(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 06 December 2022 21:18
- Hits: 2161
(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) (แผนปฏิบัติการฯ) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
ทั้งนี้ สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้แผนปฏิบัติการดังกล่าว เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนงบประมาณรายจ่าย หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ และในปีงบประมาณต่อๆ ไป ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญ โดยสรุปได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
1.2 เพื่อให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ พัฒนาระบบและการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม
1.3 เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม
2. เป้าหมาย : คนไทยมีพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรมเพิ่มขึ้น มุ่งสู่สังคมคุณธรรมที่คนไทย อยู่ร่วมกันด้วยความสมานฉันท์ ภายใต้หลักธรรมทางศาลนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม และประเทศไทยปลอดทุจริตและประพฤติมิชอบ
3. ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด
3.1 ดัชนีคุณธรรม 5 ประการ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู” เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ภายในปี พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2565
3.2 หน่วยงานภาครัฐน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงาน มีค่าการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA)1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ภายในปี พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2565
(หมายเหตุ: ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีค่าดัชนีคุณธรรม 5 ประการ จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน ดังนี้ (1) กตัญญู 5.11 คะแนน (2) จิตอาสา/จิตสาธารณะ 4.77 คะแนน (3) พอเพียง 4.61 คะแนน (4) สุจริต 4.49 คะแนน (5) วินัย/รับผิดชอบ 4.18 คะแนน และมีค่า ITA 87.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน)
4. แนวทางการดำเนินการ ประกอบด้วย 3 แผนย่อย ดังนี้
แผนย่อยที่ 1 การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย |
||||
เป้าหมาย |
ตัวชี้วัด |
ค่าเป้าหมาย |
||
เป้าหมายที่ 1 ประชากรมีกิจกรรมการปฏิบัติตนที่สะท้อนการมีคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มขึ้น |
จำนวนประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมการปฏิบัติตนที่สะท้อนการมีคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มขึ้น |
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีจากข้อมูลปีฐาน ปี พ.ศ. 2565 เป็นค่าตั้งต้น |
||
เป้าหมายที่ 2 จำนวนเครือข่ายทางสังคมที่มีขีดความสามารถในการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทยเพิ่มขึ้น |
จำนวนเครือข่ายทางสังคมมีขีดความสามารถในการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทยเพิ่มขึ้น |
เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ภายในปี พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน ปี พ.ศ. 2565 เป็นค่าตั้งต้น |
||
แนวทางการพัฒนา (6 แนวทาง 10 โครงการ) |
||||
แนวทางการพัฒนา |
โครงการ |
ผู้รับผิดชอบ |
||
แนวทางที่ 1 สร้างพื้นที่และสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมหรือการทำความดี |
(1) โครงการสร้างเสริมสภาพแวดล้มที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรมบนฐานชีวิตวิถีใหม่ (2) โครงการพัฒนาชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัดคุณธรรม (3) โครงการพิพิธภัณฑ์ในมิติด้านคุณธรรม |
วธ./สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานทุกภาคส่วน |
||
แนวทางที่ 2 ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล ชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัด คุณธรรม |
โครงการค้นหา/คัดเลือก/ยกย่องเชิดชูบุคคลหรือองค์กรด้านการส่งเสริมคุณธรรม |
หน่วยงานทุกภาคส่วน |
||
แนวทางที่ 3 ส่งเสริมให้สถาบันศาสนาเป็นศูนย์กลางชุมชนและขับเคลื่อนคุณธรรมด้วยพลังบวร (บ้าน-วัด/ศาสนสถาน-โรงเรียน/ราชการ) 1 ชุมชน 1 สถาบันศาสนา |
โครงการส่งเสริมสถาบันศาสนาเป็นศูนย์กลางชุมชนและขับเคลื่อนคุณธรรมด้วยพลังบวร |
กระทรวงมหาดไทย (มท.) /วธ./พศ. |
||
แนวทางที่ 4 พัฒนาขีดความสามารถของชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัดคุณธรรม สู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม |
โครงการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัดคุณธรรม สู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม |
สำนักนายกรัฐมนตรี/มท./วธ./กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) |
||
แนวทางที่ 5 ส่งเสริมการนำคุณธรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากภัยธรรมชาติ และวิกฤติโรคอุบัติใหม่ |
(1) โครงการส่งเสริมการนำคุณธรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (2) โครงการส่งเสริมการนำคุณธรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากภัยธรรมชาติ และวิกฤติโรคอุบัติใหม่ |
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
||
แนวทางที่ 6 สนับสนุนส่งเสริมกลไกของชุมชนให้มีระบบพี่เลี้ยงเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน |
โครงการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงชุมชน |
มท./กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)/วธ. |
||
กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ เช่น (1) กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณงบบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม (2) การนำโครงการของแผนย่อยที่ 1 ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 เข้าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หลังการประกาศแผน
|
||||
แผนย่อยที่ 2 การพัฒนาระบบและการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม |
||||
เป้าหมาย |
ตัวชี้วัด |
ค่าเป้าหมาย |
||
เป้าหมายที่ 1 จำนวนเครือข่าย/องค์กรที่ร่วมกันทำกิจกรรมสาธารณะเพิ่มขึ้น |
จำนวนเครือข่าย/องค์กรจากทุกภาคส่วนที่ร่วมกันทำกิจกรรมสาธารณะเพิ่มขึ้น เช่น การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบโครงการของรัฐ |
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีจากข้อมูลปีฐานปี พ.ศ. 2565 |
||
เป้าหมายที่ 2 จำนวนองค์กรเครือข่ายทางสังคมที่มีการพัฒนาระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit) เพื่อรองรับการส่งเสริมคุณธรรม |
จำนวนองค์กรเครือข่ายทางสังคมที่มีการพัฒนาระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit) ที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยเพื่อรองรับการส่งเสริมคุณธรรมเพิ่มขึ้น |
เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ภายในปี พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2566 |
||
เป้าหมายที่ 3 จำนวนหน่วยงานภาครัฐมีค่า ITA ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น |
จำนวนหน่วยงานภาครัฐมีค่า ITA ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น |
เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ภายในปี พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2565 |
||
แนวทางการพัฒนา (4 แนวทาง และ 6 โครงการ) |
||||
แนวทางการพัฒนา |
โครงการ |
ผู้รับผิดชอบ |
||
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในทุกช่วยวัยโดยนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมไทย |
โครงการพัฒนาระบบเครดิตทางสังคมให้เป็นเครื่องมือเพื่อการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย |
พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
||
แนวทางที่ 2 สร้างกลไกเครือข่ายคุณธรรมและระบบการสนับสนุนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง |
(1) โครงการพัฒนาระบบและการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรมบนฐานชีวิตวิถีใหม่ (2) โครงการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมให้บรรลุเป้าหมาย |
พม./มท./วธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
||
แนวทางที่ 3 พัฒนากลไกให้หน่วยงานภาครัฐขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมตามหลักธรรมทางศาสนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมไทย ที่ดีงาม |
(1) โครงการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมตามหลักธรรมทางศาสนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามอย่างเป็นระบบของหน่วยงานภาครัฐส่วนกลางและส่วนภูมิภาคสู่องค์กรคุณธรรม (2) โครงการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมตามหลักธรรมทางศาลนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามอย่างเป็นระบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์กรคุณธรรม |
สำนักงาน ก.พ.ร./มท. |
||
แนวทางที่ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรม |
โครงการสมัชชาคุณธรรม ตลาดนัดคุณธรรม ตลาดนัดความดี |
วธ./มท. |
||
กิจกรมที่ต้องดำเนินการ เช่น (1) พัฒนาระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit) ให้เป็นเครื่องมือเพื่อการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย อาทิ ธนาคารความดี นวัตกรรมสังคมแบบเปิดโดยภาครัฐ : “คนดีมีที่ยืน ความดีมีพื้นที่ในสังคม” เป็นต้น (2) การเชื่อมโยงเครื่องมือการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐจากผลงานวิจัยสู่ระบบการประเมิน ITA
|
||||
แผนย่อยที่ 3 การส่งเสริมการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม |
||||
เป้าหมาย |
ตัวชี้วัด |
ค่าเป้าหมาย |
||
1. ทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทยเพิ่มขึ้น |
|
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ภายในปี พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน ปี พ.ศ. 2565 |
||
2. จำนวนคนที่ได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตจากการส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรเครือข่ายเพิ่มขึ้น |
|
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีจากข้อมูลปีฐาน ปี พ.ศ. 2566 |
||
แนวทางการพัฒนา (3 แนวทาง และ 5 โครงการ) |
||||
แนวทางการพัฒนา |
โครงการ |
ผู้รับผิดชอบ |
||
แนวทางที่ 1 กำหนดให้สถานศึกษาทุกระดับของหน่วยงานทุกภาคส่วนสะท้อนกระบวนการจัดการศึกษาที่บรรลุเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ |
โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีพฤติกรรมและทักษะชีวิตที่สะท้อนคุณธรรมจริยธรรม |
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)/มท./กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรม (อว.)/วธ. |
||
แนวทางที่ 2 ส่งเสริมให้เกิดระบบการจัดการความรู้ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในชุมชนหรือหน่วยงาน |
(1) โครงการเรียนรู้/ปลูกฝัง/ส่งเสริม คุณธรรมบนฐานชีวิตวิถีใหม่ (2) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนให้มีขีดความสามารถในการส่งเสริมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย |
หน่วยงานทุกภาคส่วน |
||
แนวทางที่ 3 ส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัยพัฒนา และเผยแพร่ระบบการจัดการความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรม |
(1) โครงการส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัย พัฒนา สำรวจ รวบรวม และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรมในสถานการณ์ต่างๆ (2) โครงการพัฒนาสื่อส่งเสริมคุณธรรมที่เหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย |
ศธ./อว./วธ./กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)/สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
||
กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ เช่น การกำหนดให้สถานศึกษาของหน่วยงานทุกภาคส่วน (โดยเฉพาะภาครัฐ) สะท้อนกระบวนการและผลการจัดการศึกษาที่บรรลุเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม |
5. กลไกการขับเคลื่อนและรายงานผล: เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักหรือผู้รับผิดชอบร่วม สามารถนำแผนปฏิบัติการฯ ไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย และเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและตามประเด็นยุทธศาสตร์ชาติภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการในภาพรวม ดังนี้
ระดับ |
รายละเอียด |
คณะกรรมการฯ |
โดยสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการฯ นำโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ เข้าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ของ สศช. หลังการประกาศแผนตามมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งทำหน้าที่ในการประสาน กำกับ ดูแล ติดตาม เสนอแนะและให้ความเห็น ตลอดจนการสนับสนุนและให้ข้อเสนอทางวิชาการในการส่งเสริมคุณธรรม ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ทบทวนปัญหาและอุปสรรค และรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติการฯ ทุกปีงบประมาณ |
คณะอนุกรรมการระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ |
เป็นระบบกลไกบริหารขับเคลื่อนและการติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ในการนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างประสบผลสำเร็จ ทำหน้าที่ในการประสาน กำกับ ดูแล ติดตาม เสนอแนะและให้ความเห็นต่อคณะอนุกรรมการระดับปฏิบัติการ ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และทบทวน สรุปผลการดำเนินงานเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการฯ โดยมีสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการฯ เป็นหน่วยงานเชื่อมประสานการดำเนินงานของแต่ละคณะ |
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ |
1. นำโครงการหรือชุดโครงการหรือโครงการย่อย และรายงานผลการได้รับการจัดสรร หรือสาเหตุที่ไม่ได้รับการจัดสรร รวมทั้งสาเหตุที่ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมดังกล่าวได้ 2. รายงานผลการดำเนินโครงการในระบบ eMENSCR ของ สศช. เฉพาะตัวชี้วัดที่ 1 ของแต่ละแผนย่อย 3. รายงานผลการดำเนินงานในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานและ/หรือแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม ประจำปีของหน่วยงานเพื่อรายงานต่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับปฏิบัติการ (กระทรวง/จังหวัด/กรุงเทพมหานคร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) และรายงานต่อคณะกรรมการฯ รับทราบตามลำดับ 4. จัดทำฐานข้อมูลผู้เข้าร่วมกิจกรรมการปฏิบัติตนที่สะท้อนการมีคุณธรรม จริยธรรม เตรียมนำเข้าข้อมูลในระบบเครดิตสังคม (Social Credit) ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาในแผนปฏิบัติการฯ |
6. งบประมาณที่ขอรับจัดสรรภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 รวมจำนวนทั้งสิ้น 344.69 ล้านบาท
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ : จะเป็นกลไกเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายระดับชาติสร้างสังคมไทยที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัย เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ ทุกมิติและทุกระดับ ดังนี้
ระดับ |
รายละเอียด |
ระดับบุคคล |
ประชาชนได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตจากการส่งเสริมคุณธรรม มีพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรม “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู” น้อมนำหลักธรรมทางศาสนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงวิถีวัฒนธรรมไทย และยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ |
ระดับสังคม |
ครอบครัว ชุมชน และองค์กรทุกภาคส่วนมีขีดความสามารถในการพัฒนาระบบกลไกการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรมที่เข้มแข็ง ยกระดับมาตรฐานการขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมในรูปแบบวิถีใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม |
ระดับประเทศ |
ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยคุณธรรมอย่างยั่งยืน สังคมไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ เกิดความสงบสุข สมานฉันท์ และเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศมากขึ้น |
___________________________________
1 ITA เป็นเครื่องมือในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนราชการ ซึ่งจะดำเนินการทุกปีงบประมาณโดยการประเมินจะใช้แบบสอบถามครอบคลุม 5 ประเด็น ได้แก่ (1) การสร้างความโปร่งใสในการดำเนินของหน่วยงาน (2) การส่งเสริมความพร้อมในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ (3) การปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน (4) การสร้างวัฒนธรรมคุณธรรมในหน่วยงาน และ (5) การส่งเสริมคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 พฤศจิกายน 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A12211