WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด

GOV 19

การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด (บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ) จากภารกิจหลักที่ได้รับอนุมัติในคราวจัดตั้งบริษัทตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 เพื่อให้บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ สามารถขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจ ภายใต้หลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนในบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

          1. Maintenance Service Center: การให้บริการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง

          2. Parts Manufacturing: การผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง

          3. Operation Services: การให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ซึ่งบริษัท Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. (บริษัท MHI) หรือบริษัท Mitsubishi Power, Ltd. (บริษัท MP) หรือบริษัท Mitsubishi Corporation1 (บริษัท MC) ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          พน. รายงานว่า

          1. ภาพรวมของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ

บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 โดยมีทุนจดทะเบียน ผู้ถือหุ้นและการให้บริการธุรกิจ สรุปได้ ดังนี้

 

รายการ

สาระสำคัญ

1.1 ทุนจดทะเบียน

จำนวน 623 ล้านบาท แบ่งเป็นจำนวนหุ้น 6.23 ล้านหุ้น มีมูลค่าที่ตราไว้ที่หุ้นละ 100 บาท

1.2 ผู้ถือหุ้น

จำนวน 4 ราย ได้แก่

(1) กฟผ. ถือหุ้นร้อยละ 45

(2) บริษัท Mitsubishi Power Asia Pacific Pte. Ltd. (บริษัท MPAP) ถือหุ้นร้อยละ 30

(3) บริษัท MC ถือหุ้นร้อยละ 15

(4) บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 10

1.3 การให้บริการธุรกิจ

ประกอบธุรกิจตามสัญญาร่วมทุนระหว่างผู้ถือหุ้น (Joint Venture Agreement: JVA) ในการให้บริการซ่อมชิ้นส่วน Hot Gas Path ของเครื่องกังหันก๊าซที่ผลิตโดยบริษัท MHI/บริษัท MPAP และเครื่องกังหันก๊าซที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายอื่นครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทั้งในและต่างประเทศ โดยปัจจุบันสามารถดำเนินการซ่อมชิ้นส่วน Hot Gas Path Parts ยี่ห้อ Mitsubishi รุ่น M701D, M701F และ M251S ยี่ห้อ General Electric รุ่น 9E, 6B และ 9FA และยี่ห้อ Siemens รุ่น V94.3A

 

          2. เหตุผลความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ

2.1 ผลประกอบการของบริษัทมีแนวโน้มลดลง

 

ปริมาณงานซ่อมชิ้นส่วนเครื่องกังหันก๊าซไม่เป็นไปตามประมาณการไว้ เนื่องจาก Disruptive Technology และการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ในการผลิตไฟฟ้า ดังนั้น เพื่อให้บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ยังคงมีผลประกอบการที่มั่นคงและเติบโตอย่างต่อเนื่องยั่งยืน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้มากขึ้นในขอบเขตธุรกิจที่บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ มีความชำนาญ

2.2 ผลกระทบจาก Disruptive Technology

 

ปัจจุบัน มีการขยายตัวของการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้โรงงานไฟฟ้าประเภทกังหันก๊าซต้องลดกำลังการผลิตในบางส่วน และส่งกระทบต่อแผนการซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าที่ต้องยืดระยะเวลาออกไป ซึ่งส่งผลต่อรายได้จากงานซ่อมของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ที่จะลดลงในอนาคต

2.3 ความต้องการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

 

ด้วยบริบทของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินธุรกิจซ่อมชิ้นส่วนเครื่องกังหันก๊าซอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ดังนั้น บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ จึงเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจด้วยการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจหลัก (Core Business) ขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจซ่อมชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องกังหันก๊าซ (Refurbishment) โดยเพิ่มธุรกิจบำรุงรักษา (Maintenance) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

2.4 ความต้องการต่อยอดความเชี่ยวชาญของบุคลากร

 

ด้วยบุคลากรของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ มีความเชี่ยวชาญในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับงานซ่อมบำรุงเครื่องกังหันก๊าซอีกด้วย ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การดำเนินธุรกิจ Maintenance รวมถึงการให้บริการด้านการบริหารจัดการอะไหล่แก่โรงไฟฟ้าและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันของบริษัทให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

 

 

BANPU 720x100

 

          3. การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ

                 3.1 บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ จะขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจจากการให้บริการซ่อมชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องกังหันก๊าซ โดยเพิ่มการให้บริการที่ครอบคลุมการบำรุงรักษาและการผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยแบ่งเป็น 2 ธุรกิจหลัก ได้แก่ (1) ธุรกิจการให้บริการบำรุงรักษา (Maintenance Service Center) และ (2) ธุรกิจการผลิตชิ้นส่วน (Parts Manufacturing) สรุปได้ ดังนี้

 

วัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ 

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552

 

การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ

ของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ

(1) การซ่อมชิ้นส่วน Hot Gas Path (ชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องกังหันก๊าซ) สำหรับเครื่องกังหันก๊าซที่ผลิตโดยบริษัท MHI หรือที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายอื่นๆ

(2) ให้บริการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าที่ใช้เครื่อง Gas Turbine ของบริษัท MHI

 

(1) Maintenance Service Center: การให้บริการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง

(งานตามภารกิจหลักในปัจจุบัน ในข้อ 1 และ 2 แต่มีบางส่วนของงานที่ขยายเพิ่มเติม)

(2) Parts Manufacturing: การผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง

(งานที่ขยายเพิ่มเติมจากภารกิจหลักในปัจจุบัน)

(3) ให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้าซึ่งบริษัท MHI หรือ บริษัท MC ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว

 

(3) Operation Services: การให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ซึ่งบริษัท MHI หรือบริษัท MP หรือบริษัท MC ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว

(งานตามภารกิจเดิมตามข้อ 3)

 

                  3.2 บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ได้วิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนธุรกิจใหม่กับหลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนและกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ พบว่า แผนธุรกิจใหม่ยังมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากธุรกิจดำเนินการอยู่ในปัจจุบันและยังคงเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยไม่เป็นการดำเนินการที่เป็นภารกิจหลักของ กฟผ. แต่เป็นงานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับภารกิจหลักของ กฟผ. ทั้งนี้ บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ไม่ได้รับสิทธิพิเศษจาก กฟผ. แต่อย่างใด และไม่ได้ดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันกับเอกชน2

                 3.3 ในการดำเนินแผนธุรกิจใหม่ บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ สามารถใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ในปัจจุบัน มาใช้ในการดำเนินธุรกิจใหม่ด้วยทำให้ไม่มีการลงทุนเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี กรณีที่ต้องลงทุนในสินทรัพย์เพิ่มเติมในอนาคต บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ สามารถใช้เงินลงทุนจากเงินทุนหมุนเวียนภายในบริษัทและเงินกู้ ทั้งนี้ การดำเนินแผนธุรกิจใหม่จะส่งผลให้บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ มีสัดส่วนรายได้ส่วนเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 22.2 สัดส่วนกำไรสุทธิส่วนเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 22.4 และส่วนการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นส่วนเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 23.6

                 3.4 แผนการดำเนินงาน

 

การดำเนินงาน

เป้าหมาย

(1) คณะกรรมการ กฟผ. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ และร่างสัญญา Joint Venture Agreement ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม

เดือนมิถุนายน 2564

(เห็นชอบเมื่อ 23 มิถุนายน 2564)

(2) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) เห็นชอบร่างสัญญา Joint Venture Agreement ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม

เดือนพฤศจิกายน 2564 

(เห็นชอบเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2564)

(3) คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ

เดือนมีนาคม 2565 

(เห็นชอบเมื่อ 16 มีนาคม 2565)

(4) พน. พิจารณาเห็นชอบนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ

เดือนสิงหาคม 2565

(5) คณะรัฐมนตรีอนุมัติการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ

เดือนสิงหาคม 2565

(6) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ อนุมัติการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ

เดือนตุลาคม 2565

 

 

PTG 720x100

 

          4. ประโยชน์ที่จะได้รับ 

 

สำหรับ

 

สาระสำคัญ

ประเทศไทย

 

- การผลิตชิ้นส่วน Accessory Parts ภายในประเทศด้วยมาตรฐานเดียวกันกับผู้ผลิต จะช่วยลดการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศและยังมีโอกาสส่งชิ้นส่วนที่ผลิตได้เองในประเทศออกไปจำหน่ายได้ทั่วโลก

- ช่วยลดระยะเวลาในงานซ่อมและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ส่งผลให้โรงไฟฟ้ามีค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าในประเทศมีความมั่นคงเพิ่มมากขึ้น

- เพิ่มขีดความสามารถและการพึ่งพาตนเองด้านอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องได้มากขึ้นในอนาคต

ด้านอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ และสังคม

 

- เป็นผลดีต่อระบบความพร้อมจ่ายของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องของประเทศไทย เนื่องจากมีศูนย์ให้บริการบำรุงรักษาที่มีศักยภาพเทียบเท่าบริษัทผู้ผลิต (Original Equipment Manufacturer: OEM) ในประเทศ

- ได้รับเทคโนโลยีใหม่ๆ จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตและ/หรือเจ้าของเทคโนโลยี

- สนับสนุนให้ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมในประเทศมีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเป็น Outsource ให้กับบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ

- เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากลูกค้าต่างประเทศ

- ช่วยสร้างงานและรายได้ให้ประชาชน ซึ่งเป็นการสนับสนุนการจ้างงานภายในประเทศ

- ทำให้คนไทยได้เรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สูงขึ้น

กฟผ.

 

- เพิ่มขีดความสามารถในการเป็นผู้ให้บริการด้านการเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าอย่างครบวงจรจากการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างกลุ่ม กฟผ. และพันธมิตร

- เพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจเดินเครื่องและบำรุงรักษาให้กับ กฟผ

- สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจในระยะยาวจากผลตอบแทนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น

บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ

 

- ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในงานบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าและงานผลิตชิ้นส่วนในระดับสูงเทียบเท่าบริษัทผู้ผลิต

- สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจในระยะยาว

 

          5. คณะกรรมการ กฟผ. ในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ (1) การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของ บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ จากที่ได้รับอนุมัติในคราวจัดตั้งบริษัทตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 และให้นำเสนอ พน. คนร. และคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามลำดับ และ (2) ร่างสัญญา Joint Venture Agreement ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของ บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ พร้อมทั้งให้ กฟผ. ลงนามสัญญาร่วมทุนดังกล่าว เมื่อผ่านการตรวจพิจารณาจาก อส. แล้ว รวมทั้ง คนร. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการและให้ความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ กฟผ. ได้ปรับปรุงรายงานความเหมาะสมการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันด้วยแล้ว

_________________________________

1 บริษัท MC เป็นบริษัทที่จดทะเบียนตามกฎหมายประเทศญี่ปุ่น โดยดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหลายสาขา รวมถึงอุตสาหกรรมพลังงาน โลหะ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ อาหาร และธุรกิจที่เกี่ยวกับการค้าด้านต่างๆ

2 เนื่องจากเป็นการดำเนินธุรกิจที่จะต้องได้รับ License จากบริษัท MP และบริษัทในเครือของบริษัท MP ซึ่งไม่มีเอกชนรายอื่นในประเทศที่ได้รับ License ดังกล่าว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11731

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!