ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 06 December 2022 21:40
- Hits: 2176
ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอดังนี้
1. แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)
2. ให้หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และภาคเอกชนแปลงแนวทางตามแผนปฏิบัติการฯ สู่การปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีและรายงานผลการดำเนินงานในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนด
สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าวเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้วหรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และในปีต่อๆ ไปให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจเท่าที่จำเป็นเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ร่าง แผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะเวลาดำเนินการ |
พ.ศ. 2566-2570 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมาย |
หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และภาคเอกชน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแปลงแนวทางการพัฒนาของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (21) ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบฯ ผลักดันไปสู่การปฏิบัติ และบริหารการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย |
- เป้าหมายภาพรวมได้กำหนด “ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ” รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริต หน่วยงานและองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานภาครัฐต่างๆ มีการดำเนินงานอย่างโปร่งใส อัตราการเกิดคดีทุจริตมีแนวโน้มลดลง ประชาชนมีทัศนคติที่ไม่ยอมรับการทุจริต และมีผลการประเมิน CPI ที่สูงขึ้น ดังนั้น ควรมุ่งเน้นที่จะศึกษาวิเคราะห์การดำเนินการให้ครบถ้วนตามประเด็นการประเมินการรับรู้การทุจริต และส่งเสริมการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในด้านต่างๆ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ของนานาชาติ - ตัวชี้วัดภาพรวมได้กำหนดไว้ ดังนี้
- เป้าหมายภายใต้แผนย่อย ประกอบด้วย 2 แผนย่อย 3 เป้าหมาย และ 9 ตัวชี้วัด ดังนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แนวทางการดำเนินงาน |
1. การขับเคลื่อนเป้าหมายภาพรวม ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ CPI ของประเทศไทย มีแนวทางการดำเนินงาน เช่น ผลักดันการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคะแนน CPI ที่หน่วยงานรับผิดชอบหลักเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีมติเห็นชอบ โดยกำหนดให้มีแผนการขับเคลื่อนและผลักดันสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในทุกขั้นตอนของการอนุญาตโดยให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุญาตน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 2. การขับเคลื่อนเป้าหมายที่ 1 ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายที่ 2 คดีทุจริตและประพฤติมิชอบลดลง และเป้าหมายที่ 3 การดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ มีแนวทางการดำเนินงาน เช่น (1) ปลูกฝังวิธีคิด ปลุกจิตสำนึก ให้มีวัฒนธรรม และพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดีและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ (2) ป้องกันการทุจริตและพฤติมิชอบ มุ่งเน้นการพัฒนามาตรการและกระบวนการในการป้องปรามการทุจริตให้เท่าทันต่อพลวัตของการทุจริตโดยให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดคดีทุจริต และ (3) ปราบปรามการทุจริต มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินคดีทุจริตให้รวดเร็วและเป็นธรรมตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมถึงบูรณาการฐานข้อมูลด้านการปราบปรามการทุจริต |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงการ/งบประมาณ |
แหล่งงบประมาณ ได้แก่ งบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ งบประมาณภายใต้กองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (กองทุน ป.ป.ช.) และงบดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งจำแนกตามเป้าหมายยได้ ดังนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กลไกการขับเคลื่อน |
การขับเคลื่อนอาศัยหน่วยงานและองค์กรต่างๆ จากทุกภาคส่วนมาร่วมคิดตัดสินใจ ดำเนินงาน และตรวจสอบประเมินผล ซึ่งประกอบด้วย (1) กลไกระดับนโยบาย ได้แก่ คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ จังหวัด (2) กลไกสนับสนุน ได้แก่ คณะอนุกรรมการผลักดันแผนแม่บท คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่นๆ และ (3) กลไกปฏิบัติการ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) กลุ่มงานจริยธรรม ส่วนงานที่มีหน้าที่และภารกิจในด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล การป้องกันและปราบปรามการทุจริต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การติดตาม และประเมินผล |
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถดำเนินการตามแผนและรับทราบผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคเป็นระยะๆ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมต่อทรัพยากร สภาพแวดล้อม และปัจจัยอื่นๆ ได้โดยกำหนดการติดตามและประเมินผลใน 3 ระดับ ได้แก่ (1) การประเมินภาพรวมของแผน โดยจะประเมินผลเมื่อสิ้นปีงบประมาณและเมื่อสิ้นสุดแผน (2) การติดตามประเมินผลในระดับเป้าหมายแผนย่อย โดยจะติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ และ (3) การติดตามประเมินผลการดำเนินงานระดับโครงการในแต่ละเป้าหมาย โดยจะติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการทุกไตรมาส |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 พฤศจิกายน 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A12214