WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570)

GOV 8

ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (.. 2566 – 2570)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ...) เสนอดังนี้

          1. แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (.. 2566-2570) 

          2. ให้หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และภาคเอกชนแปลงแนวทางตามแผนปฏิบัติการฯ สู่การปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีและรายงานผลการดำเนินงานในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนด

          สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าวเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้วหรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และในปีต่อๆ ไปให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจเท่าที่จำเป็นเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

          ร่าง แผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (.. 2566-2570) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

สาระสำคัญ

ระยะเวลาดำเนินการ

.. 2566-2570

กลุ่มเป้าหมาย

หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และภาคเอกชน

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแปลงแนวทางการพัฒนาของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (21) ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบฯ ผลักดันไปสู่การปฏิบัติ และบริหารการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด

เป้าหมาย ตัวชี้วัด

และค่าเป้าหมาย

- เป้าหมายภาพรวมได้กำหนดประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบรัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริต หน่วยงานและองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานภาครัฐต่างๆ มีการดำเนินงานอย่างโปร่งใส อัตราการเกิดคดีทุจริตมีแนวโน้มลดลง ประชาชนมีทัศนคติที่ไม่ยอมรับการทุจริต และมีผลการประเมิน CPI ที่สูงขึ้น ดังนั้น ควรมุ่งเน้นที่จะศึกษาวิเคราะห์การดำเนินการให้ครบถ้วนตามประเด็นการประเมินการรับรู้การทุจริต และส่งเสริมการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในด้านต่างๆ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ของนานาชาติ

- ตัวชี้วัดภาพรวมได้กำหนดไว้ ดังนี้

 

ปี

CPI ของประเทศไทย (อันดับ/คะแนน)

หน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA (ร้อยละ)

2566

อยู่ในอันดับ 1 ใน 53 และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 51 คะแนน

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 84

2567

อยู่ในอันดับ 1 ใน 51 และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 53 คะแนน

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 84

2568

อยู่ในอันดับ 1 ใน 48 และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 45 คะแนน

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 86

2569

อยู่ในอันดับ 1 ใน 45 และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 56 คะแนน

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 93

2570

อยู่ในอันดับ 1 ใน 43 และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 57 คะแนน

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100

 

- เป้าหมายภายใต้แผนย่อย ประกอบด้วย 2 แผนย่อย 3 เป้าหมาย และ 9 ตัวชี้วัด ดังนี้

 

เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ปี 2566

ปี 2567

ปี 2568

ปี 2569

ปี 2570

1. แผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ มี 2 เป้าหมาย ได้แก่ (1) ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต และ (2) คดีทุจริตและประพฤติมิชอบลดลงและมี 7 ตัวชี้วัด เช่น

ร้อยละของเด็กและเยาวชนไทยมีพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต

ร้อยละ 80

ร้อยละ 82

ร้อยละ 84

ร้อยละ 86

ร้อยละ 88

ร้อยละของหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA

ร้อยละ 84

ร้อยละ 84

ร้อยละ 86

ร้อยละ 93

ร้อยละ 100

จำนวนคดีทุจริตในภาพรวมลดลง

ร้อยละ 10

ร้อยละ 20

ร้อยละ 30

ร้อยละ 40

ร้อยละ 50

2. แผนย่อยการปราบปรามการทุจริต มีเป้าหมาย คือ การดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ และมี 2 ตัวชี้วัด ได้แก่

กระบวนการดำเนินคดีทุจริตที่จำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาเกินกว่ากรอบเวลาปกติที่กฎหมายกำหนด

ไม่เกินร้อยละ 20

จำนวนคดีอาญาที่หน่วยงานไต่สวนคดีทุจริตถูกฟ้องกลับ

ไม่เกินร้อยละ 3 ของจำนวนคดีที่ส่งฟ้อง

 

แนวทางการดำเนินงาน

1. การขับเคลื่อนเป้าหมายภาพรวม ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ CPI ของประเทศไทย มีแนวทางการดำเนินงาน เช่น ผลักดันการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคะแนน CPI ที่หน่วยงานรับผิดชอบหลักเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีมติเห็นชอบ โดยกำหนดให้มีแผนการขับเคลื่อนและผลักดันสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในทุกขั้นตอนของการอนุญาตโดยให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุญาตน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2. การขับเคลื่อนเป้าหมายที่ 1 ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายที่ 2 คดีทุจริตและประพฤติมิชอบลดลง และเป้าหมายที่ 3 การดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ มีแนวทางการดำเนินงาน เช่น (1) ปลูกฝังวิธีคิด ปลุกจิตสำนึก ให้มีวัฒนธรรม และพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดีและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ (2) ป้องกันการทุจริตและพฤติมิชอบ มุ่งเน้นการพัฒนามาตรการและกระบวนการในการป้องปรามการทุจริตให้เท่าทันต่อพลวัตของการทุจริตโดยให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดคดีทุจริต และ (3) ปราบปรามการทุจริต มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินคดีทุจริตให้รวดเร็วและเป็นธรรมตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมถึงบูรณาการฐานข้อมูลด้านการปราบปรามการทุจริต

โครงการ/งบประมาณ

แหล่งงบประมาณ ได้แก่ งบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ งบประมาณภายใต้กองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (กองทุน ...) และงบดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งจำแนกตามเป้าหมายยได้ ดังนี้

 

เป้าหมาย

จำนวนโครงการ

ประมาณการวงเงิน

งบประมาณ (ล้านบาท)

เป้าหมายที่ 1 ประชาชนมีวัฒนธรรม และพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต

331

2,752.01

เป้าหมายที่ 2 คดีทุจริตและประพฤติมิชอบลดลง

162

684.84

เป้าหมายที่ 3 การดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็วเป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ

112

311.85

รวม

605

3,748.70

 

กลไกการขับเคลื่อน

การขับเคลื่อนอาศัยหน่วยงานและองค์กรต่างๆ จากทุกภาคส่วนมาร่วมคิดตัดสินใจ ดำเนินงาน และตรวจสอบประเมินผล ซึ่งประกอบด้วย (1) กลไกระดับนโยบาย ได้แก่ คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ จังหวัด (2) กลไกสนับสนุน ได้แก่ คณะอนุกรรมการผลักดันแผนแม่บท คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่นๆ และ (3) กลไกปฏิบัติการ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) กลุ่มงานจริยธรรม ส่วนงานที่มีหน้าที่และภารกิจในด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล การป้องกันและปราบปรามการทุจริต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การติดตาม

และประเมินผล

รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถดำเนินการตามแผนและรับทราบผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคเป็นระยะๆ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมต่อทรัพยากร สภาพแวดล้อม และปัจจัยอื่นๆ ได้โดยกำหนดการติดตามและประเมินผลใน 3 ระดับ ได้แก่ (1) การประเมินภาพรวมของแผน โดยจะประเมินผลเมื่อสิ้นปีงบประมาณและเมื่อสิ้นสุดแผน (2) การติดตามประเมินผลในระดับเป้าหมายแผนย่อย โดยจะติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ และ (3) การติดตามประเมินผลการดำเนินงานระดับโครงการในแต่ละเป้าหมาย โดยจะติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการทุกไตรมาส

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12214

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!