WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 2

GOV4 copy copy

รายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 2

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 2 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ

          สาระสำคัญข้อเท็จจริง

          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขอรายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 2 โดยสรุปมีผู้เสียชีวิต จำนวน 37 ราย (รวมผู้ก่อเหตุ) ผู้บาดเจ็บสาหัส 7 ราย แพทย์อนุญาตให้รักษาฟื้นฟูที่บ้าน 2 ราย คงรักษาตัวในโรงพยาบาล 5 ราย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ให้การฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและสมาชิกครอบครัว รวม 199 ราย ดังนี้

          1. ผลการดำเนินการให้ความความช่วยเหลือฟื้นฟูเพื่อคืนสู่วิถีชีวิตปกติ

                 1.1 การช่วยเหลือเยียวยาทางด้านจิตใจ

                          1) ทีมปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิต (Case Manager : CM) จำนวน 40 ทีม เป็นผู้จัดการรายกรณีประจำครอบครัว ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ 40 ครอบครัว โดยเยี่ยมบ้านให้คำปรึกษาแนะนำเยียวยาจิตใจ รวมวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายครอบครัวพร้อมประสานส่งต่อเพื่อให้ได้รับสิทธิและบริการที่ตอบสนองต่อสภาพปัญหาและความต้องการ พัฒนาสู่ความยั่งยืน

                          2) พิธีบายศรีสู่ขวัญ : “ผูกข้อมือเพื่อนบ้าน เพื่อนใจ องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ ระหว่างทีมปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 120 ราย

                 1.2 การช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก โดยครอบครัวผู้ประสบเหตุ จำนวน 40 ครอบครัว มีเด็ก จำนวน 25 ครอบครัว และอยู่ในวัยเรียน จำนวน 33 ราย และก่อนวัยเรียน จำนวน 7 ราย มีการดำเนินการ ดังนี้

                          1) ประสานขอความช่วยเหลือสถานศึกษาเอกชนให้ยกเว้นค่าบำรุงการศึกษาจนจบหลักสูตรของสถานศึกษาเอกชน จำนวน 2 ราย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป

                          2) ส่งเข้ารับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพในสถาบันเพาะกล้าคุณธรรมจังหวัดกาญจนบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 ราย

                          3) ประสานขอรับการสนับสนุนทุนการศึกษามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ จำนวน 33 ราย

                          4) สนับสนุนสื่อเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน คู่ใจวัยจิ๋ว จากมูลนิธิไทยพีบีเอส จำนวน 200 ชุด โดยมอบให้เด็กในครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 7 ครอบครัว และส่งมอบให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลอุทัยสวรรค์ ตำบลกุดแห่ และตำบลด่านช้าง จำนวน 193 ชุด

                          5) จัดหาทุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นจนถึงระดับปริญญาตรีโดยประสานขอสนับสนุนทุนการศึกษาจากภาคเอกชน จำนวน 1 ราย

 

วิริยะ 720x100

 

                 1.3 การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม จำนวน 40 หลัง ได้แก่ บ้านที่มีคนพิการ 9 หลัง บ้านที่มีผู้สูงอายุ 14 หลัง และบ้านผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ในภาวะยากลำบาก 17 หลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงซ่อมแซมห้องน้ำ ห้องครัว เทพื้นปูกระเบื้อง ฝาผนัง หลังคา และระบบไฟฟ้า โดยดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 3 หลัง ปรับปรุงห้องน้ำ จำนวน 14 หลัง ทั้งนี้จะดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยครบ 40 หลัง ให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งได้รับการสนับสนุนทรัพยากรและกำลังพลในการดำเนินการ ดังนี้

                          - บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด (CPAC)

                          - บริษัทพานาโชนิค แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาขอนแก่น

                          - บริษัท บีเซน จำกัด จังหวัดนนทบุรี

                          - กองทัพภาคที่ 2 โดย กองพลทหารราบที่ 3 (พล..3) มณฑลทหารบกที่ 24 ค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี มณฑลทหารบกที่ 28 จังหวัดเลย กรมทหารพรานที่ 21 ค่ายศรีสองรัก จังหวัดเลย

                          - วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู

                          - เครือข่ายนักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

                          - คุณธีรพัฒน์ เหง้าเทศ วิศวกรโยธา (ข้าราชการบำนาญ)

                 1.4 เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาชีพและรายได้ ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ 40 ครอบครัว มีความต้องการอาชีพ ได้รับการช่วยเหลือ เพิ่มพูนทักษะ และมีอาชีพทางเลือก ดังนี้

                          1) อบรมอาชีพให้กับคนในชุมชน หลักสูตรอาหารจานเดียว จำนวน 30 ราย และอบรมหลักสูตรเบเกอรี่ให้แก่แม่เลี้ยงเดี่ยวกลับจากการทำงานที่ประเทศเกาหลี 1 ราย และหลักสูตร Sous Chef De Cuisine หรือผู้ช่วยเชฟ ให้แก่พ่อเลี้ยงเดี่ยว 1 ราย ในศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวรัตนาภา จังหวัดขอนแก่น จำนวน 1 ราย

                          2) มอบพันธุ์ปลา จำนวน 2,500 ตัว ให้แก่ครอบครัวพ่อเลี้ยงเดี่ยว จำนวน 1 ราย

                          3) รับสมาชิกครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบเข้าทำงานเป็นพนักงานที่องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ จำนวน 1 ราย และอยู่ระหว่างการอนุมัติจัดจ้างผู้ได้รับผลกระทบเพื่อบรรจุแทนตำแหน่งนายช่างที่เสียชีวิตอีก 2 ตำแหน่ง

                          4) แก้ไขปัญหาครอบครัวผู้สูงอายุที่ต้องการจำหน่ายกระบือของบุตรชายที่เสียชีวิต จำนวน 5 ตัว เนื่องจากไม่สามารถดูแลได้ โดยจังหวัดหนองบัวลำภูได้ให้อาสาสมัครปศุสัตว์มาดูแลในเบื้องต้น พร้อมประสานหาผู้ที่ต้องการซื้อ

                 1.5 สร้างโอกาสเข้าถึงสิทธิและบริการของรัฐ โดยร่วมดำเนินการและประสานงานให้ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบเข้าถึงสิทธิและบริการ ดังนี้

                          1) ร่วมกับกรมการปกครองออกบัตรประจำตัวประชาชนและใบสูติบัตรให้แก่เด็กในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบซึ่งขาดโอกาสการเข้าถึงสิทธิและบริการของรัฐ ภายใน 3 วัน จำนวน 1 ราย

                          2) ช่วยเหลือการบันทึกข้อมูลเพื่อรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 1 ราย และขอทราบผลการตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ 85 ราย พร้อมการยื่นประสานงานการประเมินความพิการเพื่อให้เข้าถึงสิทธิและบริการอื่นๆ จำนวน 1 ราย

                          3) มอบเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน จำนวน 1 ราย และเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง จำนวน 2 ครอบครัว

 

AXA 720 x100

 

                 1.6 แผนการเสริมสร้างความมั่นคงในชุมชน โดยพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในพื้นที่ตำบลอุทัยสวรรค์ หมู่บ้านละ 10 คน 12 หมู่บ้าน รวม 120 ราย พร้อมจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมประจำตำบล 3 ตำบลที่มีผู้ได้รับผลกระทบ ในพื้นที่ตำบลอุทัยสวรรค์ ตำบลด่านช้าง และตำบล กุดแห่ เพื่อดูแลทุกข์สุข และบำรุงขวัญกำลังใจของประชาชน

                 1.7 จัดหาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ได้รับการสนับสนุนพื้นที่ในการก่อสร้างจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นพื้นที่ด้านข้างของสำนักงาน จำนวน 1.5 ไร่ โดยมีภาคเอกชนและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณดำเนินการก่อสร้าง พร้อมขอใช้พื้นที่โรงเรียนหนองกรุงศรีโพธิ์ศรีสมพรเพื่อเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชั่วคราว ประกอบด้วย ห้องสำหรับเด็กเล็ก 2 ห้อง และห้องพักครู 1 ห้อง ทั้งนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ได้ประสานงานใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปรับปรุงซ่อมแซมห้องน้ำ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติปรับปรุงตกแต่งห้องเรียนให้มีความเหมาะสมแก่การเรียนการสอนเด็ก พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่นประสานภาคเอกชนในการติดตั้งกล้องวงจรปิด ระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง และกรมกิจการเด็กและเยาวชนได้ประสานสมาคมมอนเตสซอรี่แห่งประเทศไทย นำรูปแบบการเรียน Montessori มาพัฒนาศักยภาพบุคลากรและนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน

          2. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2565 นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความช่วยเหลือ และสร้างขวัญกำลังใจ ผู้ได้รับผลกระทบและประชาชน ในพื้นที่ 3 ตำบล อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีข้อสั่งการและนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนงาน ดังนี้

                 2.1 ให้ทีมปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิต (CM) ยึดหลักการทำงานว่า ทุกคนเป็นผู้ร่วมปฏิบัติงาน (ไม่มีคำว่าเป็นไปไม่ได้)

                 2.2 อยู่ระหว่างขอรับการสนับสนุนจากคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลในการจัดสรรโควต้าให้แก่ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นอาชีพ จำนวน 6 ราย

                 2.3 จัดหาอาชีพทางเลือกตามความต้องการตลาดแรงงาน โดยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) จำนวน 420 ชั่วโมง ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว รัตนาภา จังหวัดขอนแก่น โดยอบรมแบบ Online Onsite และฝึกปฏิบัติในสถานบริการที่ได้รับใบอนุญาต ผู้สำเร็จการอบรมมีงานทำรายได้เฉลี่ย 12,000-18,000 บาท และหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล 6 เดือน โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท กรุงเทพมหานคร ผู้สำเร็จการอบรมมีงานทำรายได้เฉลี่ย 13,000 – 15,000 บาท รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น เช่น การดัดและบำรุงผม (SPA Perm) การต่อขนตาและเพ้นท์เล็บ

                 2.4 จัดอบรมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยความร่วมมือของกองทัพภาคที่ 2 สถานีตำรวจภูธรอำเภอนากลาง และฝ่ายปกครองอำเภอนากลางเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต และยกระดับ เพิ่มทักษะ และสมรรถนะ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ. ) ให้มีศักยภาพ สามารถนำความรู้ทักษะไปใช้ในการประกอบอาชีพเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ได้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11121

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!