WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

GOV 20

มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ...) เสนอ และ ให้กระทรวงการคลัง (กค.) เร่งรัดดำเนินการศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลการพิจารณาดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          คณะกรรมการ ... รายงานว่า

          1. การจัดเก็บภาษีเป็นเครื่องมือทางการคลังของรัฐบาลในการหารายได้เพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และใช้ในการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ เช่น การกระตุ้นการจ้างงานในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ และการป้องกันภาวะเงินเฟ้อด้วยมาตรการทางภาษี โดยในปี 2563 รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษี จำนวน 2.86ล้านล้านบาท โดยเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 7.45 แสนล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 26.04 ของภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บได้) ซึ่งเป็นภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บได้จำนวนมากที่สุด

          2. รายงานสถิติคดีศาลยุติธรรม ประจำปี .. 2562 ประเภทข้อหาที่เข้าสู่ศาลภาษีอากรกลางเป็นจำนวนมากที่สุดคือ ข้อหาเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเป็นพฤติการณ์การทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การปลอมแปลงเอกสาร (เช่น ใบกำกับภาษี) เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยมิชอบหรือหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการจดทะเบียนประกอบการแต่ไม่มีการประกอบการจริง การจัดตั้งราคาสินค้าและบริการที่สูงเกินจริงเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนมาก และผู้ประกอบการบางรายใช้กรณีการส่งออกเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เช่น ไม่ได้กระทำการส่งออกจริงแต่มีการปลอมเอกสารการส่งออก และการสำแดงสินค้าส่งออกอันเป็นเท็จหรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเพื่อเปลี่ยนพิกัดศุลกากรให้ต้องเสียอากรน้อยลงหรือไม่ต้องเสียซึ่งการทุจริตดังกล่าวก่อให้เกิด ความเสียหายต่อประเทศอย่างมาก

 

EXIM One 720x90 C J

 

          3. จากการศึกษาปัญหาการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วพบว่า มีประเด็นปัญหาที่ควรพิจารณา ดังนี้

                    3.1 การประสานและบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างหน่วยจัดเก็บภาษีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ก่อให้เกิดปัญหาในด้านการตรวจสอบความถูกต้อง เช่น การปลอมแปลงเอกสาร ประกอบการนำเข้า ส่งออก และการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

                    3.2 การใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ละเลยไม่สอบยันใบกำกับภาษีซื้อ ไม่สอบยันข้อมูลของกรมศุลกากร และไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เนื่องจากได้รับการสั่งการจากผู้มีอำนาจหรือเจ้าหน้าที่ อาจได้รับผลประโยชน์จากผู้ประกอบการด้วย

                    3.3 ระบบตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เอื้อต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เช่น การไม่ตรวจสอบการมีอยู่จริงของกรรมการบริษัทเมื่อมีการขอจดทะเบียนนิติบุคคล ทำให้มีการจดทะเบียนนิติบุคคลบังหน้า และการมีตัวแทนในการทำธุรกรรมแทนทำให้ไม่ทราบผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงและติดตาม ผู้ที่ทุจริตได้ยาก

                    3.4 การแทรกแซงหรือบังคับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้ทำการตรวจสอบ ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาษีไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและผู้มีอำนาจได้รับผลประโยชน์ทางภาษีและ ถูกตรวจสอบน้อย

 3.5 ความไม่ชัดเจนของกฎหมายหรือการที่กฎหมายเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับภาษีซึ่งนำไปสู่การถูกแทรกแซงได้ เช่น การถูกแทรกแซงจากสายการบังคับบัญชา ทำให้เจ้าหน้าที่ขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ในขณะที่กระบวนการควบคุมหรือตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

 

AXA 720 x100

 

          4. คณะกรรมการ ... เห็นควรเสนอมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความโปร่งใส และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในภาพรวมของประเทศ ป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเงินภาษีเข้ารัฐได้มากขึ้น ดังนี้

 

มาตรการ/การดำเนินการ

 

หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย

(1) การเชื่อมโยงข้อมูลและระบบแจ้งเบาะแส

 (1.1) ควรเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานจัดเก็บภาษี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก และหน่วยงานด้านการจดทะเบียนพาณิชย์เป็นนิติบุคคล โดยมีการบูรณาการเทคโนโลยีระบบฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านระบบดิจิทัล เพื่อสนับสนุนภารกิจเกี่ยวกับการตรวจสอบ สอบยันข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สอบยันใบกำกับภาษีซื้อ สอบยันความถูกต้องของเอกสารประกอบต่างๆ และตรวจสอบย้อนกลับของการทำธุรกรรมด้วย

 

กระทรวงการคลัง (กค.) และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)

(1.2) ควรจัดให้มีระบบการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตที่มีประสิทธิผล มีประสิทธิภาพ และจัดให้มีสินบนนำจับในกรณีมีผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตเกี่ยวกับภาษี รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการตลอดจนสิทธิที่ได้รับในการแจ้งเบาะแสการทุจริต

 

กค.

(2) ควรกำหนดมาตรการให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถสอบยันและตรวจสอบจากระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีกลไกการรายงานผลการปฏิบัติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทุกขั้นตอน รวมถึงการตรวจสอบนิติบุคคลที่มาขอคืนภาษีว่ามีสถานประกอบการหรือไม่

 

กค.

(3) ควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบ ถ่วงดุล สอบยันในหน่วยจัดเก็บภาษี โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีอธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธานและมีบุคคลภายนอกหรือผู้แทน เช่น สภาวิชาชีพบัญชี ร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระและมีการถ่วงดุลในกระบวนการตรวจสอบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

กค.

4) ในกรณีข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของกรมศุลกากรระบุว่ามีการส่งออกซึ่งไม่เพียงพอต่อการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กรมสรรพากรส่งเรื่องให้กรมศุลกากรทำการตรวจสอบเพิ่มเติมว่ามีการส่งออกจริงหรือไม่และยืนยันผลการตรวจสอบก่อน จึงจะนำมาใช้อ้างอิงได้ รวมถึงให้ตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านภาษีหรือการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของต่างประเทศว่าผู้นำเข้ามีการประกอบการจริงหรือไม่ในกรณีที่พบว่าผู้ส่งสินค้าส่งออกมีโอกาสเสี่ยงต่อการทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

กค.

(5) ควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบผู้ส่งออกที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

กค.

(6) ควรมีการตรวจสอบเกี่ยวกับผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง โดยกำหนดหลักเกณฑ์หรือระเบียบการแสดงตนว่าใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงในขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อให้สามารถป้องกันและทราบถึงกรณีตัวแทนการจดทะเบียนบังหน้า รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์หรือระเบียบเกี่ยวกับการแสดงตนของลูกค้าว่าใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงในขั้นตอนการเปิดบัญชี

 

พณ. และธนาคารแห่งประเทศไทย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 6 ธันวาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12146

Click Donate Support Web  

วิริยะ 720x100

 

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!