WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ

GOV9

รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (.. 2565 - .. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้

          1. รับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID สำหรับข้อเสนอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) รายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) ในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) 

          ทั้งนี้ สคก. มีความเห็นว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) หรือ ดศ. แล้วแต่กรณี รายงานการดำเนินการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นต้องเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีก

          2. รับทราบกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (.. 2565 - .. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ

          3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการของกรอบการขับเคลื่อนฯ จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากสำนักงบประมาณและดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบการขับเคลื่อนที่กำหนด สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ .. 2566 ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ โครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะต้องอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

          4. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

ais 720x100

 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ดศ. รายงานว่า

          1. การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID 

                    1.1 ความคืบหน้าด้านกฎหมาย ได้พัฒนากฎหมายเพื่อรองรับการนำโครงสร้างพื้นฐานด้านการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลไปปรับใช้กับการให้บริการของหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น (1) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) .. 2562 โดยเป็นการเพิ่มเติมหมวด 3/1 ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อรองรับผลทางกฎหมายของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (2) พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล .. 2562 มาตรา 12 (4) บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน ซึ่งมีมาตรฐานและแนวทางที่สอดคล้องกันตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด (3) ร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ .. ....1 มาตรา 8 วรรค 2 บัญญัติให้การยืนยันตัวตนจะกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีอื่นนอกจากการแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางก็ได้ ถ้าวิธีอื่นดังกล่าวนั้นจะเป็นการสะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้น และ (4) ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับใบอนุญาต .. ....2 ซึ่งเป็นการรองรับการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การดูแลผู้ให้บริการการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

                    1.2 ความคืบหน้าด้านการจัดทำมาตรฐานทางด้านเทคนิคหรือแนวทางการพัฒนาและใช้งานระบบ Digital ID ของประเทศ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อให้การพัฒนาและใช้งานระบบ Digital ID ของประเทศไทยมีมาตรฐานสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ลดความเสี่ยงและสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

รายละเอียดความคืบหน้า

(1) มาตรฐานกลางสำหรับภาคส่วนต่างๆ นำไปใช้งาน

 

(1.1) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

       (1.1.1) กรอบการทำงาน เลขที่ ขมธอ. 18-2564 เพื่ออธิบายคำศัพท์กระบวนการการประเมินความเสี่ยง และการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบ Digital ID มีความเข้าใจตรงกัน

       (1.1.2) ข้อกำหนดของการพิสูจน์ตัวตน เลขที่ ขมธอ. 19-2564 เพื่อเป็นข้อกำหนดสำหรับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (Identity Provider : IdP) ในการพิสูจน์ตัวตนของบุคคลที่ประสงค์จะใช้บริการหรือทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ IdP มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตามระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน

       (1.1.3) ข้อกำหนดของการยืนยันตัวตน เลขที่ ขมธอ. 20-2564 เพื่อเป็นข้อกำหนดสำหรับ IdP ในการบริหารจัดการสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนและการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ ให้มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตามระดับความน่าเชื่อถือของการยืนยันตัวตน

(1.2) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยเทคโนโลยีชีวมิติ

       (1.2.1) เล่ม 1 : การใช้งานเทคโนโลยีชีวมิติสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เลขที่ ขมธอ. 29 เล่ม 1-2565 เพื่อเป็นข้อกำหนดและข้อเสนอแนะสำหรับ การบริหารจัดการอัตลักษณ์บุคคลจากการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยการใช้เทคโนโลยี ชีวมิติ

       (1.2.2) เล่ม 2 : การใช้งานเทคโนโลยีการรู้จำใบหน้าสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เลขที่ ขมธอ. 29 เล่ม 2-2565 เพื่อเป็นข้อกำหนดและข้อเสนอแนะสำหรับการบริหารจัดการอัตลักษณ์บุคคลที่มาจากการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยเทคโนโลยีการรู้จำใบหน้า

(1.3) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการทดสอบสมรรถนะการทำงานเทคโนโลยีชีวมิติ เลขที่ ขมธอ. 30-2565 เพื่อเป็นข้อกำหนดและข้อเสนอแนะสำหรับการทดสอบสมรรถนะการทำงานของเทคโนโลยีชีวมิติในการลงทะเบียน พิสูจน์ยืนยันชีวมิติและระบุชีวมิติ รวมถึงการทดสอบสมรรถนะการป้องกันการโจมตีหลอกระบบ

(2) มาตรฐานสำหรับหน่วยงานของรัฐ

 

(2.1) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย

(2.2) มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ

       (2.2.1) ภาพรวม (เวอร์ชัน 1.0)

       (2.2.2) การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (เวอร์ชัน 1.0)

 

 

AXA 720 x100

 

          2. กรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (.. 2565 - .. 2567) พร้อมแผนปฏิบัติการ สพธอ. ได้จัดทำกรอบการขับเคลื่อนฯ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศ3 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 และวันที่ 31 มีนาคม 2565 และได้ผ่านการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติและขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันสามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลบนมาตรฐานเดียวกันได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อเร่งผลักดันการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 8 หลักการ ดังนี้

 

กลยุทธ์หลัก

 

แผนปฏิบัติการ

(1) Digital ID ครอบคลุมบุคคล นิติบุคคล และบุคคลต่างชาติ พร้อมรองรับการยืนยันตัวตนการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การมอบอำนาจ และการให้ความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์

 

(1.1) กำหนดนิยาม ความสัมพันธ์ สถาปัตยกรรม ความเชื่อมโยงของกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานที่ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในบริบทของการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Digital ID การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การมอบอำนาจและการให้ความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. และหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง)

(1.2) จัดให้มีการปรับปรุงระบบตรวจสอบข้อมูลสถานะของหนังสือเดินทางไทย (กรมการกงสุล สพธอ. และ สพร.) 

(1.3) จัดให้มีบริการยืนยันตัวตนด้วย Digital ID สำหรับบุคคลต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย [กรมการปกครอง สพธอ. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) กระทรวงแรงงาน (รง.) และกรมสรรพากร)]

(1.4) จัดให้มีระบบตรวจสอบข้อมูลสถานะของคนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยให้กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง (สตม. สพธอ. และ สพร.) 

(1.5) จัดให้มีสนามทดสอบนวัตกรรมใหม่ๆ (Sandbox) ที่เกี่ยวกับการให้บริการ Digital ID ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธนาคาร และภาคโทรคมนาคม เช่น จัดให้มีการทำการยืนยันตัวตนระหว่างหน่วยงาน (Cross Sector Authentication) ในการทดสอบการเปิดบัญชีธนาคารโดยให้ Mobile ID [สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สพธอ. สพร. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ...) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย]

(2) ประชาชนสามารถเลือกใช้ Digital ID ในระดับความเชื่อมั่นที่เหมาะสมในการเข้าถึงบริการออนไลน์ของภาครัฐและเอกชน

 

(2.1) จัดให้มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ประโยชน์ของบริการ Digital ID กลุ่มประชาชนและภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมการใช้งาน Digital ID และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมด้วยกิจกรรม Hackathon (สพธอ. สพร. ธปท. สำนักงาน ... คปภ. และสำนักงาน กสทช.) 

(2.2) IdP ที่ให้บริการกับหน่วยงานของรัฐ เป็นบริการที่ได้มาตรฐานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด โดยรวมถึง IdP ภาคเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตฯ ตามกฎหมาย (สพร. สพธอ. และสำนักงาน ...) 

(2.3) ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐนำ Digital ID ที่รวมถึง Digital ID ของภาคเอกชนที่ได้รับอนุญาต ไปใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับการเข้าใช้งานบริการประชาชนผ่านทางออนไลน์ในระยะแรก (กระทรวงการคลัง สำนักงาน ... สพธอ. และ สพร.)

(3) มท. เป็นหน่วยงานหลักในการให้ข้อมูลและบริการสนับสนุนการพิสูจน์ตัวตนให้กับ IdP ทั้งภาครัฐและเอกชนในการออก Digital ID สำหรับบุคคลธรรมดาทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย โดยมีกระบวนการกำกับดูแลให้มีมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ

 

(3.1) กรมการปกครอง มท. จัดให้มีบริการยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน D.DOPA ให้ครอบคลุมคนไทยทั้งประเทศ และให้บริการข้อมูลแก่ IdP ทั้งภาครัฐและเอกชน (กรมการปกครอง สพธอ. และ สพร.) 

(3.2) มท. จัดให้มีบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัลให้กับ IdP (มท. สพธอ. และ สพร.)

(4) การใช้ Digital ID ในการทำธุรกรรมของนิติบุคคลเป็นการใช้ Digital ID บุคคลธรรมดาของผู้มีอำนาจของนิติบุคคลนั้นร่วมกับการมอบอำนาจหากจำเป็น

 

จัดให้มีการทดลองนวัตกรรม Digital ID สำหรับนิติบุคคล เช่น การทำธุรกรรมเปิดบัญชีธนาคารผ่านช่องทางออนไลน์และการให้บริการด้านโทรคมนาคมผ่านช่องทางออนไลน์ ในลักษณะ Co-Sandbox (สพธอ. ธปท. สำนักงาน กสทช. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยและผู้ให้บริการ Digital ID เอกชน)

(5) กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นหน่วยงานหลักในการให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือของนิติบุคคลเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมของนิติบุคคลผ่าน Digital ID

 

(5.1) ดำเนินการให้ฐานข้อมูลพื้นฐานสำคัญเป็นแบบดิจิทัล โดยปรับปรุงระบบนำเข้าข้อมูล (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สพธอ. และ สพร.) 

(5.2) จัดให้มีบริการเชื่อมโยงข้อมูลสำหรับการตรวจสอบข้อมูลผู้มีอำนาจในการทำธุรกรรม/นิติกรรมของนิติบุคคล ในรูปแบบดิจิทัลที่ตรวจสอบได้ตามที่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สพธอ. และ สพร.) 

(5.3) จัดให้มีบริการหนังสือรับรองนิติบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ PDF/A3 (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สพธอ. และ สพร.)

(6) ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐผ่านระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่น่าเชื่อถือและประชาชนใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องลงทะเบียนพิสูจน์ตัวตนซ้ำซ้อนด้วยมาตรฐานสากลแบบเปิด (Open Standards)

 

(6.1) หน่วยงานของรัฐดำเนินการพัฒนาระบบหรือบริการของหน่วยงานเพื่อรองรับการใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลด้วย IdP (หน่วยงานของรัฐ สพร. สำนักงาน ... สพธอ. และกรมการปกครอง)

(6.2) สพร. พัฒนาและให้บริการแพลตฟอร์มกลางเพื่อเชื่อมโยงไปยัง IdP รายต่างๆ (สพร. กรมการปกครอง และ สพธอ.)

(7) สพธอ. กำหนดนโยบาย Digital ID ในภาพรวม ซึ่งรวมถึงการพัฒนามาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการที่เกี่ยวกับ Digital ID ของรัฐและเอกชนมีมาตรฐานสอดคล้องกัน และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ โดยหน่วยงานกำกับในแต่ละภาคส่วน (Sector) นำไปประยุกต์ใช้ รวมถึงกำหนดนโยบายเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับบริการหรือธุรกิจที่กำกับหรือดูแล

 

(7.1) จัดให้มีนโยบายและมาตรฐานบริการดิจิทัลไอดีสำหรับการใช้งานของแต่ละ Sector ตามลักษณะเฉพาะของตน โดยคำนึงถึงภาระของผู้ให้บริการ (สำนักงาน ... ธปท. สำนักงาน ... คปภ. สำนักงาน กสทช. สพร. และ สพธอ.) 

(7.2) จัดให้มีการนำร่องการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลกับต่างประเทศผ่านระบบ National Digital Trade Platform (NDTP) และระบบ Smart Financial and Payment Infrastructure for Business (สำนักงาน ... กรมการปกครอง ธปท. สำนักงาน กสทช. สพธอ. และ สพร.)

(8) สพร. พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐเพื่อให้บริการที่เกี่ยวกับ Digital ID ของรัฐและเอกชนได้มาตรฐานสอดคล้องกัน และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับบริการ Digital ID ระหว่างรัฐและเอกชนได้

 

(8.1) จัดทำแนวทางการเชื่อมโยงระบบและข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับหน่วยงานรัฐและเอกชน [สพร. กรมการปกครอง สำนักงาน กสทช. สพธอ. ธปท. และหน่วยงานภาคเอกชน เช่น สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และผู้ให้บริการดิจิทัลไอดี เช่น ระบบ National Digital ID (NDID) และระบบ Mobile National ID (MNID)]

(8.2) จัดทดสอบการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับบริการ Digital ID ระหว่างรัฐและเอกชน สำหรับบริการภาครัฐ (สพร. และหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง)

 

          3. การพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล ประกอบด้วย 2 ระบบ ดังนี้

                    3.1 ระบบ FVS ได้แก่ (1) พัฒนาระบบ FVS เพื่อให้บริการตรวจสอบภาพใบหน้า รองรับธุรกรรมสูงสุด 60 รายการต่อวินาที หรือประมาณ 5 ล้านรายการต่อวัน ซึ่งคาดว่าจะเพียงพอสำหรับการลงทะเบียนใช้งานทั่วไป (2) การตรวจสอบภาพใบหน้า ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมใบหน้า เพื่อตรวจสอบกับระบบ FVS โดยต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของภาพใบหน้า (3) กรมการปกครองจะส่งผลการตรวจสอบภาพใบหน้า ในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องเมื่อเทียบกับฐานข้อมูลภาพใบหน้าที่น่าเชื่อถือ (4) ผู้ใช้งานระบบ FVS เป็น IdP โดยจะมีการกำหนดเงื่อนไขของ IdP ที่สามารถใช้บริการระบบได้ และ (5) IdP ตรวจสอบคุณภาพของภาพใบหน้าตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศก่อนส่งมาตรวจสอบกับระบบ FVS 

                    3.2 ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) และแอปพลิเคชัน D.DOPA ได้แก่ (1) ขยายระบบรองรับผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน D.DOPA เป็น 60 ล้านคน (2) รองรับการพิสูจน์ตัวตนโดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานเขตหรืออำเภอเพื่อรองรับการลงทะเบียนในการพิสูจน์ตัวตนด้วยตนเอง (Self-Enrolment) โดยใช้ภาพใบหน้า ตามระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน (Identity Assurance Level : IAL) ที่ระดับ IAL 2.3 (3) การตรวจสอบภาพใบหน้า พัฒนาจากระบบที่มีอยู่โดยเพิ่มเติมฟังก์ชันการตรวจจับการปลอมแปลงชีวมิติเพื่อป้องกันการถ่ายภาพจากรูปถ่ายหรือวิดีโอ เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการ Self-Enrolment (4) หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนสามารถใช้ผลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของแอปพลิเคชัน D.DOPA ได้ เนื่องจากประชาชนที่เป็นผู้ถือแอปพลิเคชัน D.DOPA เป็นผู้อนุญาตให้มีการตรวจสอบ (5) D.DOPA-Digital ID รองรับการยืนยันตัวตนสูงสุดที่ 100 ธุรกรรมต่อวินาที และ (6) D.DOPA-Digital ID รองรับให้ประชาชนสามารถส่งข้อมูลพื้นฐานตามข้อมูลหน้าบัตรประจำตัวประชาชน ไปให้หน่วยงานผู้อาศัยการยืนยันตัวตน ผ่านโปรโตคอล OpenID Connect ได้

 

aia 720 x100

 

          4. ความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 สำนักงาน ... ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ในปีงบประมาณ .. 2565 โดยส่งเสริมให้นำ Digital ID มาใช้ในการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 12 บริการ Agenda4 ได้มีการทำแผนการขับเคลื่อนพัฒนา (Roadmap) ในแต่ละบริการระยะ 3 ปี (.. 2565 - .. 2567) และส่งให้คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาทางดิจิทัลตามงานบริการ Agenda สำคัญ พิจารณาเรียบร้อยแล้ว และจะมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน Roadmap โดยมีข้อเสนอสำหรับแนวทางการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐนำดิจิทัลไอดีของระบบ NDID และเป๋าตังไปใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับการเข้าใช้งานบริการประชาชนผ่านทางออนไลน์ และระยะต่อไป ผลักดันระบบ DOPA-Digital ID และแอปพลิเคชัน D.DOPA ของกรมการปกครองให้รองรับผู้ใช้งานได้มากกว่า 1 แสนราย และให้ มท. ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการจัดทำแผนงานหรือโครงการตามแนวทางการพัฒนาระบบ FVS รวมถึงการกำหนดมาตรฐานการทำงานเพื่อให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนสามารถใช้บริการระบบ FVS ได้ นอกจากนี้ สำนักงาน ... และ สพร. ได้จัดทำแอปพลิเคชันทางรัฐที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้แบบจุดเดียวทุกที่ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งส่วนหนึ่งใช้งานดิจิทัลไอดีด้วยแอปพลิเคชัน D.DOPA ที่ปัจจุบันมีบริการหลายหมวดหมู่ เช่น ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร ตรวจสอบข้อมูลหนังสือรับรองผล O-NET ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และขอรับความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา

          5. ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ปัจจุบันรัฐและเอกชนได้พัฒนาและให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่สำคัญ 3 ระบบหลัก ได้แก่ (1) ระบบ NDID (ดูแลโดยบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด และมีกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเป็น IdP) รองรับการนำไปใช้กับธุรกรรมการเงินต่างๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝาก/e-Money และการยื่นภาษี และตรวจสอบค่าลดหย่อน (2) ระบบ Mobile ID (ดูแลโดยสำนักงาน กสทช. และมีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศไทย เป็น IdP รองรับการนำไปใช้กับธุรกรรมการเปิดบัญชีธนาคารและเตรียมขยายไปใช้กับบริการอื่นๆ เพิ่มเติม และ (3) ระบบ DOPA-Digital ID (ดูแลโดยกรมการปกครอง มท. และเป็น IdP) รองรับการนำ Digital ID ของกรมการปกครองไปใช้กับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมการปกครอง เช่น ระบบตรวจสอบประวัติตนเองและการขอย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ อย่างไรก็ตาม แต่ละระบบได้ถูกออกแบบทางเทคนิคมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งานบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน จึงมีข้อจำกัดในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล และจำเป็นต้องมีการบูรณาการภาพรวมการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย เพื่อลดภาระการออกแบบและพัฒนาระบบให้บริการของผู้อาศัยการยืนยันตัวตนในอนาคต และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐและภาคเอกชนโดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนซ้ำๆ รวมทั้งประชาชนมีอิสระในการเลือกใช้ Digital ID ตามความต้องการ ทั้งนี้ สพร. ได้จัดตั้งคณะทำงานจัดทำแนวทางการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งครอบคลุมผู้ให้บริการระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่สำคัญ 3 ระบบหลักที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยคณะทำงานฯ อยู่ระหว่างร่วมกันออกแบบด้านเทคนิคเพื่อทดสอบให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และได้จัดทำหลักการพื้นฐานและแนวทางการส่งผ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริการด้าน Digital ID พร้อมทั้งแนวทางการเชื่อมโยงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย (1) ขั้นตอนสำหรับการพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้งาน เพื่อออก Digital ID ให้กับผู้ใช้งาน และ (2) ขั้นตอนสำหรับการรับบริการยืนยันตัวตนด้วย Digital ID ของผู้ใช้งานที่ IdP ออกให้ จำนวน 3 ขั้นตอนย่อย ซึ่งคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีมติเห็นชอบต่อหลักการพื้นฐานและขั้นตอนการดำเนินงานด้านการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อวางกรอบการให้บริการที่เหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการดำเนินงานด้าน Digital ID ควรเป็นระบบเปิดที่มี IdP ได้หลายรายและไม่จำกัดเฉพาะเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งเป็นการเฉพาะ

________________________________________

1 พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ .. 2565 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565

2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 กันยายน 2563) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณา ซึ่ง สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

3 คณะกรรมการส่งเสริมฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน ผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนเป็นกรรมการ และ สพธอ. เป็นเลขานุการฯ เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมกันผลักดันให้เกิดการอำนวยความสะดวกในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานของรัฐ เอกชน และประชาชนให้ใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

4 งานบริการ Agenda หมายถึง งานบริการที่มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องหลายส่วนราชการ แล้วมีผลกระทบให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น หรือสนับสนุนช่วยเหลือให้ภาคเศรษฐกิจและสังคมที่ประสบปัญหาในภาวะสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและยั่งยืน เช่น ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) ระบบการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และระบบช่วยเหลือผู้ว่างงานให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการปกครอง กรมที่ดิน และกรมการจัดหางาน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 6 ธันวาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12142

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!