WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและส

1aaaD

รายงานสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม .. 2564 เดือนตุลาคม 2565

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 .. 2563 (พระราชกำหนดฯ .. 2563) และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม .. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม .. 2564) เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดฯ .. 2563 และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม .. 2564 เดือนตุลาคม 2565 สรุปได้ ดังนี้

          1. การบริหารกรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ .. 2563 และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม .. 2564 แผนงาน/โครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ .. 2563 และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม .. 2564 แบ่งเป็น 3 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เช่น ค่าใช้จ่ายบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มที่ 2 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาประชาชน เช่น การบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และกลุ่มที่ 3 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน โดยผลการบริหารกรอบวงเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 3 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ประมาณ 570,000 ล้านบาท ลดลงเป็นประมาน 351,514 ล้านบาท หรือร้อยละ 62 ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ในช่วงของการจัดทำร่างพระราชกำหนดฯ .. 2563 และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม .. 2564 ในขณะที่มีการดำเนินตามแผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้จาก 30,000 ล้านบาท เป็น 220,096 ล้านบาท และการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 2 ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ (กรอบวงเงินรวม 855,000ล้านบาท ดำเนินการรวมประมาณ 864,492 ล้านบาท)

 

sme 720x100

 

          2. ภาพรวมการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินกู้

                 2.1 พระราชกำหนดฯ .. 2563 วงเงินกู้ 1,000,000 ล้านบาท มีการอนุมัติโครงการที่เสนอขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ .. 2563 จำนวน 1,130 โครงการ รวมกรอบวงเงินกู้ 987,012.4097ล้านบาท ซึ่งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ลงนามสัญญากู้เงิน รวม 982,399 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 หน่วยงานรับผิดชอบโครงการได้เบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ .. 2563 เพื่อดำเนินโครงการแล้ว วงเงินรวม 950,193.7225 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.73

                 2.2 พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม .. 2564 วงเงินกู้ 500,000 ล้านบาท มีการอนุมัติโครงการรวมจำนวน 2,538 โครงการ รวมกรอบวงเงินกู้ 499,997.552 ล้านบาท ซึ่ง สบน. ได้กู้เงิน จำนวน 500,000 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 หน่วยงานรับผิดชอบได้เบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม .. 2564 เพื่อดำเนินโครงการแล้ววงเงินรวม 427,122.9789 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85.43

          3. ผลการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ

                 3.1 ด้านการแก้ไขปัญหาการระบาดโควิด-19

                          (1) กิจกรรมค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น เงินเยียวยาค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัยของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโควิด-19 ในชุมชน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินและบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา ทั้งนี้ มีโครงการที่ได้รับอนุมัติรวม 10 โครงการ วงเงินรวม 18,424.9458 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 6,222.1395 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 33.77

                          (2) กิจกรรมจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์การแพทย์และสาธารณสุข วัคซีนป้องกันโรค และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เช่น วัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน จำนวน 153.3 ล้านโดส ยารักษาโควิด-19 และภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือแอนติบอดี้ออกฤทธิ์ยาว จำนวน 257,500 โดส ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 45 โครงการ วงเงินรวม 80,910.4178 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 58,238.3801 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 71.98

                          (3) กิจกรรมค่าบำบัดรักษาป้องกันควบคุมโรค มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 14 โครงการ วงเงินรวม 172,443.4421 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 144,576.1258 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 83.84

                          (4) กิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านสถานพยาบาล เช่น การยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ จัดหายา และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 19 โครงการ วงเงินรวม 10,018.6396 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 9,566.4612 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 95.49

                          (5) กิจกรรมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 เช่น มีวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตในประเทศเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน การพัฒนาองค์ความรู้บุคลากรด้านสาธารณสุข และการพัฒนาระบบสื่อสารสั่งการของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 8 โครงการ วงเงินรวม 1,697.6952 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 1,612.0235 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 98.43

                 3.2 ด้านการเยียวยาและช่วยเหลือประชาชน

                          (1) กิจกรรมช่วยเหลือเยียวยาและชดเชยให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม เช่น การบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) มีโครงการได้รับอนุมัติ 45 โครงการ วงเงินรวม 758,505.1938 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 753,603.7019 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99.35

                          (2) กิจกรรมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพให้สามารถประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ผู้ขับรถรับจ้าง ผู้ขับขี่จักรยานยนต์สาธารณะ และศิลปิน ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 6 โครงการ วงเงินรวม 105,989.6830 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 104,720.2450 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 98.80

 

ais 720x100

 

                 3.3 ด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม

                          (1) กิจกรรมการพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรให้เข้าถึงปัจจัยการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่เกษตรกร และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหาร วงเงินอนุมัติรวม 25,121.3373 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 23,356.8836 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 92.98

                          (2) กิจกรรมการรักษาระดับการจ้างงานและพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน มีโครงการได้รับอนุมัติ 3 โครงการ วงเงินรวม 27,064.6102 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 27,035.0953 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99.89 ทั้งนี้ มีจำนวนลูกจ้างที่ได้รับการช่วยเหลือตามโครงการ 168,080 คน

                          (3) กิจกรรมการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดลมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 29,197 ราย เกิดการจ้างแรงงานในพื้นที่ 8,885 ราย ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 3,444 โครงการ วงเงินรวม 16,300.2758 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 8,922.6359 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 54.74

                          (4) กิจกรรมการกระตุ้นการบริโภคของภาคครัวเรือน เช่น โครงการคนละครึ่ง ดำเนินการรวม 5 ระยะ มีจำนวนประชาชนผู้ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 26.35 ล้านคน สามารถกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายรวม 418,644 ล้านบาท โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดำเนินการรวม 5 ระยะ มีจำนวนประชาชนผู้ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 13.61 ล้านคน สามารถกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายรวม 76,061 ล้านบาท ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 20 โครงการ วงเงินรวม 258,679.5711 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 232,837.9233 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 90.01

                          (5) กิจกรรมการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน (ด้านชลประทาน) โดยมีประชาชนที่ได้รับประโยชน์รวม 81,854 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 306,333 ไร่ และมีการจ้างงานในพื้นที่เพิ่มขึ้น 15,351 คน ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติ 4 โครงการ วงเงินรวม 7,132.4772 ล้านบาท โดย วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 6,654.6951 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 93.30

          4. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ส่วนใหญ่มีความล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ เช่น การจัดหาวัคซีนมีความล่าช้าเนื่องจากจำนวนวัคซีนที่ผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศต่างๆ การช่วยเหลือเยียวยาแก่ประชาชนล่าช้า เนื่องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการประสบปัญหาข้อจำกัดของข้อมูลที่จำเป็นต้องคัดกรองคุณสมบัติของผู้มีสิทธิตามโครงการ ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบข้อมูล และการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดเนื่องจากการดำเนินโครงการต้องมีการลงพื้นที่หรือรวมกลุ่มในการดำเนินกิจกรรมกับประชาชน

          5. ผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม การดำเนินการกู้เงินข้างต้นส่งผลให้เกิดการรักษากำลังซื้อของประเทศ กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศในทุกสาขาโดยเศรษฐกิจไทยในปี 2564 กลับมาขยายตัวที่ ร้อยละ 1.5 ต่อเนื่องไปจนถึงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ที่มีการขยายตัวร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2.5 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองตามลำดับ นอกจากนี้ การดำเนินโครงการต่างๆ ยังส่งผลให้หน่วยงานรับผิดชอบมีข้อมูลประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ทันสมัยและนำไปสู่การพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ในอนาคต ทำให้ภาครัฐสามารถออกแบบมาตรการ/นโยบายในการให้ความช่วยเหลือประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในลักษณะมุ่งเป้าได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11725

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!