WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี

GOV 17

กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อกรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี รวมทั้งเห็นชอบในหลักการต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ (Ministerial Declaration) และภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ (Annex) พร้อมทั้งอนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ (Ministerial Declaration) และภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ (Annex) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ต่อประเทศไทยให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาโดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          1. กรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (CED 7) ระดับรัฐมนตรี จะดำเนินการบนพื้นฐานความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (.. 2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560 -2564) ซึ่งขยายการบังคับใช้แผนถึง .. 2565 และหมุดหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ตลอดจนแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          2. การประชุม CED 7 สมาชิกเอสแคปจะร่วมกันรับรองเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่

                 1) ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการปกป้องโลกของเราผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่แสดงความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเน้นย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ การลดมลพิษทางอากาศ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน การยกระดับเข้าถึงข้อมูลและกระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของสาธารณชน รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งเน้นย้ำบทบาทของเอสแคปในการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับประเทศสมาชิกในการเสริมสร้างขีดความสามารถ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เพื่อต่อสู้กับปัญหาและความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม

                 2) แผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยมลพิษทางอากาศ (ภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ) แสดงถึงแนวทางในการตอบสนองต่อความท้าทายด้านมลพิษทางอากาศระดับภูมิภาค อาทิ การส่งเสริมความร่วมมือด้านนโยบายวิทยาศาสตร์สำหรับการจัดการคุณภาพอากาศ การจัดตั้งเวทีระดับภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางในการแก้ไขปัญหา การเสริมสร้างขีดความสามารถทางเทคนิคและการเงินเพื่อ เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาและการระดมความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกสำหรับการดำเนินการในระดับประเทศและความร่วมมือระดับภูมิภาค

          ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (CED 7) ระดับรัฐมนตรี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2565 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และผ่านระบบ การประชุมทางไกล

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11966

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!