WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565

GOV

รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565

           คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565) ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้ กนง. ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

           1. การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน

                      1.1 เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงโดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.9 ในปี 2565 และร้อยละ 2.6 ในปี 2566 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงซึ่งเกิดจากปัจจัยด้านราคาพลังงานและอาหารที่อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ภาคการบริโภคและการผลิตมีแนวโน้มชะลอตัวลงซึ่งเป็นผลจากเงินเฟ้อและ ภาวะการเงินที่ตึงตัวกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งเกิดจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นทำให้สถานการณ์การเงินโลกตึงตัวและผันผวน การค้าโลกอาจชะลอตัวลง และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจรุนแรงและยืดเยื้อเพิ่มขึ้น เช่น ความขัดแย้งสหพันธรัฐรัสเชีย-ยูเครน และความขัดแย้งระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน-สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

                      1.2 เศรษฐกิจไทย

                                 1.2.1 ภาพรวม เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.3 ในปี 2565 และร้อยละ 3.8 ในปี 2566 เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติมีเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 9.5 ล้านคน ในปี 2565 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 21 ล้านคน ในปี 2566 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลจากความต้องการเดินทางท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นและมาตรการควบคุม การเดินทางระหว่างประเทศที่คลี่คลายลง

                                 1.2.2 การส่งออกของไทย มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 8.2 ในปี 2565 (สูงกว่าประมาณการเดิมในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ร้อยละ 7.9) และคาดว่าจะชะลอตัวลงมาที่ร้อยละ 1.1 ในปี 2566 ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าเป็นสำคัญ

                                 1.2.3 การบริโภคภาคเอกชน มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 (สูงกว่าประมาณการเดิมในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ร้อยละ 4.9) ซึ่งเป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนแต่ยังมีปัจจัยกดดันจากต้นทุนค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง ส่วนการบริโภคภาคเอกชนในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.3 สอดคล้องกับการจ้างงานและรายได้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ

                                 1.2.4 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ในปี 2565 และลดลงเหลือร้อยละ 2.6 ในปี 2566 เนื่องจากราคาพลังงานมีแนวโน้มลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาอาหารสดและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้บริโภค ทั้งนี้ กนง.ประเมินว่า การส่งผ่านต้นทุนในระยะต่อไปอาจจำกัดเนื่องจากแรงกดดันด้านอุปทานลดลง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง

 

EXIM One 720x90 C J

 

           2. ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน

                      2.1 ภาพรวม มีแนวโน้มผ่อนคลายลดลงเล็กน้อยเนื่องจากยังคงมีความกังวลจาก ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกและการใช้นโยบายการเงินเพื่อชะลอการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ (เช่น การขึ้นดอกเบี้ย ของธนาคารกลางในหลายประเทศ ในส่วนภาคเอกชนการกู้ยืมโดยรวมยังเอื้อต่อการระดมทุนและไม่กระทบการระดมทุนในตลาดการเงินเนื่องจากภาคธุรกิจได้ทยอยระดมทุนไปในช่วงก่อนหน้าและมีแนวโน้มระดมทุนเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธุรกิจไทยในต่างประเทศมีแนวโน้มกลับมาระดมทุนในประเทศมากขึ้นจากต้นทุนการระดมทุนในต่างประเทศที่สูงขึ้น

                      2.2 ค่าเงินบาทในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 36.33 ดอลลาร์สหรัฐ โดยอ่อนค่าลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2565 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2565) ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับที่สูง

                      2.3 ระบบการเงิน ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง ส่วนความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs ในบางสาขาธุรกิจยังคงฟื้นตัวช้าและครัวเรือนรายได้น้อยบางกลุ่มยังคงได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูง รวมทั้งสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) และหนี้ภาคธุรกิจต่อ GDP ยังคงอยู่ในระดับสูง

           3. การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2565 กนง. ได้มีมติขึ้นดอกเบี้ย จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ในการประชุม กนง. ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565ปรับขึ้นดอกเบี้ยจากร้อยละ 0.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี (ปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อปี) และครั้งที่ 2 ในการประชุม กนง. ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 ปรับขึ้นดอกเบี้ยจากร้อยละ 0.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 1 ต่อปี (ปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อปี) โดยเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงอัตรางินเฟ้อทั่วไปที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจากการส่งผ่านต้นทุนให้แก่ผู้บริโภคนอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะ SMEs ในสาขาที่ฟื้นตัวช้าและครัวเรือนที่มีรายได้น้อยด้วย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 6 ธันวาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12148

Click Donate Support Web  

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!