การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรม
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 22 November 2022 22:32
- Hits: 1591
การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและสาขาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) ของโรงแรม1 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมให้มีเงินทุนเพียงพอสำหรับ การดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการกู้เงิน จาก 7 ปี เป็น 10 ปี และให้ผู้ประกอบการ รายย่อยสามารถเข้าร่วมโครงการได้ด้วย ไปพิจารณาดำเนินการ
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า
1. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) เพื่อปรับปรุงหรือซ่อมแซมสถานประกอบกิจการหรือลงทุนในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องอบผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้าอุตสาหกรรม เป็นต้น รวมถึงเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ โดยปัจจุบันธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อไปแล้วจำนวน 64 ราย จำนวน 124 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.48 ของวงเงินรวมทั้งหมด 5,000 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)
2. กค. เห็นว่า เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องมากขึ้น ทำให้มีเงินทุนในการฟื้นฟูธุรกิจและ มีสภาพคล่องที่เพียงพอให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และเพื่อให้ธนาคารออมสินมีระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์โครงการและนำเสนอผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มเป้าหมาย จึงเห็นควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการดำเนินโครงการในส่วนของคุณสมบัติผู้กู้ วัตถุประสงค์การให้สินเชื่อ ระยะเวลาชำระเงินกู้ และระยะเวลารับคำขอสินเชื่อ สรุปได้ ดังนี้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข |
หมายเหตุ |
|||
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 |
ขอปรับปรุงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ |
|||
1. คุณสมบัติผู้กู้ |
||||
1.1 ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม |
คงเดิม |
- |
||
1.2 กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมหรืออยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2563 |
กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมหรืออยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม |
เพื่อให้การช่วยเหลือครอบคลุมผู้ประกอบการที่ยังอยู่ระหว่างยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมด้วย |
||
1.3 มีกำไรอย่างน้อย 1 ใน 3 ปีย้อนหลังล่าสุด |
มีกำไรอย่างน้อย 1 ใน 5 ปีย้อนหลังล่าสุดและปัจจุบันยังประกอบกิจการอยู่ |
เพื่อให้ครอบคุลมผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการดีก่อนสถานณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 |
||
1.4 กรณีเป็นนิติบุคคล ส่วนของผู้ถือหุ้นต้องไม่ติดลบ |
คงเดิม |
- |
||
1.5 ประวัติการชำระหนี้ - ไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPLs) ไม่ถูกดำเนินคดี ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ณ วันยื่นคำขอ - กรณีลูกหนี้ปกติ ไม่มีหนี้ค้างชำระก่อนวันยื่นขอเข้าโครงการ - กรณีลูกหนี้เคยปรับเงื่อนไขการชำระหนี้หรือเคยปรับโครงสร้างหนี้ที่ผ่านมา ต้องไม่มีหนี้ค้างชำระก่อนวันยื่นขอเข้าโครงการ
ทั้งนี้ เป็นการให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Refinance) |
ประวัติการชำระหนี้ ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ - กรณีมีประวัติการผ่อนชำระปกติต้องมีสถานะบัญชีปกติ2 ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการ - กรณีมีประวัติค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ต้องมีสถานะบัญชีปกติ ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการ - กรณีมีประวัติเป็น NPLs ต้องอยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ต้องผ่อนชำระได้ตรงตามเงื่อนไข และไม่มีหนี้ค้างชำระตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการ
โดยต้องไม่ถูกดำเนินคดีและไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ทั้งนี้ เป็นการให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Refinance) |
ปรับปรุงถ้อยคำและเพิ่มความชัดเจนในการพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีประวัติชำระหนี้ดี หรือมีหนี้ค้างชำระ และมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วแต่สามารถชำระหนี้ได้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น |
||
2. วัตถุประสงค์ |
||||
เพื่อปรับปรุงหรือซ่อมแซมสถานประกอบกิจการหรือลงทุนในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องอบผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้าอุตสาหกรรม เป็นต้น |
เพื่อปรับปรุงหรือซ่อมแซมสถานประกอบกิจการหรือลงทุนในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องอบผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้าอุตสาหกรรม เป็นต้น รวมถึงเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ |
ขยายวัตถุประสงค์การให้สินเชื่อเพื่อให้ครอบคลุมถึงการให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการสำหรับเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวด้วย |
||
3. ประเภทสินเชื่อ |
||||
เงินกู้ระยะยาว (L/T) |
คงเดิม |
- |
||
4. วงเงินโครงการ |
||||
5,000 ล้านบาท |
คงเดิม |
- |
||
5. วงเงินสินเชื่อต่อราย |
||||
ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท |
คงเดิม |
- |
||
6. ระยะเวลาชำระเงินกู้ |
||||
ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 7 ปี โดยมีระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 2 ปี ในกรณีที่มีระยะเวลาการกู้ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป |
- กรณีให้สินเชื่อเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมสถานประกอบกิจการ และลงทุนในอุปกรณ์ต่างๆ ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 7 ปี โดยมีระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 2 ปี ในกรณีที่มีระยะเวลาการกู้ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป - กรณีให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 5 ปี โดยมีระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน ในกรณีที่มีระยะเวลาการกู้ตั้งแต่ 1 ปี 6 เดือนขึ้นไป |
- |
||
7. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ |
||||
ปีที่ 1 - 2 ร้อยละ 1.99 ต่อปี ปีที่ 3 - 7 เป็นไปตามที่ธนาคารออมสินกำหนด |
คงเดิม |
- |
||
8. หลักประกัน |
||||
(1) หลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มวงเงิน หรือ (2) หลักทรัพย์ค้ำประกันร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) หรือ (3) บสย. ค้ำประกันเต็มวงเงิน |
คงเดิม |
- |
||
9. ระยะเวลาการยื่นขอสินเชื่อ |
||||
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อรวมในโครงการจะหมด แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อนและให้เบิกจ่ายเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับจากวันทำนิติกรรมสัญญา ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม 2566 |
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อรวมในโครงการจะหมด แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อนและให้เบิกจ่ายเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับจากวันทำนิติกรรมสัญญา ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม 2566 |
เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องมากขึ้น และเพื่อให้ธนาคารออมสินมีระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์โครงการและนำเสนอผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รวมถึงให้ลูกค้ามีระยะเวลาจัดเตรียมเอกสารและเตรียมความพร้อมในการยื่นขอสินเชื่อ |
||
10. การชดเชยจากรัฐบาล |
||||
รัฐบาลชดเชยต้นทุนเงินให้กับธนาคารออมสินในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 200 ล้านบาท (วงเงิน 5,000 ล้านบาท * ร้อยละ 2 ต่อปี * ระยะเวลา 2 ปี) โดยธนาคารออมสินจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต้อไป |
คงเดิม |
- |
||
11. เงื่อนไขอื่นๆ |
||||
(1) ธนาคารออมสินแยกบัญชีโครงการเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) (2) ธนาคารออมสินสามารถนำส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ได้รับชดเชยเพื่อบวกกลับในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจได้ (3) ธนาคารออมสินสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งของธนาคารได้ |
คงเดิม |
- |
ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้น โดยยังอยู่ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณชดเชยเดิม รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ ยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565
_____________________________
1 กค. แจ้งว่า ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) ของโรงแรม หมายถึง ธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการให้กับธุรกิจโรงแรม เช่น ร้านซักรีด ธุรกิจติดตั้งระบบไฟฟ้า/ระบบปรับอากาศ ธุรกิจจัดเลี้ยง (catering) เป็นต้น โดยธนาคารออมสินจะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าธุรกิจใดบ้างที่เข้าข่ายเป็น Supply Chain ของธุรกิจโรงแรมดังกล่าว
2 เป็นสถานะบัญชีในรายงานข้อมูลเครดิตบูโร โดยสถานะบัญชีปกติ หมายถึง มีการชำระสินเชื่อตามปกติ จ่ายครบจ่ายตรงตามเงื่อนไข ไม่มียอดค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 พฤศจิกายน 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A11974