WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกันยายน 2565

GOV5 copy copy

ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เดือนกันยายน 2565

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เดือนกันยายน 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

           1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

                  1.1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 กันยายน 2565) รับทราบ ดังนี้  

                          1.1.1 ผลการพิจารณาโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ .. 2567 โดยมีโครงการที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญจำนวน 1,026 โครงการ จากข้อเสนอโครงการฯ ทั้งหมด 2,619 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 33 โครงการ ทั้งนี้ จะมีการขับเคลื่อนการดำเนินการในระยะถัดไป ดังนี้ (1) ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาทบทวนความเกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยเพื่อให้ครอบคลุมการขับเคลื่อนทุกปัจจัย (2) ให้หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ทุกระดับประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และ (3) ให้สำนักงบประมาณยึดเป้าหมายแผนแม่บทย่อยเป็นหลักในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญเป็นลำดับแรก นอกจากนี้ สคช. จะสร้างการตระหนักรู้ให้กับหน่วยงานของรัฐอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการขยายผลและสามารถจัดทำโครงการฯ ที่ขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายแบบพุ่งเป้าได้อย่างเป็นรูปธรรม

                          1.1.2 (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (.. 2566-2580) (ฉบับปรับปรุง) และมอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ทั้งนี้ คาดว่าแผนแม่บทฯ (ฉบับปรับปรุง) จะประกาศใช้ได้ภายในเดือนตุลาคม 25651 ซึ่งทุกหน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องยึดเป้าหมายของแผนแม่บทฯ เป็นเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันโดยให้ความสำคัญในระดับเป้าหมายแผนแม่บทย่อยเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแต่ละห้วงการพัฒนาซึ่งจะส่งผลให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างแท้จริง

                 1.2 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ข้อมูลสรุปผลการดำเนินการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย รายจังหวัด สิ้นสุด กันยายน 2565 พบว่า มีการลงพื้นที่สำรวจปัญหาครัวเรือนเป้าหมายแล้วทั้งสิ้น 621,360 ครัวเรือน จากจำนวนครัวเรือนเป้าหมายทั้งหมด 629,280 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 98.74 และมีการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาในภาพรวมแล้วเกือบทั้งหมด โดยจังหวัดที่มีการลงพื้นที่สำรวจสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ บุรีรัมย์ และนครศรีธรรมราชซึ่งหากพิจารณาจาก 5 มิติความขัดสน2 จะเห็นได้ว่า มีจำนวนครัวเรือนตกเกณฑ์มิติด้านรายได้สูงสุดเมื่อเทียบกับมิติอื่น โดยมี 309,122 ครัวเรือนหรือคิดเป็นร้อยละ 42 ทั้งนี้ จะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อประกอบการดำเนินการของ ศจพ. ในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถอยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน รวมทั้งนำไปประกอบการจัดทำดัชนีการพัฒนาคนหลายมิติระดับประเทศและระดับพื้นที่ นอกจากนี้ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) โดยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาใช้ในการสนับสนุนการประเมินสภาพปัญหา สถานการณ์ต้นเหตุของปัญหา ช่องว่างของการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาตามมิติของการพัมนาที่มีความหลากหลาย เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาตามความจำเป็นเร่งด่วน สอดคล้องกับทรัพยากรข้อจำกัดต่างๆ ในพื้นที่ของการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การออกแบบการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย แผน มาตรการ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำที่เป็นไปอย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อไป

 

QIC 720x100

ธกส 720x100

 

          2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ได้จัดทำรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยครั้งที่ 16 (รอบเดือนเมษายน-มิถุนายน 2565) โดยสรุปผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการปฏิรูปประเทศที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมาย เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในหน่วยงานราชการมากขึ้น การเชื่อมโยงข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง โดยใช้ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) การจัดทำพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย .. 2565 เพื่อให้ผู้ที่มีความผิดไม่ร้ายแรงชำระค่าปรับแทนการลงโทษทางอาญาและไม่มีการจำคุก และการจัดทำพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม .. 2565 ทั้งนี้ การดำเนินการปฏิรูปประเทศในระยะต่อไป ให้หน่วยงานของรัฐนำประเด็นการปฏิรูปที่ยังต่อเนื่องไปดำเนินการผ่านกลไกของแผนระดับที่ 2 แผนระดับที่ 3 และการดำเนินการต่างๆ ของหน่วยงานเพื่อผลักดันให้เกิดผลอย่างยั่งยืนต่อไป

          3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตจร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) รองรับการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการตามแผนระดับที่ 2 ได้แก่ แผนแม่บทฯ (ฉบับปรับปรุง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (.. 2566-2570) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (.. 2566-2570) สศช. จึงได้เชื่อมโยงความสอดคล้องของเป้าหมายของแต่ละแผนเพื่อความสะดวกในการนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในประเด็นที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันระหว่างเป้าหมาย รวมถึงสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการประมวลผลได้ง่าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินการตามแผนระดับที่

          4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ โครงการฯ ประจำปีงบประมาณ .. 2567 ที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 1,026 โครงการจากข้อเสนอโครงการฯ ทั้งหมด 2,619 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 39.18 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าเมื่อ 2 ปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ตามหลักเกณฑ์การประเมินโครงการฯ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากพิจาณาในรายละเอียดของผลคะแนนตามหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอโครงการฯ เกณฑ์ที่ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ โครงการเป็นการจัดทำโดยมีการอ้างอิงหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มารองรับ โครงการมีแผนการดำเนินงานและกิจกรรมที่ชัดเจน เป็นไปได้จริงส่งผลโดยตรงต่อการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างแท้จริง และโครงการมีตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งโครงการฯ ที่ตอบโจทย์การพัฒนาและพุ่งเป้าในการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ทุกระดับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการขับเคลื่อนการดำเนินการไปสู่การบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทฯที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งต้องให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำโครงการฯ ตลอดกระบวนการและจัดทำ/ปรับปรุงรายละเอียดของข้อเสนอโครงการฯ ทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนตามกระบวนการงบประมาณและบรรจุในแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่อไป

_______________________________

1จากการประสานงานข้อมูลเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 สศช. แจ้งว่าอยู่ระหว่างปรับแก้แผนแม่บทฯ (ฉบับปรับปรุง) ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

2ความขัดสน 5 มิติ ประกอบด้วย สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการรัฐ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11118

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!