่นวิทยุ เมื่อรถวิ่งผ่านเครื่องอ่านสัญญาณที่ใช้กับเครื่องหมายดังกล่าว
3. กำหนดให้รถที่จดทะเบียนในเขตจังหวัดสงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ต้องติดเครื่องหมายบ่งชี้ข้อมูลสำหรับรถ
4. กำหนดให้แบบเครื่องหมายบ่งชี้ข้อมูลสำหรับรถ วิธีการติดหรือแสดงเครื่องหมายบ่งชี้ข้อมูลสำหรับรถให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
12. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในสถานประกอบการ และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในสถานประกอบการ และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) เรื่อง กำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจาณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างประกาศ
1. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในสถานประกอบการ เป็นการกำหนดให้สถานที่หรือที่เก็บสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งใช้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ รวมถึงการรับฝากสิ่งของในกิจการขนส่งคนโดยสาร เว้นแต่สิ่งของดังกล่าวเป็นเครื่องเดินทางหรือสัมภาระติดตัวคนโดยสารเป็นสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
2. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) เรื่อง กำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
2.1 กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการขนส่งมีหน้าที่จัดให้มีการบันทึกรายละเอียดชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือหมายเลขหนังสือเดินทางของผู้ส่งหรือผู้ฝาก และให้จัดเก็บเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน นับแต่วันที่จัดทำบันทึก ในกรณีได้จัดทำใบกำกับของหรือใบตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ถือเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งของบันทึกด้วย
2.2 กำหนดให้ในกรณีที่พบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนในสินค้า พัสดุภัณฑ์หรือสิ่งของที่ขนส่งหรือรับฝาก ให้แจ้งเหตุโดยเร็ว และหากพบยาเสพติดให้ส่งบันทึกต่อเจ้าพนักงานภายใน 15 วัน นับแต่ได้ทราบถึงเหตุนั้น
2.3 กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการขนส่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษภัยหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
2.4 กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการขนส่งมีหน้าที่ปิดประกาศข้อความว่ายาเสพติดเป็นสิ่งของผิดกฎหมายและต้องห้ามในการขนส่งโดยเด็ดขาด ในบริเวณสถานประกอบการหรือที่เก็บสินค้า หรือพิมพ์หรือประทับข้อความดังกล่าวบนในกำกับของหรือใบตราส่ง
2.5 กำหนดให้ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการดังกล่าว ไม่ได้ปฏิบัติตามหนังสือตักเตือนที่ให้จัดทำบันทึกหรือป้ายประกาศดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้
เศรษฐกิจ – สังคม
13. เรื่อง การปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ สำนักงาน กพ. เสนอ ดังนี้
(1) การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ให้พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างวุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีค่าตอบแทนไม่ถึง 13,285 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 13,285 บาท และกรณีที่รวมกันแล้ว มีค่าตอบแทนไม่ถึง 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึง เดือนละ 10,000 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557
(2) ให้พนักงานราชการกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มร้อยละ 4 โดยให้มีผลใช้บังคับ 1 ธันวาคม 2557
(3) ปรับเพดานบัญชีค่าตอบแทนขั้นสูง กลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ร้อยละ 4 และให้มีผลใช้บังคับวันเดียวกับการปรับเพิ่มเพดานเงินเดือนขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ
สาระสำคัญของเรื่อง
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล และแนวทางการยกระดับรายได้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้น้อยโดยรวมตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบ และหลักการกำหนดค่าตอบแทนของพนักงานราชการ ฝ่ายเลขานุการจึงได้เสนอแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อปรับรายได้ของพนักงานราชการให้มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงเกียรติ ศักดิ์ศรี เพื่อจะได้ปฏิบัติตนและอุทิศตัวเพื่อประโยชน์สุขของสังคม
2. หลักการ การปรับเพิ่มรายได้ของพนักงานราชการ ควรสอดคล้องกับภาวการณ์ครองชีพที่เพิ่มขึ้น โดยไม่สร้างภาระงบประมาณมากจนเกินควร และคำนึงถึงผลกระทบต่อต้นทุนการจ้างงานภาคเอกชน
3. แนวทางดำเนินการ
(1) ปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ให้พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างวุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีค่าตอบแทนไม่ถึง 13,285 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 13,285 บาท และกรณีที่ รวมกันแล้ว มีค่าตอบแทนไม่ถึง 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละ 10,000 บาท ประมาณการพนักงานราชการที่จะได้รับการเงินเพิ่มดังกล่าว จำนวน 35,500 คน โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557
(2) ปรับบัญชีค่าตอบแทน
(2.1) พนักงานราชการกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มร้อยละ 4 โดยให้มีผลใช้บังคับ 1 ธันวาคม 2557 โดยเทียบเคียงกับข้าราชการประเภทวิชาการระดับตำแหน่งไม่เกินระดับชำนาญการ ประมาณการพนักงานราชการที่จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม จำนวน 126,200 คน
(2.2) ปรับเพดานบัญชีค่าตอบแทนขั้นสูง กลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคทั่วไป กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ อีกร้อยละ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของพนักงานราชการ เช่นเดียวกับการปรับบัญชีค่าตอบแทนของพนักงานราชการทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับวันเดียวกับการปรับเพิ่มเพดานเงินเดือนขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ
(3) แก้ไขประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนพนักงานราชการ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เพื่อปรับปรุงบัญชีกำหนดอัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการ
14. เรื่อง การยกระดับรายได้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการของร่างกฎหมายเพื่อปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการรัฐสภาสามัญ และข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557
2. เห็นชอบในหลักการการปรับเงินเดือนข้าราชการ
3. เห็นชอบในหลักการการได้รับเงินเดือนกรณีข้าราชการได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูง
4. อนุมัติให้ใช้งบประมาณเพื่อการปรับเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงาน ก.พ. รายงานว่า
การปรับบัญชีเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการ คือ
1. การปรับบัญชีเงินเดือนและการแก้ไขกฎหมาย ขยายเพดานเงินเดือนขั้นสูงของทุกระดับหรือทุกอันดับ ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทเพิ่มขึ้น 3 ขั้น สำหรับบัญชีเงินเดือนแบบขั้น หรือ ประมาณร้อยละ 10 สำหรับบัญชีเงินเดือนแบบช่วง รวมทั้งปรับปรุงบัญชีเงินเดือนข้าราชการให้สอดคล้องกับการดำรงตำแหน่ง โดยในส่วนของข้าราชการพลเรือนสามัญ ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการได้รับเงินเดือนโดยแก้ไขชื่อระดับในบัญชีเงินเดือนเพื่อให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนในระดับสูงกว่าหรือต่ำกว่าระดับตำแหน่งที่ดำรงได้ รวมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติเพื่อให้ ก.พ. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การเยียวยาให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนและ/หรือเงินประจำตำแหน่งได้ ข้าราชการทหาร ทหารกองประจำ การ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ปรับปรุงจำนวนขั้นเงินเดือนของบางระดับ (ป.3 และ น.1 – น.3) ให้สอดคล้องกับระดับชั้นยศ ข้าราชการตำรวจปรับปรุงจำนวนขั้นเงินเดือนของบางระดับ (ป3. และ ส.1 –ส3) ให้สอดคล้องกับระดับชั้นยศ และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปรับเงินเดือนขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วยมากกว่าร้อยละ 10 เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของคุณวุฒิปริญญาเอก ทั้งนี้ โดยการแก้ไขบัญชีเงินเดือนแนบท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2557
2. การปรับเงินเดือนข้าราชการ ให้ข้าราชการได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่ม 1 ขั้น สำหรับระบบเงินเดือนแบบขั้น หรือร้อยละ 4 ของอัตราเงินเดือน สำหรับระบบเงินเดือนแบบช่วง ณ วันที่บัญชีเงินเดือนข้าราชการมีผลใช้บังคับ ในกรณีที่การปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวทำให้อัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท โดยปรับเงินเดือนให้ข้าราชการ ดังต่อไปนี้
(1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการซึ่งรับเงินเดือน ระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการ และผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปซึ่งรับเงินเดือนระดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงาน
(2) ข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งรับเงินเดือนตั้งแต่ระดับ น.3 ลงมา
(3) ข้าราชการตำรวจ ซึ่งรับเงินเดือนตั้งแต่ระดับ ส.3 ลงมา
(4) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งรับเงินเดือนตั้งแต่อันดับ คศ.2 ลงมา
(5) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการซึ่งรับเงินเดือนตำแหน่งอาจารย์ และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะซึ่งรับเงินเดือนระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปซึ่งรับเงินเดือนระดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงาน
(6) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการซึ่งรับเงินเดือน ระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการ และผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปซึ่งรับเงินเดือนระดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงาน
3. การได้รับเงินเดือนกรณีข้าราชการได้รับเงินเดือนถึงขึ้นสูง ให้ข้าราชการผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูง (เงินเดือนตัน) และได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงหรือใกล้ถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นำค่าตอบแทนพิเศษตามผลการประเมินในรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2557 มารวมเป็นเงินเดือนตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 ในกรณีที่อัตราค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวรวมกับเงินเดือนแล้วมีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท
ทั้งนี้ การปรับเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ จะครอบคลุมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ รวมประมาณ 1.98 ล้านคน ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการรัฐสภาสามัญ พนักงานราชการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยสำนักงบประมาณได้จัดเตรียมงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแล้ว
15. เรื่อง การบูรณาการแผนงาน / โครงการในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่จังหวัด (Area Based)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการบูรณาการแผนงาน / โครงการในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่จังหวัด (Area Based) ของกระทรวงมหาดไทย (มท.) ดังนี้
1. แนวทางการบูรณาการแผนงาน / โครงการในพื้นที่
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ให้ส่วนราชการแจ้งแผนงาน / โครงการที่จะลงไปปฏิบัติในพื้นที่ให้จังหวัดทราบโดยด่วน เพื่อให้จังหวัดสามารถบูรณาการการทำงานในระดับพื้นที่ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 นโยบายที่สำคัญของรัฐบาลและปัญหา / ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ กรณีที่คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) มีมติเห็นสมควรที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงพื้นที่ และ/หรือระยะเวลาดำเนินโครงการของส่วนราชการ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ให้จังหวัดนำเสนอส่วนราชการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป กำหนดให้ส่วนราชการจะต้องแจ้งแผนงาน / โครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัด / กลุ่มจังหวัดทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบบประมาณมีผลใช้บังคับ เพื่อให้เกิดการบูรณาการแผนงาน / โครงการและงบประมาณ ระหว่างส่วนราชการกับพื้นที่ของจังหวัด / กลุ่มจังหวัด
2. การให้ส่วนราชการนำแผนงาน / โครงการที่อยู่ในแผนพัฒนาจังหวัด / กลุ่มจังหวัด ไปบรรจุไว้ในคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณของส่วนราชการ
1) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณการ (ก.น.จ.) ปรับปฏิทินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เพื่อให้ส่วนราชการนำแผนงาน/โครงการของจังหวัดไปบรรจุไว้ใน คำขอของงบประมาณได้ จึงเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.น.จ. นำเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณการ (อ.ก.น.จ.) ซึ่งกำหนดประชุมในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 เพื่อปรับปฏิทินการจัดทำแผนให้เร็วขึ้น และให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัดส่งแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ไปยังทีมบูรณาการกลาง [สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และกระทรวงมหาดไทย] ภายในระยะเวลาที่ ก.น.จ. กำหนด พร้อมทั้งส่งร่าง แผนฯ และรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในคราวเดียวกันด้วยก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ ก.น.จ.
2) แนวทางการดำเนินการระยะยาว (ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)
(1) ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.น.จ. พิจารณาปรับปฏิทินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด โดยกำหนดส่งแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดให้เร็วขึ้น และสอดคล้องกับปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อให้ส่วนราชการสามารถ นำแผนฯ ดังกล่าวไปประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการได้ทัน
(2) ให้มีคณะกรรมการประสานแผนส่วนกลาง เพื่อทำหน้าที่บูรณาการและเชื่อมโยงแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด กับแผนของส่วนราชการ ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และผู้แทนจากกระทรวงหลัก (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม ฯลฯ) โดยมอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และกระทรวงมหาดไทยรับไปพิจารณาร่วมกัน
(3) ให้ส่วนราชการให้ความสำคัญกับแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด โดยให้พิจารณานำแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดไปบรรจุ ในคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการ ทั้งนี้ สำนักงบประมาณ จะให้ความสำคัญกับแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 นโยบายความมั่นคง นโยบายที่สำคัญของรัฐบาลที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นลำดับแรก
3. ให้จังหวัดเชิญผู้แทน กอ.รมน. และผู้แทนของ สปน. ร่วมประชุม ก.บ.จ. เพื่อร่วมพิจารณาและบูรณาการแผนงาน/โครงการด้านความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินแผนงาน/โครงการในพื้นที่ตามแนวชายแดน รวมทั้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
4. ให้ สงป. ดำเนินการจัดทำงบประมาณในเชิงบูรณาการ ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำงบประมาณ รวมทั้ง การบริหารงบประมาณและการติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณในการขับเคลื่อนนโยบายในระดับจังหวัดต่อไป
16. เรื่อง การออกพันธบัตรออมทรัพย์โดยกระทรวงการคลังและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อนักลงทุนรายย่อย
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการออกพันธบัตรออมทรัพย์โดยกระทรวงการคลังและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อนักลงทุนรายย่อยตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า เนื่องจากสภาวการณ์เศรษฐกิจโลกในช่วงปีที่ผ่านมามีแนวโน้มชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศ นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำและมีแนวโน้มปรับตัวลดลงส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้มีรายได้น้อยโดยทั่วไป รวมถึงผู้เกษียณอายุและผู้มีรายได้ประจำจากการรับผลตอบแทนจากการฝากเงินและการลงทุนในตราสารทางการเงิน
กระทรวงการคลังจึงได้ออกพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนและการออมให้แก่ประชาชนทั่วไป และนิติบุคคลที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร โดยเป็นตราสารหนี้ของกระทรวงการคลังและสถาบันการเงินภาครัฐที่มีความมั่นคงสูง และมีผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินในสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบัน โดยมีวงเงินเสนอขายไม่เกิน 100,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการส่งความสุขในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ปี 2558) ของกระทรวงการคลัง ซึ่งถือเป็นการออกพันธบัตรออมทรัพย์วงเงินสูงที่สุดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง อายุ 10 ปี วงเงิน 50,000 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อายุ 5 ปี วงเงิน 50,000 ล้านบาท ซึ่งจะเสนอขายในเดือนมกราคม 2558 โดยมีรายละเอียดดังนี้
พันธบัตรออมทรัพย์เพื่อนักลงทุนรายย่อย
ผู้ออกพันธบัตร กระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
รุ่นอายุ 10 ปี 5 ปี
วงเงินรวม ไม่เกิน 50,000 ล้านบาท ไม่เกิน 50,000 ล้านบาท
ผู้รับภาระชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ย รัฐบาล รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน
อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล + ส่วนต่าง
การชำระดอกเชี้ย ชำระปีละ 2 งวด คือ ในวันที่ 12 มกราคม และ 12 กรกฎาคม ของทุกปี
กำหนดการจำหน่าย 12 - 13 มกราคม 2558
ช่วงที่ 1 : 12 - 16 มกราคม 2558 (วงเงินซื้อขั้นต่ำ - สูง : 1,000 บาท - 2,000,000 บาท)
ช่วงที่ 2 : 19 - 23 มกราคม 2558 (ไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง)
ตัวแทนจำหน่าย ธนาคารตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้ง
ผู้มีสิทธิ์ซื้อ บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ นิติบุคคลที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนทั่วไปมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการลงทุนและการออมผ่านพันธบัตรของภาครัฐระยะยาวที่มีความมั่นคงสูงและได้รับอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินกับสถาบันการเงินในปัจจุบัน
2. การออกพันธบัตรออมทรัพย์จะส่งเสริมให้เกิดการสร้างวินัยในการลงทุนและการออมเงินของประชาชน รวมทั้งสร้างการเรียนรู้ในการลงทุนพันธบัตรภาครัฐ และเป็นเครื่องมือในการระดมทุนและปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. นอกจากนี้ การออกพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง และ ธ.ก.ส. ในครั้งนี้ นับเป็นการขยายฐานนักลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ โดยระดมทุนจากกลุ่มนักลงทุนรายย่อยและนิติบุคคลที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร ซึ่งจะทำให้การระดมทุนของภาครัฐมีความสมดุลและมีเสถียรภาพมากขึ้น
17. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เรื่อง การแก้ไขปัญหายางพาราตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 (โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 ในส่วนของข้อคิดเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) เกี่ยวกับงบประมาณดำเนินการโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง ซึ่งเป็นผลการหารือร่วมกับ สงป. และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้
1. ให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) และธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ ที่ อก. เห็นสมควร เป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง ภายในกรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท
2. ให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ตามรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยกำหนดให้มีการจ่ายชดเชยดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ตามลักษณะการประกอบธุรกรรมของธนาคาร ภายในกรอบวงเงินไม่เกิน 300 ล้านบาท โดยให้ใช้จากเงินทุนที่เป็นสภาพคล่องของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ กระบวนการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยในโครงการจะจ่ายเป็นรายเดือน ตามที่เกิดขึ้นจริง โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต้องเปิดบัญชีออมทรัพย์/กระแสรายวันกับสาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่ประสงค์จะรับเงินชดเชยดอกเบี้ย และ อก. จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบปริมาณการเก็บสต็อกยางทุกวันสุดท้ายของเดือน เพื่อพิจารณาอนุมัติการชดเชยดอกเบี้ยในเดือนถัดไป ซึ่ง อก. จะแจ้งข้อมูลรายละเอียดการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยของผู้ประกอบการให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทราบ เพื่อธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะโอนเงินให้แก่ผู้ประกอบการที่เปิดบัญชีไว้กับสาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ต่อไป
18. เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงการคลัง เสนอว่า การปรับลดอัตราอากรขาเข้าสินค้าในกลุ่มวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิตที่ไม่มีผลิตในประเทศ เครื่องจักร เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักร เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตจำนวน 1,532 ประเภทย่อย เป็นข้อสรุปที่ได้จากการพิจารณาร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย) ดังนี้
1. ยกเว้นอากรขาเข้ากลุ่มสินค้าวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิตที่ไม่มีผลิตในประเทศ เครื่องจักร เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักร เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต จำนวน 1,274 ประเภทย่อย จากอัตราอากรขาเข้าปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 1 ร้อยละ 3 ร้อยละ 5 และร้อยละ 10 เช่น ก๊าซธรรมชาติ สังกะสี เนื้อสัตว์ที่ทำเป็นเพลเลต ไม้จำพวกสน เครื่องกังหันใบพัด เครื่องจักรสำหรับประกอบแผงวงจรย่อย ท่อส่งก๊าซ เป็นต้น
2. ปรับลดอัตราอากรขาเข้าลงเหลือร้อยละ 10 เพื่อลดภาระต้นทุนการผลิตให้กับผู้ประกอบการที่ใช้สินค้าในกลุ่มเครื่องจักร เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักร เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต เป็นปัจจัยการผลิต เนื่องจากสินค้าในกลุ่มนี้มีผู้ผลิตในประเทศ และปัจจุบันมีอัตราอากรขาเข้าที่สูง คือ ร้อยละ 20 และร้อยละ 30 เช่น เครื่องจักรกลที่ใช้แรงงาน เครื่องซักผ้าใช้ตามโรงงาน เครื่องจักรใช้เชื่อม เป็นต้น
19. เรื่อง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท สำหรับช่วงกำไรสุทธิเกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษีในอัตราร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 15 ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงการคลัง เสนอว่า เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs โดยให้มีภาระภาษีที่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ จึงพิจารณาปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs ที่มีช่วงกำไรสุทธิเกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท จากร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ เป็นร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ SMEs มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นดังนี้
กำไรสุทธิของ SMEs ปัจจุบัน ข้อเสนอ
0 – 300,000 บาท ยกเว้น ยกเว้น
>300,000 - 1,000,000 บาท 15% 15%
> 1,000,000 - 3,000,000 บาท 20%
3,000,000 บาทขึ้นไป 20%
20. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (GCC 1111) ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (GCC 1111) ประจำปีงบประมาณ 2557 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เสนอ
สาระสำคัญของการดำเนินงานฯ สรุปได้ดังนี้
นับจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 เป็นต้นมา ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (GCC 1111) ได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในด้านต่าง ๆ อาทิ
(1) ด้านการปกป้องเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้เผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พระราชกรณีกิจ ตลอดจนโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่เป็นช่องทางในการรับแจ้งเบาะแส กรณีประชาชนพบเห็นผู้กระทำการหมิ่นสถาบันด้วย
(2) ด้านการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของภาครัฐ เปิดช่องทางให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการของภาครัฐในหลากหลายช่องทาง ทั้งทางโทรศัพท์ โทรสาร อีเมล เว็บไซต์ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงสู่บริการออนไลน์ของภาครัฐได้โดยสะดวก นอกจากนั้น ยังเป็นช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการ และข้อคิดเห็นต่าง ๆ ในการปรองดอง การพัฒนาประเทศ ตลอดจนการพัฒนาบริการของภาครัฐได้ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดต่อทุกช่องทางได้ตลอดเวลาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
(3) ด้านการศาสนา ได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานพระพุทธศาสนาในการเป็นช่องทางให้บริการข้อมูลด้านพระพุทธศาสนา และเป็นศูนย์รับแจ้งภัยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งสนับสนุนให้กระบวนการในการให้บริการ และประสานการแก้ไขปัญหาด้านพระพุทธศาสนามีประสิทธิภาพมากขึ้น
(4) ด้านการส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐนั้น ได้มีการบูรณาการช่องทางร่วมกับศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ในการรับเรื่องร้องเรียน กรณีส่วนราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของภาครัฐมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ประพฤติมิชอบ หรือไม่มีความเต็มใจ ไม่มีความเป็นธรรมในการให้บริการประชาชน ซึ่งศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (GCC 1111) จะรับเรื่องและส่งให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในการประสานงานการแก้ไขต่อไป
(5) ด้านคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน ได้มีการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลและการบริการด้านสุขภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพ การทำบัตรและขอใช้สิทธิประกันสุขภาพกรณีต่างๆ ซึ่งทำให้ประชาชนมีความเข้าใจ และเข้ารับบริการด้านสาธารณสุข ได้อย่างเหมาะสม เท่าเทียมกัน
การดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการข้อมูลแก่ประชาชน ร่วมกับศูนย์ดำรงธรรม
(1) มีการบูรณาการช่องทางการติดต่อร่วมกับศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาลภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้บริการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ และแจ้งเหตุ รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นการปฏิรูปประเทศ การสร้างความปรองดอง และการป้องกันการทุจริต ทั้งนี้ มีจุดให้บริการรองรับจำนวน 30 จุดให้บริการผ่านหมายเลข 1111 กด 2
(2) ประสานความร่วมมือกับศูนย์ดำรงธรรมในการให้บริการประชาชนกรณีรับเรื่องร้องเรียน การขอความช่วยเหลือ โดยได้ดำเนินการรับเรื่อง และประสานส่งต่อผ่านระบบไปยังจังหวัดต่าง ๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการปรับปรุงข้อมูลสำหรับการให้บริการให้มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และกำหนดช่องทางสำหรับศูนย์ดำรงธรรม และหน่วยงานภาครัฐที่ประสงค์จะประสานด้านข้อมูลอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เพื่อให้ฐานข้อมูลมีความเชื่อมโยงทั่วถึงเป็นปัจจุบันและมาตรฐานเดียวกัน
21. เรื่อง มาตรการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อย (สินเชื่อ Nano-Finance)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อย (สินเชื่อ Nano-Finance) เพื่อที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะได้ดำเนินการออกประกาศกระทรวงการคลัง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ลงนามในร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อรายย่อเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ) เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ Nano-Finance
2. อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3(4) และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ลงนามในร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2557 เพื่อกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ Nano-Finance เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายดังกล่าวและให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี
สาระสำคัญของมาตรการสินเชื่อ Nano-Finance
กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดรายละเอียดการประกอบธุรกิจและหลักเกณฑ์การกำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อ Nano-Finance ดังนี้
1. ประเภทสินเชื่อที่จะกำกับดูแล
กำหนดนิยามสินเชื่อที่จะกำกับดูแลประเภทใหม่ โดยใช้ชื่อว่า 'สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ' ซึ่งหมายความถึง การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลดหรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด และการให้เช่าซื้อหรือเช่าแบบลีสซิ่งแก่บุคคลธรรมดาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพที่มีหรือไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน โดยมีวงเงินรวมสินเชื่อไม่เกิน 100,000 บาท ต่อลูกหนี้แต่ละราย และมีระยะเวลาการให้สินเชื่อตามที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจได้ตกลงกัน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะต้องอาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ออกประกาศกระทรวงการคลังเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว
2. ผู้กำกับดูแลกระทรวงการคลังและ ธปท. จะเป็นผู้กำกับดูแลสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ โดย ธปท. จะมีหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องถือปฏิบัติ และมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามแนวทางการกำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ Nano-Finance
3.คุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจ เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนที่มีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท โดยสามารถระดมทุนเพิ่มเติมได้จากการออกตั๋วเงินที่เสนอต่อผู้ลงทุนในวงจำกัด (Private Placement : PP) และการออกหุ้นกู้ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4.ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ โดยที่สินเชื่อ Nano-Finance เป็นสินเชื่อประเภทใหม่ที่มีกระบวนการพิจารณาให้สินเชื่อที่มีความผ่อนปรนกว่าสินเชื่อประเภทอื่นที่มีอยู่แล้วในระบบสถาบันการเงิน ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น แต่อยู่ในระดับที่ไม่เป็นภาระมากจนเกินควรต่อผู้บริโภค โดยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อนอกระบบในปัจจุบัน จึงกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ จากลูกหนี้รวมกันแล้วเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective rate) ไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยได้เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 654 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของ ธปท. จะต้องอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ออกประกาศกระทรวงการคลังเพื่อกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ Nano-Finance เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายดังกล่าว และให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี
5.วงเงินให้กู้ยืม กำหนดวงเงินให้สินเชื่อไม่เกินรายละ 100,000 บาท ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพของประชาชนรายย่อย และอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าวงเงินให้สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ของ ธพ. ตามแนวนโยบายของ ธปท. ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย และเป็นการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อยที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ซึ่งแตกต่างจากการประกอบธุรกิจ ‘สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ’ ที่กำหนดให้บริการได้เฉพาะบุคคลธรรมดา จึงควรมีการจำกัดวงเงินต่อรายที่ไม่สูงมากนักเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการไม่ให้มีภาระการกู้ยืมมากเกินควร
6.เงื่อนไขการดำเนินงานอื่นๆ กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกับที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจ 'สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ' ถือปฏิบัติ เช่น แนวทางการเรียกให้ชำระหนี้และการติดตามทวงถามหนี้ การปฏิบัติและจัดการเกี่ยวกับข้อมูลผู้บริโภค การปฏิบัติเมื่อมีข้อร้องเรียน เป็นต้น
ต่างประเทศ
22. เรื่อง การจัดงานรำลึกครบรอบ 10 ปีเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการจัดงานรำลึกครบรอบ 10 ปีเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า
1. งานรำลึกครบรอบ 10 ปีเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการไว้อาลัยต่อผู้เสียชีวิตและผู้สูญหาย การสดุดีผู้ช่วยเหลือ และสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบเตือนภัยล่วงหน้าของไทย
2. งานรำลึกจะจัดที่บริเวณอนุสรณ์สถานสึนามิ เรือ ต. 813 ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ในวันที่ 26 ธันวาคม 2557 เวลา 17.00-18.15 น. โดยจะเชิญแขกฝ่ายไทย และฝ่ายต่างประเทศ ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ ญาติผู้เสียชีวิตชาวไทยและชาวต่างประเทศ คณะทูตานุทูตประจำประเทศไทย ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ร่วมหรือมีบทบาทให้ความช่วยเหลือเหตุการณ์สึนามิในไทย ผู้แทนระดับสูงจากบางประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และผู้บริหารองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และในวันที่ 27 ธันวาคม 2557 กระทรวงการต่างประเทศจะจัดกิจกรรมให้ผู้แทนระดับสูงจากต่างประเทศและคณะทูตานุทูตและองค์การระหว่างประเทศในประเทศไทยที่สนใจ เยี่ยมชมชุมชนต้นแบบด้านการต้านทานภัยพิบัติ และด้านการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ในจังหวัดพังงา
23. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษว่าด้วยการเตรียมพร้อม และรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษว่าด้วยการเตรียมพร้อมและรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา และหากมีการแก้ไขถ้อยคำหรือประเด็นที่มิใช่สาระสำคัญ ให้อยู่ในดุลยพินิจของกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองแถลงการณ์ดังกล่าว
สาระสำคัญของเรื่อง
สธ. รายงานว่า
1. สธ. ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษว่าด้วยการเตรียมพร้อมและรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส อีโบลา ‘ASEAN Plus Three Health Ministers’ Special Meeting on Ebola Preparedness and Response” ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพมหานคร โดยในวันที่ 14 ธันวาคม 2557 เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และวันที่ 15 ธันวาคม 2557 เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี
2. ในการประชุมวันที่ 15 ธันวาคม 2557 รัฐมนตรีสาธารณสุขประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามจะมีการรับรองแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษว่าด้วยการเตรียมพร้อมและรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Joint Statement of ASEAN Plus Three Health Ministers’ Special Meeting on Ebola Preparedness and Response)
3. ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว เป็นการแสดงเจตจำนงของประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามในการดำเนินความร่วมมือในการเตรียมพร้อมและรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา รวมทั้งเพื่อขับเคลื่อนให้มีการดำเนินการตามข้อตกลงที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 12 แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 4 มติขององค์การสหประชาชาติ และแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 9 ว่าด้วยการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาของภูมิภาค ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์ดังกล่าว ไม่มีถ้อยคำที่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 23
24. เรื่อง ร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีในการประชุม 2014 ASEAN-ROK Special Ministerial Meeting on Forestry ณ นครปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีในการประชุม 2014 ASEAN-ROK Special Ministerial Meeting on Forestry
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมอบหมาย เป็นผู้ให้การรับรองและร่วมลงนามร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีในการประชุม The 2014 ASEAN-ROK Special Ministerial Meeting on Forestry ดังกล่าว
3. หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแก้ไขถ้อยคำของร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
สาระสำคัญของเรื่อง
ทส. รายงานว่า
ร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีในการประชุม The 2014 ASEAN-ROK Special Ministerial Meeting on Forestry : 2014 SMMF เป็นการยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบด้านการป่าไม้ของประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อการจัดการด้านป่าไม้ในภูมิภาค และการดำเนินมาตรการเพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสาธารณรัฐเกาหลีว่าด้วยความร่วมมือด้านการป่าไม้ (Agreement between the Governments of the Member States of the Association of Southeast Asian Nations and the Republic of Korea on Forest Cooperation) อย่างมีประสิทธิภาพตามกรอบเวลา รวมถึงการจัดตั้งองค์การความร่วมมือด้านป่าไม้อาเซียน (Asian Forest Cooperation Organization –AFoCO) โดยมีถ้อยแถลงร่วมกัน ดังนี้
1. กระชับความร่วมมือและดำเนินการระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีผ่านกิจกรรมภาคสนามเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการป่าไม้ในภูมิภาคที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้และความเชี่ยวชาญระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี กับประเทศสมาชิกอาเซียนด้านเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำและการเติบโตสีเขียวและส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3. ใช้แนวทางความร่วมมือเพื่อการดำเนินการที่ทันการณ์และมีประสิทธิภาพของความตกลง AFoCO
4. สนับสนุนการบริหารและการฝึกอบรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี โดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการไฟป่าผ่านการดำเนินการโครงการ
5. สนับสนุนเจ้าหน้าที่อาวุโสและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีความรับผิดชอบในด้านการป่าไม้และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับป่าในการดำเนินการตามทิศทางนโยบายข้างต้น
25. เรื่อง รายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องของมหาสมุทร ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบรายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องของมหาสมุทร ครั้งที่ 4 (4th APEC Ocean – Related Ministerial Meeting : AOMM4) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 27 – 28 สิงหาคม 2557 ณ เมืองเซียะเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน
2. เห็นชอบปฏิญญาเซียะเหมิน (Xiamen Declaration)
สาระสำคัญของเรื่อง
ทส. รายงานว่า
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องของมหาสมุทร (The APEC Oceans – Related Ministerial Meeting : AOMM) กำหนดจัดขึ้นทุก 4 ปี เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีของคณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง (Ocean and Fisheries Working Group : OFWG) ภายใต้กรอบ APEC โดยคณะทำงานดังกล่าวมีบทบาทหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและส่งเสริมการบูรณาการด้านนโยบายและโครงการต่าง ๆ ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อให้มีการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน รวมทั้งเสนอแนะมาตรการและนโยบายต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีและที่ประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ตามลำดับ คณะทำงานดังกล่าวมีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทส. และกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยประสานงานหลัก
2. การประชุม AOMM4 มีผู้แทนสมาชิกเข้าร่วม จำนวน 18 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี จีน จีนฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ เปรู รัสเซีย จีนไต้หวัน ไทย สหรัฐอเมริกาและเวียดนาม โดยที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสได้ร่วมกันพิจารณาร่างปฏิญญาเซียะเหมิน (Xiamen Declaration) และเสนอร่างปฏิญญาฯ ต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีฯ โดยที่ประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ได้มีการรับรองปฏิญญาดังกล่าวแล้ว ซึ่งการประชุมพิจารณาร่างปฏิญญาเซียะเหมินมีการหารือใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1. การอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งและการสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยพิบัติ (Coastal and Marine Ecosystem Conservation and Disaster Resilience) 2. บทบาทของมหาสมุทรในด้านความมั่นคงทางอาหารและการค้าที่เกี่ยวข้อง (The Role of Ocean in Food Security and Associated Trade) 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล และนวัตกรรม (Marine Science & Technology and Innovation) 4. เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)
26. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของความสัมพันธ์คู่เจรจาอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ว่าด้วยวิสัยทัศน์ในอนาคตของหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี “สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองและความสุข” สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของความสัมพันธ์คู่เจรจาอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ว่าด้วยวิสัยทัศน์ในอนาคตของหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี “สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองและความสุข” และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่มีผลผูกพันเพิ่มเติมต่อไทย ให้ กต. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
2. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า
1. นายกรัฐมนตรีมีกำหนดเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ เนื่องในโอกาสครบครอบ 25 ปี ของความสัมพันธ์อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2557 ที่นครปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าว จะมีการรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ เพื่อให้การประชุมมีผลที่เป็นรูปธรรม
2. ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความพร้อมของผู้นำของไทยในการสนับสนุนความร่วมมือในกรอบอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี และแสดงถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันของอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีในการส่งเสริมความร่วมมือกันในอนาคตเพื่อพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์โดยครอบคลุมสาขาความร่วมมือหลัก ได้แก่ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนแสดงวิสัยทัศน์ร่วมกันในการพัฒนาความร่วมมืออาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ให้สามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคต ซึ่งร่างแถลงการณ์ร่วมฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ความร่วมมือทางการเมือง – ความมั่นคงเพื่อสันติภาพร่วมกัน
2.2 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความก้าวหน้าร่วมกัน
2.3 ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมเพื่อความสุขร่วมกัน
2.4 ความเชื่อมโยงระหว่างกันของอาเซียน
2.5 ประเด็นระดับภูมิภาคและนานาชาติ มีดังนี้
2.5.1 เพิ่มพูนการเจรจาและการสร้างบรรยากาศที่ช่วยให้มีการสานต่อการประชุมร่วม 6 ฝ่ายโดยเร็ว อันจะเป็นการเปิดทางไปสู่การปลอดอาวุธนิวเคลียร์อย่างสันติบนคาบสมุทรเกาหลี
2.5.2 เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลก อาทิ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงด้านพลังงาน และโรคติดต่อ
2.5.3 การปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ รวมทั้งสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
2.6 การจัดระเบียบการดำเนินงาน โดยการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของสาธารณรัฐเกาหลีที่มีต่อกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนและความร่วมมืออาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี โดยใช้กองทุนความร่วมมือพิเศษอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี และกองทุนความร่วมมือเพื่ออนาคตอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ พ.ศ. 2559 – 2563
แต่งตั้ง
27. เรื่อง คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (จำนวน 9 ส่วนราชการ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) รวม 9 ส่วนราชการ จำนวนรวม 104 คณะ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้เห็นชอบแล้ว
ลำดับที่ ส่วนราชการ รายชื่อคณะกรรมการ
1. กต.1. คณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย-จีน (คกร. ไทย-จีน ฝ่ายไทย)
2. คณะกรรมการกฎหมายทะเลและเขตทางทะเลของประเทศไทย
3. คณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ
4. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-บังกลาเทศ
5. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว
6. คณะกรรมการความร่วมมือไทย-สหภาพยุโรป
7. คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา
8. คณะกรรมการนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ
9. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ (ฝ่ายไทย)
10. คณะกรรมาธิการร่วมไทย-พม่า
11. คณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยพิบัติ
12. คณะกรรมการประสานงานด้านสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศอื่นๆ และองค์การต่างประเทศ
13. คณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่างๆ
14. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-มาเลเซีย
15. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา
16. คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (ฝ่ายไทย)
17. คณะกรรมาธิการร่วมไทย-อินโดนีเซีย
18. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือไทย-อินเดีย
19. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-เนปาล
20. คณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-เมียนมาร์ (ฝ่ายไทย)
21. คณะกรรมการฝ่ายไทยในคณะกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน(ฟุลไบรท์) ประจำปี 2557
22. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย- ศรีลังกา
23. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-เวียดนาม (ฝ่ายไทย)
24. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจไทย-ปากีสถาน
25. คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ
26. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-อียิปต์
27. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กาตาร์
28. คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย)
29. คณะกรรมการเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายระหว่างประเทศ
30. คณะกรรมการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจไทย-เยอรมนี
31. คณะกรรมการหมู่ประจำชาติไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก
32. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-บรูไนดารุสซาลาม
33. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
34. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย
35. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศในระดับชาติ
36. คณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาการจัดทำการตรวจลงตราเดียว (Joint Committee on ACMECS Single Visa)
37. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ออสเตรเลีย
38. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-นิวซีแลนด์
39. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าและวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
40. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเคนยา
41. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อิหร่าน
42. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-บาห์เรน
43. คณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ
44. คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ไทย-ตุรกี
45. คณะกรรมการร่วมฝ่ายไทยเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอุซเบกิสสถาน
46. คณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย
47. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับยูเครน
48. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน
49. คณะกรรมการร่วมด้านการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ระหว่างไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย)
2 กก. 1. คณะกรรมการบริหารโครงการเงินสนับสนุนจากการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อการพัฒนากีฬาของชาติ
2. คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13
3. คณะกรรมการจัดงานแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2550
4. คณะกรรมการอำนวยการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ ครั้งที่ 1
5. คณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหานักท่องเที่ยวถูกหลอกลวงในประเทศไทย
6. คณะกรรมการวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งชาติ National Tourism Professional Board : NTPB
7. คณะกรรมการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพการท่องเที่ยว (Tourism Professional Certification Board : TPCB)
3 พม. 1. คณะกรรมการบริหารโครงการฝึกอบรมผู้นำเยาวชน
2. คณะกรรมการบริหารโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์
3. คณะกรรมการอำนวยการโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ หุบกะพง ดอนขุนห้วย หนองพลับกลัดหลวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี
4. คณะกรรมการจัดงานวันเยาวชนแห่งชาติ
4 กษ. 1. คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ
2. คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
3. คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
4. คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ
5. คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร
6. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา
7. คณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนตามแนวทางป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล
8. คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง
9. คณะกรรมการฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์
10. คณะกรรมการประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและการเกษตรต่างประเทศ
11. คณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ
5 คค. 1. คณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกลของกรมทางหลวง
2. คณะกรรมการขนส่งแห่งอาเซียน
3. คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อประสานงานกับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
4. คณะกรรมการแห่งชาติในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย
5. คณะกรรมการร่วมถาวรไทย-มาเลเซีย ว่าด้วยการขนส่งสินค้าน่าเสียง่ายผ่านแดนมาเลเซียไปยังสิงคโปร์
6. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงเกี่ยวกับการขนส่งทางบกกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ
7. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ
8. คณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ
9. คณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติ
6 สธ. 1. คณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ
2. คณะกรรมการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
3. คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์
4. คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาทันตแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์
5. คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาเภสัชศาสตร์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์
6. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี
7. คณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ
8. คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ
9. คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข
10. คณะกรรมการอำนวยการยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย
11. คณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย
7 ศธ. 1. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ)
2. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
3. คณะกรรมการฝ่ายการศึกษา ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
4. คณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
5. คณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
6. คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรม ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
7. คณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชน ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
8. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
9. คณะกรรมการโครงการมนุษย์และชีวมณฑล ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
10. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
11. คณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าสื่อ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการศึกษา
12. คณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน
13. คณะกรรมการอำนวยการโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
8 ตช. คณะกรรมการกำกับดูแลฝ่ายไทย สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
9 อส. คณะกรรมการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535
28. เรื่อง การแต่งตั้งผู้ที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้ง นางณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายต่างประเทศ (ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
29. เรื่อง การแต่งตั้งกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่น
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยว่า รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นายหลี่ หมิงกัง (Mr. Li Minggang) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่น โดยมีเขตกงสุลครอบคลุม 20 จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างและสับเปลี่ยนหมุนเวียน จำนวน 13 ราย ในจำนวนนี้เป็นการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ จำนวน 10 ราย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับแล้ว ดังนี้
1. นายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต รัฐคูเวต
2. นายธนาธิป อุปัติศฤงค์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
3. นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น
4. นายนรชิต สิงหเสนี เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
5. นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
6. นายอิทธิพร บุญประคอง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
7. นายกิตติพงษ์ ณ ระนอง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงตริโปลี รัฐลิเบีย ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
8. นายไกรรวี ศิริกุล รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงตริโปลี รัฐลิเบีย
9. นายณรงค์ ศศิธร รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก
10. นายวิทวัส ศรีวิหค เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
11. นายศุภร พลมณี เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต ราชอาณาจักรโมร็อกโก
12. นายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา แคนาดา ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
13. นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา แคนาดา
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอการแต่งตั้ง ว่าที่ร้อยตรี เชิดศักดิ์ จำปาเทศ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป
32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงวัฒนธรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย ดังนี้
1. นายจรูญ นราคร รองอธิบดีกรมศิลปากร ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นายดำรงค์ ทองสม รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
3. นายกฤษฎา คงคะจันทร์ รองอธิบดีกรมการศาสนา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นางกนกทิพย์ รชตะนันทน์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
34. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอการแต่งตั้ง นายกิตติชัย วัฒนานิกร เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป
35. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายจุฬา สุขมานพ และนายไกร ตั้งสง่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจให้ความเห็นชอบแล้ว เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (คณะกรรมการ รฟม.) ตามนัยมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป
36. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสินเพิ่มเติม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางธนิษฐา วงศ์รวมลาภ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสินเพิ่มเติมอีก 1 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการเพิ่มเติมดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการและกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
37. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค (เพิ่มเติม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค (เพิ่มเติม) จำนวน 2 คน ดังนี้
1. พลเอก ไตรรัตน์ รังคะรัตน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นกรรมการ
2. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มท.(เป็นบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง บัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจเพิ่มเติมในปี 2555) เป็นกรรมการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป
38. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการประปานครหลวง (เพิ่มเติม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการประปานครหลวง (เพิ่มเติม) แทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 4 คน ดังนี้ 1. นายวัลลภ พริ้งพงษ์ กรรมการอื่น 2. นายขวัญชัย วงศ์นิติกร กรรมการอื่น 3. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต กรรมการอื่น 4. รองศาสตราจารย์ ชนินทร์ ทินนโชติ กรรมการอื่น โดยบุคคลในลำดับที่ 1 และ 2 เป็นบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป
********************