WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2565

GOV 4

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2565

          คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการติดตตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปผลการประชุม กตน. ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกลและให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 โดยมีรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้

          1. การติดตามสถานการณ์อุทกภัย

 

ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน

 

ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.

(1) การเตรียมการเพื่อรองรับภัยแล้งและอุทกภัยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ดำเนินการ ดังนี้

     (1.1) ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำสายหลักและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีลำน้ำที่ต้องมีการเฝ้าระวังอุทกภัย ได้แก่ ลำน้ำยม ลำน้ำน่าน ลำน้ำแม่กลองและท่าจีน และลำน้ำบางประกง รวมถึงลำน้ำที่มีแนวโน้มปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น คือ ลำน้ำมูล ในส่วนของลำน้ำอื่นๆ ปริมาณน้ำยังอยู่ในค่าปกติ ทั้งนี้ ได้ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

     (1.2) จัดทำ 13 มาตรการ บริหารจัดการน้ำในฤดูฝนปี 2565 เช่น การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก การทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่-กลาง และเขื่อนระบายน้ำ การเตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ การจัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุในกรณีมีความเสี่ยง และการติดตามประเมินผลเพื่อปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์

     (1.3) แต่งตั้งคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดชัยนาทเพื่อบูรณการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณากำหนดจุดและชี้เป้า เพื่อเตรียมการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่

     (1.4) กำหนดแผนหลักการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จำนวน 9 แผนงาน เช่น การขับเคลื่อนโครงการระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร เพื่อลดผลกระทบของอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกำหนดแผนงานขนาดใหญ่ เช่น แผนงานคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก-อ่าวไทย โดยเป็นการเพิ่มความสามารถในการตัดยอดน้ำหลากและการระบายน้ำให้ลงสู่ทะเล

 

ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :

(1) กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แจกจ่ายถุงยังชีพให้กับประชาชน ผู้ประสบสาธารณภัยต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง 632 ชุด

(2) ให้ สทนช. และ กษ. โดยกรมชลประทานเพิ่มเติมข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กหรือขนาดจิ๋ว ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาที่ดินและสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อให้รับทราบภาพรวมของปริมาณน้ำนอกเขตชลประทานและสามารถนำข้อมูลไปบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งต่อไป

(3) ให้ กษ. ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในด้านการเกษตร ปศุสัตว์และประมง ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากซึ่งอาจเกิดขึ้นซ้ำซ้อนในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนในภาพรวมและการใช้จ่ายงบประมาณเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

(4) ให้ กษ. โดยกรมชลประทานประสานกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทอย่างใกล้ชิด ในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะการก่อสร้างถนนและทางหลวงในพื้นที่ ต่างๆ ซึ่งอาจกีดขวางทางน้ำเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ โดยอาจจำเป็นต้องพิจารณาจัดทำทางระบายน้ำเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่

(5) ให้ มท. โดยการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ ตรวจสอบ กำกับติดตามและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันไฟฟ้ารั่วในพื้นที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน ตลาด พื้นที่อยู่อาศัย และชุมชน เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากเหตุการณ์ไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูดในช่วงที่เกิดสถานการณ์อุทกภัย

มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ สทนช. กษ. มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

 

(2) นโยบายเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย

    (2.1) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้ดำเนินการ ดังนี้

        (2.1.1) มาตรการเตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัย เช่น 1) วิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก/พื้นที่เกษตรเสี่ยงน้ำท่วมปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่าง ปริมาณน้ำในลำน้ำ และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พื้นที่เกษตรกรรม และชุมชนที่เสี่ยงเกิดอุทกภัย และ 2) จัดสรรทรัพยากร เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล หรือเครื่องมือต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ให้เพียงพอ โดยเฉพาะจุดเสี่ยงน้ำท่วมเพื่อเตรียมพร้อมใช้งานตลอดเวลา โดยในปี 2565 ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ 2,198 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 617 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 351 คัน และเครื่องจักรกลสนับสนุนอื่นๆ 2,219 หน่วย

        (2.1.2) ตรวจสอบและจัดทำรายละเอียดการใช้จ่ายค่าทดแทนหรือค่าชดเชยจากอุทกภัย โดยการให้ความช่วยเหลือและความเสียหายเบื้องต้น เช่น 1) การให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า เช่น สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 205 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 338 เครื่อง กระสอบทราย 12,000 กระสอบ และเรือตรวจการ 1 ลำ อพยพสัตว์ 12,181 ตัว สนับสนุนหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน 173.46 ตัน และ 2) ผลกระทบด้านการเกษตร เช่น ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 45 จังหวัดมีเกษตรกรได้รับความเสียหาย 3,906 ราย พื้นที่ 24,761 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 17,963 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 6,348 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่นๆ 450 ไร่ คิดเป็นเงิน 38.46 ล้านบาท โดยให้ความช่วยเหลือเกษตรกร 425 ราย พื้นที่ 1,454 ไร่ วงเงิน 2.96 ล้านบาท ด้านประมง ได้รับผลกระทบ 22 จังหวัด มีเกษตรกรได้รับความเสียหาย 113 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับความเสียหาย 222 ไร่ คิดเป็นเงิน 1.44 ล้านบาท และด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ 7 จังหวัด มีเกษตรกรได้รับความเสียหาย 3,454 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 783,807 ตัว ทั้งนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังและมาตรการอื่นๆ ของ กษ.

     (2.2) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ดำเนินการ เช่น

        (2.2.1) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมตั้งแต่การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์การจัดทำแผนเผชิญเหตุ การเตรียมการระบายน้ำ การแจ้งเตือนและจัดชุดปฏิบัติการเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้าน ต่างๆ จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ .. 2562 ในกรณีภัยแล้ง ฝนแล้ง และฝนทิ้งช่วง

        (2.2.2) บริหารจัดการน้ำเพื่อเตรียมรองรับอุทกภัย เช่น 1) กำจัดผักตบชวาอย่างต่อเนื่องโดยในปีงบประมาณ .. 2565 จัดเก็บแล้ว 7.10 ล้านตัน และ 2) ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ใช้งานและดูแลรักษา จำนวน 49 จังหวัด 139 พื้นที่ชุมชน

        (2.2.3) มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ เช่น แจ้งเตือนการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังในพื้นที่เสี่ยงภัย รายงานสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำที่มีความเสี่ยงเกิดน้ำล้นตลิ่ง และดำเนินโครงการมหาดไทยสูบส่งน้ำ ส่งสุข คลายทุกข์ คลายแล้ง

     (2.3) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ได้ดำเนินการ เช่น

        (2.3.1) ระบุจังหวัดที่มีความเสี่ยงจะมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปกติ และจังหวัดที่มีความเสี่ยงจะมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติจนอาจเกิดฝนแล้วหรือน้ำท่วมได้อย่างครอบคลุมพื้นที่เกิดภัยจริง และจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยงในช่วงฤดูฝน

       (2.3.2) จัดทำระบบการรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฝนแบบใกล้เวลาจริงที่สุด เพื่อสนับสนุนวิเคราะห์ การตัดสินใจ การพยากรณ์อากาศ และติดตามสถานการณ์ทั้งปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูฝนและภัยแล้ง

       (2.3.3) จัดทำการวิเคราะห์เส้นฝนเท่าปริมาณน้ำฝนทั่วประเทศและรายลุ่มน้ำ และพยากรณ์น้ำท่วมฉับพลันล่วงหน้า

    (2.4) กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ดำเนินการจัดเรียงกระสอบทรายปิดกั้นแนวริมคลองในชุมชนและหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมขัง โดยเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ลงคลองสายหลัก รวมทั้งติดตตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิมซึ่งได้รับการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจากหน่วยงาน ต่างๆ รวม 28 เครื่อง ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำของสำนักงานการระบายน้ำ 42 เครื่อง และของกองทัพเรือ 32 เครื่อง

 

(3) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564)

     - สทนช. ได้ดำเนินโครงการฯ มีความคืบหน้าคิดเป็นร้อยละ 20.72 ซึ่งยังมีความล่าช้า อย่างไรก็ตาม สทนช. ได้เฝ้าระวังในพื้นที่ โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูฝนในภาคใต้ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการตั้งศูนย์ส่วนหน้าต่อไป

 

(4) การศึกษาความเหมาะสมของแนวทางผันน้ำในแม่น้ำชี-เซบาย-เซบก-ตุงลุง-แม่น้ำมูล (ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564)

     - สนทช. ได้ศึกษาความยาวของการผันน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระยะทางรวม 180 กิโลเมตร มีระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี และจะดำเนินการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อไป

 

(5) โครงการประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง (ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในพื้นที่จังหวัดกระบี่และตรัง เมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2564)

     - สนทช. ได้ดำเนินการขุดคลองผันน้ำ ความยาว 7.55 กิโลเมตร และก่อสร้างประตูระบายน้ำ 2 แห่ง วงเงิน 1,482.5 ล้านบาท ระยะเวลา 4 ปี (ปี 2559-2565) ปัจจุบันมีผลการดำเนินงานร้อยละ 90 รวมทั้งการก่อสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำตรังโดยขุดช่องลัดใหม่และปรับปรุงช่องลัดเดิม และขุดลอกขยายลำน้ำ กรอบวงเงินโครงการ 950 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี (ปี 2567-2570) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบและอยู่ระหว่างกระบวนการจัดหาที่ดินเพื่อดำเนินโครงการ

 

(6) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ สรุปได้ ดังนี้

     (6.1) กษ. เช่น 1) นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำให้มีความทันสมัยทำให้การเสนอข้อมูลข่าวสารมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิถีชีวิตของชุมชน 2) เพิ่มช่องทางการสื่อสารให้หลากหลายรูปแบบและจัดกลุ่มข้อมูลที่จะสื่อสารให้เหมาะสมกับช่วงอายุรวมถึงรูปแบบการสื่อสารจะต้องเข้าใจง่ายเป็นมิตรกับผู้รับข่าวสารและ 3) นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้กับกระบวนการตรวจสอบยืนยันความเสียหายจากภัยพิบัติด้านการเกษตร เพื่อลดระยะเวลาและข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรในการสำรวจตรวจสอบความเสียหาย

     (6.2) ดศ. ปัจจุบันยังคงมีความคลาดเคลื่อนในการคาดหมายการพยากรณ์ จึงยังต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

     (6.3) กทม. ได้ดำเนินการก่อสร้างไฮเวย์ทางลัดพิเศษเพื่อเร่งระบายน้ำจากคลองประเวศบุรีรมย์ตรงออกสู่ทะเลอ่าวไทยเพื่อลดระดับน้ำคลองประเวศบุรีรมย์ และช่วยลดระดับน้ำคลองข้างสนามบินสุวรรณภูมิและคลองต่างๆ ที่อยู่ข้างเคียงแนวทางลัดน้ำดังกล่าว

 

 

 

ธกส 720x100

 

          2. การขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเกษตรมูลค่าสูงเพื่อความมั่นคงทางอาหาร (900 ต้นแบบเทคโนโลยี) มีการดำเนินงานของหน่วยงาน สรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน

 

ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.

(1) การส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร

      (1.1) กษ. ได้ดำเนินการ เช่น

         (1.1.1) วิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เพื่อการผลิตพืชปลอดภัย เช่น 1) ชีวภัณฑ์ที่มีศักยภาพควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตร 6 ชนิด และ 2) ต้นแบบเทคโนโลยีการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสมเฉพาะพื้นที่และพืชปลูก จำนวน 38 ต้นแบบ

         (1.1.2) พัฒนาสายพันธุ์เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อและเห็ดขอนขาวสายพันธุ์ใหม่ ได้แก่ 1) เห็ดฟาง ผลิตเป็นเชื้อเห็ดขยาย สร้างรายได้ 1.13 ล้านบาท และผลิตเป็นดอกเห็ด สร้างร้ายได้ 17.46 ล้านบาท 2) เห็ดเป๋าฮื้อ ผลิตเป็นเชื้อเห็ด สร้างรายได้ 292,800 บาท ผลิตเป็นก้อนเชื้อเห็ด สร้างรายได้ 12.81 ล้านบาท และผลิตเป็นดอกเห็ด สร้างรายได้ 20.49 ล้านบาท และ 3) เห็ดขอนขาว ผลิตเป็นเชื้อเห็ด สร้างรายได้ 268,800 บาท ผลิตเป็นก้อนเชื้อเห็ด สร้างรายได้ 9.40 ล้านบาท และผลิตเป็นดอกเห็ด สร้างได้รายได้11.76 ล้านบาท

        (1.1.3) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งวิจัยพัฒนาวิธีการตรวจรับรองสินค้าพืชดัดแปลงพันธุกรรรม โดยตรวจวิเคราะห์รับรองสินค้า จำนวน 5,000 ตัวอย่างต่อปี

        (1.1.4) บริหารความหลากหลายทางชีวภาพของธนาคารเชื้อพันธุ์พืชกรมวิชาการเกษตร สู่งานวิจัยและการใช้ประโยชน์ เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยใช้งบบริหารความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้อนุรักษ์เมล็ดเชื้อพันธุ์พืชในระยะปานกลางและระยะยาว ได้แก่ ไพลดำ พืชสกุลปุด และมะเขือพวง

    (1.2) กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการโครงการศูนย์จับคู่ธุรกิจอาหารนวัตกรรม (Innovative Food Matching Centre) : ระยะที่ 1 จากหิ้งสู่ห้างด้วยมาตรฐานอาหารปลอดภัย (Phase I : From Research to Retail through Food Safety Standards) โดยให้คำปรึกษาและพัฒนางานวิจัยต่อยอดสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและโครงการส่งเสริมการส่งออกอาหารแปรรูป : ครัวไทยสู่ครัวโลก โดยส่งเสริมผู้ประกอบการให้พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ได้คุณภาพมาตรฐานของประเทศคู่ค้า มีผลิตภัณฑ์อาหารที่เข้าร่วมโครงการ 86 ผลิตภัณฑ์

 

ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :

กษ. ควรเป็นหน่วยงานในการรวบรวมจัดทำบัญชีนวัตกรรมสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งบูรณาการข้อมูลร่วมกับ อว. มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลการดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมเกษตรมูลค่าสูงเพื่อความมั่นคงทางอาหาร (900 ต้นแบบเทคโนโลยี) ต่อไป

มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ กษ. อว. มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

(2) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร

     (2.1) กษ. ผลักดันการแปรรูปสินค้าเกษตร เช่น พืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างจุดขายของสินค้าเกษตรใหม่ด้วยอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นรวมถึงการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรของไทย

     (2.2) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พัฒนาพืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งนำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการผลิตสมุนไพรให้ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทานรวมทั้งผลักดันศักยภาพของผู้ปลูกสมุนไพรไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้

 

(3) การบริหารจัดการด้านการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน

    - กษ. ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม เป็นการผลิตสินค้าเกษตรชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพ โดยดำเนินการแล้ว 67,290 ไร่

 

(4) การยกระดับและพัฒนาคุณภาพการผลิตสมุนไพร

    - อว. ดำเนินการทดสอบพิษวิทยาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสมุนไพร เช่น ผลิตภัณฑ์ TERRY TIME TO SHINE SERUM IN CREAM การศึกษาวิจัยฤทธิ์ชีวภาพของสารสกัดจากดอกดาหลาเพื่อเชิงพาณิชย์ และดำเนินงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางดอกบัวแดงและการสกัดน้ำมันดอกจันทน์กะพ้อ โดยพัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากพืช

 

(5) การส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร

    - กษ. จัดทำแผนการผลิตและการตลาดข้าวสารครบวงจร ปี 2565/2566 เช่น ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/2566 แล้ว ร้อยละ 87.50 พื้นที่ 54.33 ล้านไร่ และโครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่องด้านข้าว 992 ราย

 

(6) การพัฒนาพันธุ์ข้าว

     - กษ. ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ต้นเตี้ย ผลผลิตสูง ต้านทานโรคแมลง และคุณภาพดี โดยใช้นวัตกรรมด้านพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตข้าวเพื่อรองรับการเกษตรสมัยใหม่ รวมทั้งเทคโนโลยีชีวภาพยุคใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อการค้าและการใช้ประโยชน์ 166 พันธุ์

 

(7) การวิจัยและพัฒนาอย่างครอบคลุมทั้งระบบ

    - อว. ดำเนินการวิจัยและพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มีคุณสมบัติช่วยในการเจริญเติบโตของพืช อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่พี่น้องเกษตรกร เช่น 1) ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 2) ปุ๋ยอินทรีย์ด้วยระบบเติมอากาศแบบลูกหมุน 3) ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสั่งตัด/โปรแกรมการคำนวณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสำหรับพืชเศรษฐกิจ และ 4) ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสำหรับการลิตข้าวแบบใช้ปุ๋ยครั้งเดียว

 

(8) ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

     (8.1) กษ. ควรมีการขยายผลของงานวิจัยไม่สู่เกษตรกรให้แพร่หลายเพื่อจะได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกษตรกร ลด ละ เลิกใช้ยาปราบศัตรูพืชโดยเร็ว โดยการใช้ชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร และควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่อย่างไร้รอยต่อ เพื่อส่งมอบผลงานสู่กลุ่มเป้าหมาย

     (8.2) อว. นำถุงพลาสติกชีวภาพมาใช้ในการคัดแยกขยะอินทรีย์ แล้วจัดเก็บเพื่อนำมาหมักรวมกับมูลสัตว์เพื่อพัฒนาเป็นสารปรับปรุงดินที่สามารถเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุภายในดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงขึ้น

 

 

 

ais 720x100

 

          3. รับทราบรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ดังนี้

                    3.1 ผลการใช้จ่ายงบประมาณ วันที่ 9 กันยายน 2565

หน่วย : ล้านบาท

งบประมาณรายจ่าย

วงเงิน ตาม ...

งบประมาณ

จัดสรร

แผนการใช้จ่าย

งบประมาณ

ผลการใช้จ่าย

งบประมาณ

สูง/ต่ำกว่าแผน

ภาพรวม

ร้อยละ/...

ร้อยละ/จัดสรร

3,100,000.0000

3,052,962.8620

98.48

2,995,057.8976

96.61

98.10

2,886,181.6958

93.10

94.54

-108,876.2018

-3.51

-3.57

รายจ่ายประจำ

ร้อยละ/...

ร้อยละ/จัดสรร

2,491,839.9733

2,495,932.6025

100.16

2,411,289.4745

96.77

96.61

2,395,784.9027

96.15

95.99

-15,504.5718

-0.62

-0.62

รายจ่ายลงทุน

ร้อยละ/...

ร้อยละ/จัดสรร

608,160.0267

557,030.2595

91.59

583,768.4231

95.99

104.80

490,396.7931

80.64

88.04

-93,371.6300

-15.35

-16.76

 

                    3.2 สรุปรายการผูกพันใหม่ของปีงบประมาณ .. 2565 ที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท วันที่ 13 กันยายน 2565 ของ 5 กระทรวง รวม 9 รายการ วงเงิน 19,999.1455 ล้านบาท ได้แก่ กระทรวงกลาโหม 2 รายการ กระทรวงการคลัง 1 รายการ กษ. 3 รายการ กระทรวงคมนาคม 2 รายการ และกระทรวงยุติธรรม 1 รายการ

          4. รายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ภายใต้ กตน. ดังนี้

 

ประเด็นสำคัญเร่งด่วน/ผลการดำเนินงาน

 

ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.

คณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้ฯ ได้นำนโยบายสำคัญไปขยายผลขับเคลื่อนเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจและก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินการสร้างการรับรู้ในแต่ละพื้นที่ และมอบหมายกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ใน 5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน 2) การขับเคลื่อนเกษตรสร้างมูลค่า 3) มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สิน และมหกรรมการไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน 4) มาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงาน และ 5) สลากกินแบ่งรัฐบาล

 

ความคิดเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :

(1) ให้ทุกส่วนราชการให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเด็นข่าวของหน่วยงาน โดยเฉพาะข่าวที่เป็นเรื่องด่วน เรื่องสำคัญและมีผลกระทบสูง โดยให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

(2) ให้ กปส. และส่วนราชการต่างๆ หาแนวทางในการเชื่อมโยงการนำเสนอข่าวในความรับผิดชอบกับสื่ออื่นๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพิ่มขึ้น

(3) ให้ทุกส่วนราชการดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ในประเด็นข่าว ต่างๆ ด้วยมิติหรือมุมมองใหม่ๆ ที่สามารถดึงดูดความสนใจและสร้างการรับรู้แก่ประชาชนเพิ่มขึ้น

มติที่ประชุม : รับทราบ

 

          5. รับทราบการพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถใช้ในการรวบรวม และติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีของส่วนราชการต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินการมีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยให้เกิดการบูรณาการข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีฐานข้อมูลภาครัฐขนาดใหญ่ที่สำคัญต่อการสนับสนุนการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ สลน. ได้จัดสัมมนา เพื่อชี้แจงส่วนราชการ และระดมความเห็นเกี่ยวกับการใช้งานระบบดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12219

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!