WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21

GOV2 copy copy

ร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 

          2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างแผนความร่วมมือฯ

          3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างแผนความร่วมมือฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง

          สาระสำคัญ

          1. ร่างแผนความร่วมมือฯ เป็นเอกสารฉบับแรก ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหม และข้อริเริ่มเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศวรรษที่ 21 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือสาขาต่างๆ ภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ให้มีผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

          2. ร่างแผนความร่วมมือฯ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้

                  2.1 ภูมิหลัง ระบุเหตุผลของการจัดทำแผนความร่วมมือฯ โดยกล่าวถึงประวัติความสัมพันธ์ไทยจีน กลไกความร่วมมือระดับทวิภาคีและระดับอนุภูมิภาค และสถานะความสัมพันธ์ไทยจีนในมิติต่างๆ

                  2.2 หลักการและวัตถุประสงค์ ในการปฏิบัติตามแผนความร่วมมือฯ ทั้งสองฝ่ายจะสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน เคารพในกฎหมายและพันธกรณีระหว่างประเทศ สอดประสานระหว่างแผนยุทธศาสตร์ชาติของกันและกัน ตลอดจนยึดมั่นในหลักการค้าเสรี และหลักการการทำธุรกิจและกลไกตลาด

 

AXA 720 x100

BANPU 720x100

 

                  2.3 สาขาความร่วมมือ ส่งเสริมความร่วมมือใน 5 สาขา ตามแนวคิดหลักของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) ได้แก่ (1) การประสานนโยบาย (Policy Coordination) (2) การเชื่อมโยงด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility Connectivity) (3) การค้าอย่างไร้อุปสรรค (Unimpeded Trade) (4) การบูรณาการทางการเงิน (Financial Integration) และ (5) ความสัมพันธ์ในระดับประชาชน (People-to-people Bond) 

                  2.4 การดำเนินการ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะกำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศของไทย และ NDRC ของจีนเป็นหน่วยประสานงานหลักของแต่ละฝ่ายในการทบทวนและดำเนินการตามแผนความร่วมมือ และสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานท้องถิ่น สถาบัน วิสาหกิจ และองค์กรทางสังคมของแต่ละฝ่ายให้ คำปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดในการดำเนินการตามแผนความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝ่ายไทยและฝ่ายจีนได้เห็นพ้องต่อบัญชีโครงการความร่วมมือที่สำคัญ ระหว่างปี 2566 – 2568 จำนวน 33 โครงการตามที่ระบุในภาคผนวก โดยหลายโครงการได้เริ่มดำเนินการแล้ว เช่น โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทยจีน ความร่วมมือของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทยจีน และความร่วมมือของศูนย์ CAS – Bangkok Innovation and Cooperation 

                  2.5 ข้อบทเพิ่มเติม แผนความร่วมมือฯ มีอายุ 5 ปี และจะได้รับการต่ออายุออกไปอีก 5 ปี โดยอัตโนมัติ เว้นแต่ผู้เข้าร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสนอให้ยุติแผนความร่วมมือฯ เป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าเป็นเวลา 6 เดือน ก่อนวันหมดอายุ โดยในการดำเนินโครงการต่างๆ ทั้งสองฝ่ายอาจจัดทำเอกสารข้อตกลงหรือความร่วมมือแยกต่างหากเพื่อการดำเนินความร่วมมือที่ระบุไว้ภายใต้แผนความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11716

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!