WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

GOV 16

ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 ราชอาณาจักรกัมพูชา ในรูปแบบผสมผสาน (On-site และ Online) [คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 มกราคม 2565) เห็นชอบในหลักการต่อร่างเอกสารในการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาจะต้องให้การรับรองร่างเอกสาร รวม 8 ฉบับ ร่วมกับรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (25 ตุลาคม 2565) ให้ความเห็นชอบการรับรองปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียนซึ่งเป็นเอกสารเพิ่มเติมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้การรับรองไปแล้วในที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 ที่ประชุมได้ให้การรับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่

                 1) ปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียน (Phnom Penh Declaration on Transforming ASEAN Tourism) เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อการส่งเสริมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความร่วมมือระหว่างกัน และการสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ปฏิญญาดังกล่าวจะเป็นเอกสารสำคัญของกรอบความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียนที่จะต้องนำเสนอต่อผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 40 ระหว่างวันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน 2565 กัมพูชา

                 2) แถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 มีสาระสำคัญ เช่น (1) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยที่ประชุมได้แบ่งปันข้อมูลผลกระทบจากโควิด-19 ของประเทศตนเองและแลกเปลี่ยนแนวทางในอนาคตเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาค (2) ชื่นชมการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน คณะกรรมการด้านการท่องเที่ยวอาเซียน และคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียนในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2558-2568 ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่มีการปรับปรุง (3) รับรองผลลัพธ์ของผลสรุปการปรับปรุงและทบทวนมาตรฐานสมรรถนะขั้นพื้นฐานของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ภายใต้แผนงานข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2562 - 2568 และ (4) รับรองตราประทับการเดินทางที่ปลอดภัย * (Safe Travel Stamp) เพื่อให้นักท่องเที่ยวมั่นใจว่าได้รับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพัฒนานโยบายและกฎระเบียบที่ชัดเจนในการดำเนินการตามแนวทางและการใช้ตราประทับการเดินทางที่ปลอดภัยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและแรงดึงดูดของอาเซียนให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม

 

aia 720 x100

 

                 3) ขอบเขตหน้าที่สำหรับการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนเป็นเอกสารที่มุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ รวมถึงยกระดับความร่วมมือในภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งในระดับภาครัฐและเอกชน ตลอดจนเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ ยั่งยืน ครอบคลุม และฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น

          2. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ครั้งที่ 21 ที่ประชุมได้ให้การรับรองแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น (1) แลกเปลี่ยนข้อมูลและมุมมองต่อมาตรการในการบรรเทาผลกระทบที่ดำนินการโดยประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามและหารือถึงแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับภูมิภาคเพื่อการเปิดภาคการท่องเที่ยวใหม่อีกครั้ง และ (2) ชื่นชมสาธารณรัฐประชาชนจีนสำหรับการจัดประชุมเดือนแห่งวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวอาเซียนและนิทรรศการวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวอาเซียน-จีน นอกจากนี้อาเซียนและจีนได้ดำเนินงานภายใต้ข้อริเริ่มที่ 12 ของแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ปี 2568 เพื่อยกระดับแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวเชิงดิจิทัลเพื่อส่งเสริมให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดหมายปลายทางเดียวด้านการท่องเที่ยวในตลาดจีนได้ดียิ่งขึ้น

          3. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-สาธารณรัฐอินเดีย ครั้งที่ 9 ที่ประชุมได้ให้การรับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่

                 1) แผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ปี 2564 – 2565 (ASEAN-India Tourism Work Plan 2021-2022) โดยมีโครงการและกิจกรรมภายใต้แผนงานฯ ต่างๆ เช่น (1) การแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบและ/หรือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (2) การแบ่งปันทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งกันและกันในเชิงวิชาการด้านการท่องเที่ยวและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ (3) การสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยว และ (4) ส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวรวมทั้งการเชื่อมโยงด้านคมนาคมระหว่างอาเซียนและอินเดีย

                 2) แถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 9 ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น (1) ยินดีต่อการกำหนดให้ ปี 2565 เป็นปีแห่งความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดียเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ 30 ปี ของอาเซียน-อินเดีย (2) สนับสนุนให้ประสานการดำเนินงานร่วมกันระหว่างแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ปี 2564 - 2565 และ (3) ส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และคู่เจรจา เพื่อรับรองว่าการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยจะเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งในอาเซียนและอินเดีย

 

ใจฟู720x100px

 

          4. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งที่ 1 ที่ประชุมได้ให้การรับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่

                 1) แผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซีย ปี 2565-2567 (ASEAN-Russia Federation Tourism Work Plan 2022- 2024 ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (2) สร้างเสริมความเข้มแข็งของโครงการสร้างขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยว (3) ส่งเสริมความปลอดภัยและความมั่นคงด้านการท่องเที่ยว (4) อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักท่องเที่ยว และ (5) สนับสนุนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและครอบคลุมระหว่างอาเซียนและ รัสเซีย

                 2) แถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 1 ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น (1) ยินดีต่อการยกระดับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซีย เป็นระดับรัฐมนตรี โดยเล็งเห็นความสำคัญของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ และปี 2564 เป็นปีแห่งการครบรอบ 30 ปี ของความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซีย (2) แสดงความชื่นชมต่อโครงการที่ครอบคลุมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและความตกลงระหว่างรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนและรัฐบาลรัสเซียโดยมีประเด็นการดำเนินงานหลัก คือ การอบรมภาษารัสเซียให้กับผู้ประกอบการนำเที่ยว และโครงการฝึกอบรมสำหรับผู้แทนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกอาเซียน และ (3) รับรองแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซียฯ ซึ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียนรัสเซีย ในอีก 2 ปีข้างหน้ารวมถึงจัดลำดับความสำคัญของการฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน-รัสเซีย

                 3) ขอบเขตหน้าที่สำหรับการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซีย มีสาระสำคัญเพื่อสนับสนุนการยกระดับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างอาเซียน-รัสเซีย เป็นระดับรัฐมนตรี โดยการแสวงหาความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การลงทุน การส่งเสริมการตลาด การเสริมสร้างขีดความสามารถ ความปลอดภัยและความมั่นคง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น ตลอดจนเพื่อประโยชน์ของอาเซียนและรัสเซีย

___________________________

*เป็นตราประทับที่รับรองโดยองค์กรการท่องเที่ยวโลก (World Travel and Tourism Council) ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่สอดรับกับแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) และหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (Center for Disease Control: CDC) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวว่าจะได้รับความปลอดภัยและการดูแลด้านสุขอนามัยในขณะเดินทางท่องเที่ยวตามแนวทาง New Normal จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างสูงสุด

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11720

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!