WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ ครั้งที่ 1/2565

GOV4

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ ครั้งที่ 1/2565

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (...) เสนอ ดังนี้

          1. เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค .. 2566 - 2570 (เป้าหมายการพัฒนาภาคฯ) ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน ที่ปรับปรุงตาม ความเห็นของ ... แล้ว และมอบหมายให้ สศช. แจ้งเวียนจังหวัด กลุ่มจังหวัด ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนและโครงการ .. 2566 - 2570 ต่อไป

          2. นโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดประจำปีงบประมาณ .. 2567 (นโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ประจำปีงบประมาณ .. 2567) และมอบหมาย สศช. แจ้งเวียนจังหวัด กลุ่มจังหวัด ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ... รายงานว่า ... ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ได้พิจารณาเป้าหมายการพัฒนาภาคฯ และนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ประจำปีงบประมาณ .. 2567 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

          1. เป้าหมายการพัฒนาภาคฯ ครอบคลุมทั้ง 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน โดยแต่ละภาคมีเป้าหมายและแนวทางการพัฒนา ดังนี้

 

ภาค

เป้าหมายการพัฒนา

 

แนวทางการพัฒนา เช่น

ภาคเหนือ

ฐานเศรษฐกิสร้างสรรค์ของประเทศ

 

(1) สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC-Creative LANNA) ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักของภาคและฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ

(2) ยกระดับการท่องเที่ยวและบริการที่มีศักยภาพให้มีคุณภาพ สนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และกระจายประโยชน์สู่ชุมชน

(3) พัฒนาการผลิตตามระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมแปรรูปมูลค่าสูง

(4) เสริมศักยภาพของเมือง พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และระบบโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์สำคัญของภาคเพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และเอื้อต่อการอยู่อาศัย

(5) พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาผู้สูงอายุสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ และทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์

(6) บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ

ศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

 

(1) พัฒนาภาคเกษตรโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่มุ่งสู่ฐานเศรษฐกิจชีวภาพที่มีมูลค่าสูง เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

(2) บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอเพื่อรองรับการเติบโตของเมืองและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

(3) พัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นไปสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างเศรษฐกิจในชุมชน

(4) พัฒนาเมือง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเมืองชายแดน รวมทั้งพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC-Bioeconomy) ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักของภาค

(5) พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวหลักและแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวหลักและแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน

(6) ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัยให้ได้มาตรฐานและแก้ปัญหาความยากจนให้กับผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

ภาคกลาง

ฐานการผลิตสินค้าและบริการมูลค่าสูง

 

(1) ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้มาตรฐานระดับสากล

(2) ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวสำคัญและแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้เป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวคุณภาพ

(3) พัฒนาระบบบริการส่งเสริมสุขภาพและการให้บริการทางการแพทย์ที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ได้มาตรฐานในระดับสากล

(4) พัฒนาเมือง เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเมืองชายแดน รวมทั้งพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง - ตะวันตก (CWEC) ให้เป็นศูนย์กลางการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจของภาคกลาง

(5) พัฒนาและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตของภาคกลาง

(6) ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

ภาคตะวันออก

ฐานเศรษฐกิจสีเขียวชั้นนำของอาเซียน ควบคู่กับคุณภาพการดำรงชีวิตของประชาชนที่ดี

 

(1) พัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวของภาคตะวันออก

(2) พัฒนาการเกษตรคุณภาพให้เชื่อมโยงสู่การผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัย สู่ห่วงโซ่การผลิตในระดับประเทศ และการให้บริการส่งเสริมสุขภาพ

(3) ยกระดับการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกสู่การเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวของโลก ที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน

(4) พัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้วและตราด รวมทั้งพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนที่มีศักยภาพให้เป็นประตูเชื่อมโยงการค้า การลงทุนที่ทันสมัยกับประเทศเพื่อนบ้าน

(5) พัฒนาพื้นที่และเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่

(6) อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ภาคใต้

แหล่งท่องเที่ยวและบริการที่มีคุณภาพ แหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและมูลค่าสูง เชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค

 

(1) พัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่องด้านการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานและมูลค่าสูง

(2) พัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรหลักด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง

(3) ส่งเสริมการผลิตและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรและปศุสัตว์หลักของภาค

(4) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน

(5) พัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและด่านพรมแดน รวมทั้งพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ให้เป็นประตูการค้าการลงทุนและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ของภาค

(6) เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี

ภาคใต้ชายแดน

ฐานเศรษฐกิจชายแดนที่มั่นคงบนสังคมพหุวัฒนธรรม

 

(1) พัฒนาคุณภาพการผลิตและการแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรหลักของภาค

(2) พัฒนาเมืองชายแดนให้เป็นเมืองเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว สามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนตอนใต้และพัฒนาเมืองยะลาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคใต้ชายแดน

(3) ยกระดับรายได้ การศึกษา สมรรถนะแรงงาน และสาธารณสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและสันติสุข

(4) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นฐานการผลิตของภาค

 

 

sme 720x100

 

          2. นโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ประจำปีงบประมาณ .. 2567 

                 2.1 นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด .. 2566 - 2570 (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ .. 2567 (แผนฯ ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ .. 2567) ประกอบด้วย

 

หัวข้อ

 

สาระสำคัญ

2.1.1 นโยบายการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด

 

- ให้ยึดยุทธศาสตร์ชาติ (.. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล

- ให้ความสำคัญกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค และให้ใช้กระบวนการประชาคมแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน หรือการจัดเวทีระดมความคิดเห็นของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจากประชาชนในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น) ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หรือประชารัฐ และชุมชน

- มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินการที่ผ่านมา

- สำหรับการทบทวนหรือปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ไม่ต้องปรับปรุงแผนทุกปี หากไม่มีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนา

2.1.2 ขอบเขตของแผน

 

- แผนพัฒนาจังหวัด เป็นแผนที่มีความครอบคลุมทุกมิติการพัฒนา มุ่งตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาที่สำคัญของจังหวัดและขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาจังหวัดที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับชาติ นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาภาค ตามศักยภาพและโอกาสของพื้นที่

- แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เป็นแผนที่เป็นการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค ในประเด็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหรือความต้องการแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นร่วมในพื้นที่กลุ่มจังหวัด และต้องมีขอบเขตการดำเนินการหรือได้รับผลประโยชน์มากกว่า 1 จังหวัด

2.1.3 กำหนดการส่งแผน

 

ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจัดส่งแผนฯ ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ .. 2567 ภายในวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน .. 2565

2.1.4 องค์ประกอบของแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด

 

(1) ข้อมูลเพื่อการพัฒนา ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานทางกายภาพ ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ (ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและความมั่นคง และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ประเด็นปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ และผลการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในช่วงที่ผ่านมา

(2) ประเด็นการพัฒนา ได้แก่ บทวิเคราะห์ เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (ระยะ 5 ปี) ตัวชี้วัดความสำเร็จ และประเด็นการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

 

                  ทั้งนี้ ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดดำเนินการจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับบุคคลจากภาคส่วนต่างๆ เกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ตามมาตรา 24 และมาตรา 34 วรรค 4 แห่ง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ .. 2565

                 2.2 หลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ .. 2567 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

                          2.2.1 หลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดและข้อกำหนดลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะโครงการ สรุปได้ ดังนี้

 

หลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี

ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

 

ข้อกำหนดลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะของโครงการ

(1) โครงการจะต้องมีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และเชื่อมโยงตามห่วงโซ่การพัฒนา/ห่วงโซ่คุณค่าตามแผนงานที่กำหนด

(2) มีความพร้อมและความเหมาะสมของโครงการ

(3) จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถเสนอโครงการที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการต่อเนื่องได้ โดยแบ่งระยะเวลาดำเนินการเป็นรายปี (Phasing) พร้อมแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องดำเนินการ

(4) โครงการที่มีการใช้ระยะเวลาในการดำเนินการต่อเนื่องและโครงการที่ดำเนินการเป็นประจำทุกปี จะต้องรายงานความสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา

(5) ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเสนอโครงการพร้อมจัดลำดับความสำคัญโดยรวมรายโครงการภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปี

 

(1) ไม่เป็นการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยตรง

(2) ไม่เป็นการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อใช้งานตามภารกิจปกติของส่วนราชการ

(3) ไม่เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการปรับปรุง ซ่อมแซมหรือก่อสร้างอาคารสถานที่และระบบสาธารณูปโภคของส่วนราชการ เพื่อใช้งานตามภารกิจปกติของส่วนราชการ

(4) ไม่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน เว้นแต่ ฝึกอบรมด้านอาชีพ ด้านความมั่นคง หรือเป็นประเด็นสำคัญของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

(5) ไม่เป็นกิจกรรมย่อย ควรบูรณาการกิจกรรมประเภทเดียวกัน หรือเกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน

(6) ไม่เป็นการเดินทางไปต่างประเทศ เว้นแต่เป็นกิจกรรมที่มีข้อผูกพันในเรื่องการเจรจาด้านการค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว และการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี

 

                          2.2.2 ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด จัดทำแบบสรุปแผนงานโครงการที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุนจากกระทรวง/กรม เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามความต้องการของแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พร้อมทั้งจัดเรียงลำดับความสำคัญ โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ประมวลรวบรวม และประสานแจ้งกระทรวงเพื่อรับไปพิจารณาบรรจุในแผนปฏิบัติการของกระทรวงหรือกรมต่อไป

                          2.2.3 ให้คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (...) หรือคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (...) เสนอโครงการโดยมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และจัดส่งแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ .. 2567 ภายในวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน .. 2565

                          2.2.4 ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสรุปรายการโครงการ กิจกรรม และงบประมาณที่ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พร้อมทั้งผลผลิต ผลสัมฤทธิ์ และปัญหาอุปสรรค ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดปีงบประมาณ

 

QIC 720x100

 

                 2.3 แนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ .. 2567 ดังนี้

                          2.3.1 กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2567 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จำนวน 28,000 ล้านบาทต่อปี

                          2.3.2 สัดส่วนการจัดสรรงบประมาณ (สัดส่วนฯ) งบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ และการจัดสรรงบบริหารจัดการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

 

งบประมาณ

(สัดส่วนฯ)

การจัดสรรงบประมาณ

 

การจัดสรรงบบริหารจัดการ

งบประมาณจังหวัด

19,600

ล้านบาท

(ร้อยละ 70)

- ให้จังหวัดเสนอโครงการไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า แต่ไม่เกิน 2 เท่า ของกรอบการจัดสรรงบประมาณ

- มีองค์ประกอบในการจัดสรรงบประมาณประกอบด้วย

(1) จัดสรรเฉลี่ยเท่ากันทุกจังหวัด ร้อยละ 20

(2) จัดสรรตามจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัด ร้อยละ 20 

(3) จัดสรรตามขนาดพื้นที่จังหวัด ร้อยละ

(4) จัดสรรตามสัดส่วนคนจนในแต่ละจังหวัด ร้อยละ 10 

(5) จัดสรรผกผันตามรายได้ต่อครัวเรือน ร้อยละ 25 

(6) จัดสรรตามผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ร้อยละ 10 

(7) จัดสรรตามประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของจังหวัดปีงบประมาณ .. 2565 ร้อยละ 10

 

- จัดสรรตามขนาดจังหวัด มีองค์ประกอบ ดังนี้

(1) จำนวนอำเภอในจังหวัด ร้อยละ 40 

(2) จำนวนประชากรในจังหวัด ร้อยละ 30 

(3) ขนาดพื้นที่ของจังหวัด ร้อยละ 30 

ซึ่งจากเกณฑ์ดังกล่าวสามารถแบ่งขนาดของจังหวัดได้เป็น 3 ขนาด ดังนี้

- จังหวัดขนาดใหญ่ จำนวน 24 จังหวัด

ได้รับงบบริหารจัดการ 10 ล้านบาท

- จังหวัดขนาดกลาง จำนวน 39 จังหวัด

ได้รับงบบริหารจัดการ 9 ล้านบาท

- จังหวัดขนาดเล็ก จำนวน 13 จังหวัด

ได้รับงบบริหารจัดการ 8 ล้านบาท

รวมงบบริหารจัดการของจังหวัด 

จำนวน 695 ล้านบาท

งบประมาณกลุ่มจังหวัด

8,400 

ล้านบาท

(ร้อยละ 70)

กำหนดสัดส่วนการจัดสรรงบพัฒนากลุ่มจังหวัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 50:50 ได้แก่

(1) งบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่เป็นการเพิ่มศักยภาพตามความต้องการรายพื้นที่ หรือแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นร่วมของกลุ่มจังหวัด มีองค์ประกอบในการจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วย จัดสรรตามขนาดกลุ่มจังหวัด ร้อยละ 50 จัดสรรตามผลิตภัณฑ์มวลรวมของกลุ่มจังหวัด ร้อยละ 25 และจัดสรรผกผันกับผลิตภัณฑ์ต่อหัวของกลุ่มจังหวัด ร้อยละ 25

(2) งบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่เป็นการพัฒนาในลักษณะ Cluster หรือตอบสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาลเชิงพื้นที่ ระดับกลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ กำหนดให้กลุ่มจังหวัดเสนอโครงการได้ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า แต่ไม่เกิน 2 เท่า ของกรอบการจัดสรรงบประมาณ

 

- จัดสรรตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

(1) กลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนจังหวัด 3 จังหวัด 

ได้รับงบบริหารจัดการ 4 ล้านบาท

(2) กลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนจังหวัด 4 - 5 จังหวัด ได้รับงบบริหารจัดการ 5 ล้านบาท

(3) กลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนจังหวัด 6 จังหวัด

ได้รับงบบริหารจัดการ 6 ล้านบาท

รวมงบบริหารจัดการของกลุ่มจังหวัด

จำวน 88 ล้านบาท

 

                          2.3.3 แนวทางในการใช้จ่ายงบบริหารจัดการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ (1) การจัดประชุมหารือเพื่อจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดกับภาคส่วนต่างๆ (2) การจัดประชุม ... หรือ ... (3) การศึกษาเพื่อพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (4) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (5) การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ (6) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ภาคส่วนต่างๆ (7) การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน (8) การจ่ายเงินค่าธรรมเนียมศาล เงินตามคำพิพากษาของศาล หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี (9) การจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) และ (10) ค่าใช้จ่ายในการบำรุง ดูแล รักษา หรือค่าสาธารณูปโภคฯ ของสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการโอนสินทรัพย์ให้ส่วนราชการ

 

ใจฟู720x100px

 

                 2.4 หลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ .. 2566 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ดังนี้

                          2.4.1 กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเสนอโครงการใหม่ ซึ่งไม่อยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเสนอคำขอเปลี่ยนแปลงโครงการมายังฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการประจำภาคหรือคณะอนุกรรมการที่ ... มอบหมาย ภายในวันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2566

                          2.4.2 การเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในกรณีอื่นๆ ให้เป็นอำนาจของ ... หรือ ... พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยหารือสำนักงบประมาณและดำเนินการตามระเบียบการบริหารงบประมาณที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้รายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้คณะอนุกรรมการประจำภาค หรือคณะอนุกรรมการที่ ... มอบหมายทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นไตรมาสที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงโครงการ

                          2.4.3 ให้ ... หรือ ... รายงานผลการเปลี่ยนแปลงโครงการทั้งหมดให้ คณะอนุกรรมการประจำภาค หรือคณะอนุกรรมการที่ ... มอบหมายทราบตามแบบฟอร์มที่กำหนด ภายใน 30 วันหลังจากสิ้นสุดงบประมาณ

          3. มติ ...

                 3.1 เห็นชอบเป้าหมายการพัฒนาภาคฯ ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน โดยนำความเห็นของที่ประชุม เช่น กรณีการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนที่มีผลกระทบต่อสถานการณ์การส่งออกสินค้าของไทย ไปพิจารณาปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ ... นำเป้าหมายการพัฒนาภาคฯ ที่ปรับปรุงแล้ว เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ก่อนแจ้งเวียนให้จังหวัด กลุ่มจังหวัด ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนและโครงการ .. 2566 - 2570 ต่อไป

                 3.2 เห็นชอบนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ประจำปีงบประมาณ .. 2567 และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ ... นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนแจ้งเวียนจังหวัด กลุ่มจังหวัด ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11721

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!