การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 08 November 2022 22:15
- Hits: 1188
การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอการรับรองวัดคาทอลิกตามกฎหมาย จำนวน 34 วัด แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ดังนี้
หน่วย : แห่ง
จังหวัด |
จำนวนวัด |
จังหวัด |
จำนวนวัด |
กรุงเทพมหานคร |
7 |
สมุทรสงคราม |
2 |
นนทบุรี |
2 |
ราชบุรี |
5 |
ปทุมธานี |
1 |
เพชรบุรี |
1 |
ฉะเชิงเทรา |
1 |
กาญจนบุรี |
3 |
สมุทรปราการ |
1 |
สระบุรี |
2 |
นครปฐม |
3 |
นครสวรรค์ |
1 |
สุพรรณบุรี |
1 |
เชียงราย |
3 |
พระนครศรีอยุธยา |
1 |
|
|
สาระสำคัญของเรื่อง
วธ. รายงานว่า
1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2564 เพื่อกำหนดแนวทางในการพิจารณาจัดตั้งและรับรองวัดคาทอลิกให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว ซึ่งระเบียบดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรอง คำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก (คณะกรรมการฯ) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน) มีหน้าที่และอำนาจในการเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิกและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณารับรองวัดคาทอลิกต่อไป โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (23 สิงหาคม 2565) เห็นชอบการรับรอง วัดคาทอลิกไปแล้วรวม 9 วัด
2. ต่อมาคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ได้พิจารณาคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อที่ 16 แห่งระเบียบดังกล่าว ประกอบด้วย (1) ได้รับความเห็นชอบให้ยื่นคำขอรับรองวัดคาทอลิกจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย (สภาประมุขฯ) (2) มีข้อมูลที่ตั้งวัด (3) มีข้อมูลที่ดินที่ตั้งวัดและการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน (4) มีรายชื่อบาทหลวงซึ่งจะไปประกอบศาสนกิจประจำ ณ วัดคาทอลิก และ (5) มีข้อมูลอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก เช่น คุณค่าและประโยชน์ของวัดคาทอลิก การอุปถัมภ์และทำนุบำรุงจากภาคส่วนต่างๆ เรียบร้อยแล้ว และมีมติให้เสนอคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกทั้ง 34 วัด ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้การรับรองตามนัยระเบียบดังกล่าว
3. รายละเอียดของวัดคาทอลิก จำนวน 34 วัด สรุปได้ ดังนี้
ชื่อวัด |
ได้รับการรับรองจากสภาประมุขฯ/มีใบอนุญาตหรือใบรับรองการก่อสร้างอาคาร |
ที่ตั้งวัด |
ที่ดินที่ตั้งวัด |
จำนวนบาทหลวง ประจำวัด |
1. วัดนักบุญยอแซฟ (ตรอกจันทน์) |
ü |
เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร (กทม.) |
17 ไร่ 1 งาน 66 ตารางวา |
2 ท่าน |
2. วัดราชินีแห่งสันติสุข (สุขุมวิท 101) |
ü |
เขตพระโขนง กทม. |
8 ไร่ |
2 ท่าน |
3. วัดธรรมาสน์นักบุญ เปโตร (บางเชือกหนัง) |
ü |
เขตภาษีเจริญ กทม. |
93 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา |
2 ท่าน |
4. วัดแม่พระประจักษ์ เมืองลูร์ด (บางสะแก) |
ü |
เขตจอมทอง กทม. |
4 ไร่ 1 งาน 29 ตารางวา |
2 ท่าน |
5 วัดเซนต์จอห์น |
ü |
เขตจตุจักร กทม. |
1 ไร่ 60.1 ตารางวา |
2 ท่าน |
6. วัดแม่พระฟาติมา (ดินแดง) |
ü |
เขตดินแดง กทม. |
4 ไร่ 2 งาน 39.5 ตารางวา |
3 ท่าน |
7. วัดนักบุญเทเรซา (หนองจอก) |
ü |
เขตหนองจอก กทม. |
19 ไร่ 3 งาน 33 ตารางวา |
1 ท่าน |
8. วัดพระแม่มหาการุณย์ (เมืองนนท์) |
ü |
อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี |
16 ไร่ 76 ตารางวา |
3 ท่าน |
9. วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ (บางบัวทอง) |
ü |
อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี |
35 ไร่ 81.2 ตารางวา |
2 ท่าน |
10. วัดพระชนนีของ พระเป็นเจ้า (รังสิต) |
ü |
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี |
13 ไร่ 90 ตารางวา |
1 ท่าน |
11. วัดเซนต์ร็อค (ท่าไข่) |
ü |
อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา |
80 ไร่ 1 งาน 64 ตารางวา |
2 ท่าน |
12. วัดพระกุมารเยซู (บางนา กม.8) |
ü |
อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ |
12 ไร่ 3 งาน 22 ตารางวา |
2 ท่าน |
13. วัดพระตรีเอกภาพ (หนองหิน) |
ü |
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
25 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา |
1 ท่าน |
14. วัดพระคริสต กษัตริย์ (นครปฐม) |
ü |
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
4 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา |
1 ท่าน |
15. วัดนักบุญอันเดร |
ü |
อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม |
11 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา |
1 ท่าน |
16. วัดนักบุญลูกา (อู่ทอง) |
ü |
อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
13 ไร่ 93.8 ตารางวา |
2 ท่าน |
17. วัดนักบุญยวง ปัปติสตา (เจ้าเจ็ด) |
ü |
อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
30 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวา |
1 ท่าน |
18. วัดแม่พระองค์ อุปถัมภ์ (วัดใน) |
ü |
อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม |
6 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา |
3 ท่าน |
19. วัดพระวิสุทธิวงศ์ (แพรกหนามแดง) |
ü |
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม |
89 ไร่ 2 งาน |
1 ท่าน |
20. วัดนักบุญยอห์น บอสโก (ราชบุรี) |
ü |
อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี |
46 ไร่ 1 งาน |
3 ท่าน |
21. วัดนักบุญยอแซฟ (บ้านโป่ง) |
ü |
อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี |
7 ไร่ 2 งาน 30.7 ตารางวา |
2 ท่าน |
22. วัดนักบุญมาร์ การิตา (บางตาล) |
ü |
อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี |
31 ไร่ 3 งาน 81 ตารางวา |
1 ท่าน |
23. วัดนักบุญเทเรซาแห่ง พระกุมารเยซู (ห้วยกระบอก) |
ü |
อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี |
40 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวา |
1 ท่าน |
24. วัดนักบุญลูกา (หนองนางแพรว) |
ü |
อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี |
18 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา |
1 ท่าน |
25. วัดนักบุญเวนันซีโอ (เพชรบุรี) |
ü |
อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี |
4 ไร่ 3 งาน 53 ตารางวา |
1 ท่าน |
26. วัดพระแม่ราชินีแห่งสากลโลก (กาญจนบุรี) |
ü |
อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี |
3 ไร่ 72.7 ตารางวา |
2 ท่าน |
27. วัดพระประจักษ์ เมืองลูร์ด (ท่าเรือ) |
ü |
อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี |
7 ไร่ 1 งาน 78.9 ตารางวา |
1 ท่าน |
28. วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ (พุถ่อง) |
ü |
อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี |
19 ไร่ 3 งาน 26.5 ตารางวา |
1 ท่าน |
29. วัดพระแม่เมืองลูร์ด (สระบุรี) |
ü |
อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี |
11 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา |
1 ท่าน |
30. วัดนักบุญยอแซฟ กรรมกร (แก่งคอย) |
ü |
อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี |
11 ไร่ 3 งาน 81 ตารางวา |
1 ท่าน |
31. วัดอารามคาร์แมล (นครสวรรค์) |
ü |
อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ |
20 ไร่ 1 งาน 34.2 ตารางวา |
1 ท่าน |
32. อาสนวิหาร แม่พระบังเกิด เชียงราย |
ü |
อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย |
11 ไร่ 1 งาน 83.1 ตารางวา |
4 ท่าน |
33. วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ (พาน) |
ü |
อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย |
27 ไร่ 3 งาน 7 ตารางวา |
2 ท่าน |
34. วัดนักบุญสเตเฟน (แม่จัน) |
ü |
อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย |
8 ไร่ 3 งาน 22 ตารางวา |
1 ท่าน |
หมายเหตุ : วัดคาทอลิกทั้ง 34 วัด มีหนังสือรับรองความมั่นคงแข็งแรงของอาคารจากผู้ประกอบอาชีพวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรมที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว |
ทั้งนี้ นอกเหนือจากข้อมูลข้างต้น ยังมีข้อมูลอื่นที่จำเป็นซึ่งคณะกรรมการฯ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดตามกฎหมาย เช่น (1) มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เอื้อต่อ การประกอบศาสนพิธีและการพำนัก (2) มีสถานที่ สิ่งปลูกสร้าง และอุปกรณ์ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบศาสนกิจและการพำนักครบถ้วน (3) วัดมีคุณค่าและประโยชน์ต่อประชาชนและชุมชนในด้านศาสนาและสังคม (4) วัดได้รับ การอุปถัมภ์และทำนุบำรุงวัดจากภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง (5) วัดได้ดำเนินงานตามภารกิจของมิซซังในด้านต่างๆ เช่น ด้านอภิบาลคริสตชนและด้านเผยแผ่ธรรม
4. การรับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดตามกฎหมายจะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
4.1 ความมั่นคงด้านศาสนจักร วัดคาทอลิกเป็นองค์ประกอบหลักและเป็นศูนย์รวมการประกอบศาสนกิจและพิธีกรรมของศาสนิกชนในวาระสำคัญต่างๆ ตามหลักศาสนบัญญัติ ซึ่งการรับรองวัดคาทอลิกจะทำให้วัดสามารถคงอยู่และสร้างความเชื่อมั่นแก่คริสต์ศาสนิกชนได้
4.2 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐเพื่อดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ศาสนสถาน เช่น โครงการเงินอุดหนุนกิจกรรมบูรณะศาสนสถาน
4.3 สิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือการหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ในลักษณะเดียวกับศาสนาอื่นซึ่งรวมถึงได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีจากเงินที่บริจาคให้แก่วัด
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 8 พฤศจิกายน 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A11396