WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแ

GOV 13

รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563 และมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม .. 2564 ประจำปีงบประมาณ .. 2565

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่ง ... กู้เงินโควิด-19 และมาตรา 8 แห่ง ... กู้เงินโควิด 19 เพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ .. 2565 และให้นำเสนอรายงานดังกล่าวต่อรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กระทรวงการคลังได้จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่ง ... กู้เงิน โควิด-19 และมาตรา 8 แห่ง ... กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ .. 2565 เรียบร้อยแล้ว โดย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. รายงานตามมาตรา 10 แห่ง ... กู้เงินโควิด-19

           วันที่ 30 กันยายน 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ จำนวน 1,151 โครงการ โดยมีหน่วยงานที่ขอยกเลิกโครงการ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการได้ในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 57 โครงการ คงเหลือโครงการที่ดำเนินการและใช้จ่ายเงินกู้ตาม .. กู้เงินโควิด-19 จำนวน 1,094 โครงการ วงเงินรวม 982,290.74 ล้านบาท ซึ่งหน่วยงานได้เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว จำนวน 950,169.70 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.73 ของวงเงินอนุมัติ อย่างไรก็ดี วันที่ 30 กันยายน 2565 โครงการภายใต้ ... กู้เงินโควิด-19 ที่ดำเนินการแล้วเสร็จมีจำนวน 678 โครงการ แบ่งเป็นโครงการภายใต้แผนงานที่ 1 จำนวน 47 โครงการ แผนงานที่ 2 จำนวน 19 โครงการ และแผนงานที่ 3 จำนวน 612 โครงการ รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

          แผนงานที่ 1 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 จำนวน 45.90 ล้านโดส การสนับสนุนค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 จำนวน 30,348.35 ล้านบาท การสนับสนุนค่าตอบแทนสำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 1,037,042 ราย ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนได้รับการดูแล เฝ้าระวัง และคัดกรองโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องฉายรังสีพลังงานแสง และเครื่องตรวจไวรัสแบบอัตโนมัติด้วยเทคนิค Realtime PCR รวมถึงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตชุดทดสอบ Rapid test สำหรับตรวจหาแอนติบอดีจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 การพัฒนาศักยภาพของการผลิตและการควบคุมคุณภาพวัคซีนและยาชีววัตถุสำหรับโรคโควิด-19 การผลิตชุดสกัด RNA เพื่อการตรวจโรคโควิด-19 และปรับปรุงหอผู้ป่วยวิกฤต ICU Negative Pressure COVID-19 เป็นต้น

          แผนงานที่ 2 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับ ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ พร้อมไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากภายใต้แผนงานที่ 2 สามารถแบ่งการให้ความช่วยเหลือออกได้เป็น 3 รอบ ได้แก่ในช่วงปี 2563 มีการจ่ายเงินช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยประมาณ 41.02 ล้านราย รอบที่ 2 ในช่วงต้นปี 2564 ที่มีการระบาดระลอกใหม่มีการจ่ายเงินช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยประชาชนประมาณ 40.93 ล้านราย และมีมาตรการเพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปาให้กับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า/น้ำประปา จำนวน 27.23 ล้านราย และรอบที่ 3 ในช่วงกลางปี 2564 มีการออกมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนเพิ่มเติมประมาณ 41.30 ล้านราย และมีการออกมาตรการเพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) ให้กับประชาชนเพิ่มเติม จำนวน 26.88 ล้านราย

          แผนงานที่ 3 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม การดำเนินโครงการเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ จำนวนกว่า 1.59 ล้านราย อีกทั้งก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับชุมชน ทั้งประชาชนในท้องถิ่น และนักศึกษาจบใหม่ จำนวนกว่า 92,605 ตำแหน่ง นอกจากนี้ การดำเนินโครงการในพื้นที่เศรษฐกิจฐานราก ส่งผลให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น สามารถสร้างรายได้จากการพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรให้มีคุณภาพและราคาสูงขึ้น สามารถขยายช่องทางการตลาดให้ง่ายต่อการเข้าถึงของผู้บริโภค และสามารถลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันโดยการปลูกพืชผักและเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคเป็นอาหารในครัวเรือนถือเป็นผลสำเร็จที่สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและเศรษฐกิจท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน

 

วิริยะ 720x100

QIC 720x100

 

          2. รายงานตามมาตรา 8 แห่ง .. กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม

           วันที่ 30 กันยายน 2565 ครม. ได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้ตามบัญชีท้าย .. กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ จำนวน 2,539 โครงการ โดยมีหน่วยงานที่ขอยกเลิก จำนวน 1 โครงการ เนื่องจากหน่วยงานได้รับงบประมาณอื่นในการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว คงเหลือโครงการที่ดำเนินการและใช้จ่ายเงินกู้ตาม ... กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม จำนวน 2,538 โครงการ ซึ่งหน่วยงานได้เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว จำนวน 426,434.91 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85.29 ของวงเงินอนุมัติ อย่างไรก็ดี วันที่ 30 กันยายน 2565 โครงการภายใต้ ... กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม ที่ดำเนินการแล้วเสร็จมีจำนวน 38 โครงการ แบ่งเป็นโครงการภายใต้แผนงานที่ 1 จำนวน 6 โครงการ แผนงานที่ 2 จำนวน 27 โครงการ และแผนงานที่ 3 จำนวน 5 โครงการ รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

          แผนงานที่ 1 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการดำเนินโครงการเพื่อการจัดซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จำนวนกว่า 118.13 ล้านโดส เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ประชาชนในประเทศ และโครงการเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินให้กับหน่วยบริการหรือสถานพยาบาลที่ให้บริการไปแล้ว ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของหน่วยบริการหรือสถานพยาบาล

          แผนงานที่ 2 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชน ทุกสาขาอาชีพ มีการดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้เรียน จำนวนกว่า 11.65 ล้านราย ช่วยเหลือประชาชนที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา จำนวน 8.58 ล้านราย และมาตรา 33 จำนวน 3.36 ล้านราย ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้าและคำน้ำประปา ให้กับประชาชนจำนวนกว่า 28.37 ล้านราย นอกจากนี้ยังเพิ่มวงเงินให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีผู้ใช้สิทธิ์ประมาณ 13.44 ล้านราย และผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่มีผู้ใช้สิทธิ์ประมาณ 1.45 ล้านราย

          แผนงานที่ 3 การใช้จ่ายเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการใช้จ่ายสำหรับโครงการเพื่อส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs โดยมีนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคมได้รับเงินอุดหนุน จำนวน 240,718 แห่ง และลูกจ้างได้รับประโยชน์ จำนวน 3.43 ล้านราย รวมทั้งดำเนินโครงการเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศโดยสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ จำนวนกว่า 1.31 ล้านราย ผ่านการดำเนินโครงการเพิ่มวงเงินสนับสนุนโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการเพิ่มวงเงินสนับสนุนโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12218

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!