WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย

GOV1 copy copy

รายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้

          สาระสำคัญ 

          สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อสรุปข้อมูลการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2565 เวลา 13.30 . ห้องประชุม 109 ชั้น 1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งสามารถสรุปผลความช่วยเหลือจากหน่วยงานหลักๆ ที่ให้ความช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

          1. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และจังหวัด ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีอุทกภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน .. 2562 ไปแล้ว รวมทั้งสิ้นจำนวน 79,013,666.76 บาท แยกเป็น

                 1.1 วงเงินทดรองราชการในอำนาจอธิบดี ปภ. การสนับสนุนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ของ ศูนย์ ปภ.เขต ในพื้นที่อุทกภัย เป็นเงิน 35,484,446.32 บาท

                 1.2 วงเงินเชิงป้องกันยับยั้ง จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง บุรีรัมย์ นครนายก มหาสารคาม จำนวน 23,065.897.94 บาท เช่น ค่าแรงงาน ค่าจ้างเหมา ค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรกล ค่าจัดหาพลังงานเชื้อเพลิง เป็นต้น

                 1.3 วงเงินเชิงบรรเทาความเดือดร้อน จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน กำแพงเพชร ชัยภูมิ เชียงราย จันทบุรี ฉะเชิงเทรา น่าน อุตรดิตถ์ ตราด พิษณุโลก แพร่ จำนวน 20,463,322.50 บาท เช่น ด้านดำรงชีพ ด้านการเกษตร ด้านบรรเทาสาธารณภัย นอกจากนี้ ยังสนับสนุนเครื่องจักรฯ ออกปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น เครื่องสูบน้ำ รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัย เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน ในการขนส่งสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย และสนับสนุนสิ่งของจำเป็นสำหรับการอุปโภค บริโภค

          2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนไปแล้ว จำนวน 180,957,682.94 บาท ซึ่งเป็นกรณีเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ของ อปท. ไม่ว่าจะมีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหรือไม่ก็ตาม โดย อปท. สามารถดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นได้ฉับพลันทันที เพื่อการดำรงชีพหรือบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าหรือระงับสาธารณภัย หรือเพื่อคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สิน หรือป้องกันภยันตรายที่จะเกิดแก่ประชาชนได้ตามความจำเป็น ภายใต้ขอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยไม่ต้องเสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือประชาชนของ อปท. แยกเป็นด้านการดำรงชีพ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการเกษตร ด้านบรรเทาสาธารณภัย และด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน .. 2563

          อย่างไรก็ดี ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านอื่นๆ โดยใช้เงินสะสมของ อปท. เพื่อฟื้นฟูเยียวยาและบรรเทาผลกระทบของประชาชนตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับปลัดกระทรวงมหาดไทย และไม่ต้องเสนอคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนของ อปท. พิจารณาตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการช่วยหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. .3 ..2565 ทำให้การช่วยเหลือประชาชนมีความคล่องตัวและครอบคลุมมากขึ้น

 

TU720x100

 

          3. สำนักงบประมาณได้ตั้งงบประมาณสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้

                 3.1 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 92,400 ล้านบาท

                 3.2 งบกลางรายการชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 2,000 ล้านบาท

          โดยช่องทางการช่วยเหลือประชาชนที่รวดเร็ว คือ ผ่านการใช้จ่ายเงินชดใช้เงินทดรองราชการ ที่ครอบคลุมทั้งการให้เงินช่วยเหลือและการซ่อมแซมพื้นที่ให้กลับสู่สภาพเดิม โดยหากวงเงินไม่เพียงพอสามารถขอเพิ่มกรอบวงเงินได้เป็นรายครั้งกับกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ หากงบกลาง รายการชดใช้เงินทดรองราชการฯ ไม่เพียงพอ สามารถขอรับโอนจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพิ่มเติม โดยการขอรับการจัดสรรจะเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งต้องเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการ

          4. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีแนวทางการช่วยเหลือ ฟื้นฟู และพัฒนาผู้ประสบสาธารณภัย ดังนี้

                 4.1 แนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

                          1) การเตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง ติดตาม และเตรียมเผชิญเหตุโดยการร่วมประชุมกับกองบัญซาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ/จังหวัด มีศูนย์ช่วยเหลือสังคม “OSCC 1330” รับแจ้งเหตุความต้องการ ประสานการช่วยเหลือไปยังหน่วยงาน/ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

                          2) การบรรเทาทุกข์ (ขณะเกิดภัย) ให้การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์อพยพจัดทีม นักสังคมสงเคราะห์ออกเยี่ยมบ้าน ให้คำปรึกษา บำบัดฟื้นฟูจิตใจ และมอบสิ่งของแจกจ่ายอาหาร

                          3) การฟื้นฟูและพัฒนาผู้ประสบภัย (หลังเกิดภัย) จัดทีม One Homeออกเยี่ยมบ้านและสำรวจปัญหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มอบเงินสงเคราะห์แก่กลุ่มเป้าหมายและวางแผนให้ความช่วยเหลือตามภารกิจ

                 4.2 การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จำนวน 151 รายๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 453,000 บาท แยกเป็น

                          1) เงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน จำนวน 16 คน รวมเป็นเงิน 48,000 บาท

                          2) เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,000 บาท

                          3) เงินสงเคราะห์คนพิการ จำนวน 134 คน เป็นเงิน 402,000 บาท

                          4) ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ/ผู้สูงอายุ หลังละไม่เกิน 40,000 บาท

                  ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณาของ พม.

          5. หน่วยงานอื่นๆ ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตามอำนาจหน้าที่ เช่น กรมสรรพากรมีมาตรการการลดหย่อนภาษี กรมสรรพสามิตช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโดยการขยายเวลายื่นแบบภาษี กรมธนารักษ์ยกเว้นค่าเช่าสำหรับผู้เช่าที่ราชพัสดุเป็นเวลา 1 ปี และ กรมชลประทานดำเนินการผลักดันน้ำจากพื้นที่ลุ่มต่ำออกไปสู่แม่น้ำสายหลักโดยเร็ว เป็นต้น นอกจากนี้ ในส่วนของการประชาสัมพันธ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กรมประชาสัมพันธ์ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพยากรณ์อากาศ สถานการณ์น้ำในพื้นที่ ความช่วยเหลือและการปฏิบัติงานของภาครัฐ คำแนะนำ และช่องทางการติดต่อสำหรับประชาชนผู้ประสบอุทกภัยเพื่อสื่อสารให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง

 

วิริยะ 720x100

 

          6. จากสถานการณ์น้ำท่วมเกิดฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโนรู ที่พัดเข้าไทยในช่วงปลายเดือนกันยายน 2565 ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้างในหลายจังหวัดของภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับผลกระทบ 9 อำเภอ 35 ตำบล 260 หมู่บ้าน ได้รับความเสียหาย 9,569ครัวเรือน โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจพร้อมมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์และน้ำดื่มให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันระดับน้ำลดลงแล้ว จากสถานการณ์ดังกล่าว สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดทำข้อมูลการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน จากหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือ เช่น

 

หน่วยงาน

 

ตัวอย่าง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือ

ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน .. 2562

 

- ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 29,700 บาท

- กรณีบาดเจ็บสาหัสฯ ให้จ่ายเบื้องต้นรายละ 4,000 บาท

- ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ เท่าที่จ่ายจริงหลังละ 49,500 บาท

- ด้านการเกษตร ช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติที่พืชตาย หรือเสียหายตามจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรจริงที่ได้รับความเสียหาย ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ โดยคิดจากต้นทุนการผลิตเฉลี่ย

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน .. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม .. 2564

 

- เงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน

- เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก

- เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัว

- เงินสงเคราะห์คนพิการ

- เงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้และผู้ไร้ที่พึ่ง

- เงินสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาทางสังคม

โดยอุดหนุน รายละ 3,000 บาท

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย การยางแห่งประเทศไทย

 

เงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรชาวสวนยาง กรณีสวนยางประสบภัยรายละไม่เกิน 3,000 บาท

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผ่านกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี

 

- ค่าจัดการศพ รายละ 50,000 บาท

- เงินทุนเลี้ยงชีพ แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ครอบครัวละ 30,000 บาท เงินทุนเลี้ยงชีพ แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตที่มีบุตรอายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ อีกครอบครัวละ 50,000 บาท

- ค่าวัสดุในการก่อสร้าง/ซ่อมแชมบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลัง ไม่เกินหลังละ 220,000 - 230,000 บาท เสียหายมาก ไม่เกินหลังละ 70,000 บาท และเสียหายน้อยไม่เกินหลังละ 15,000 บาท

- ค่าเครื่องอุปโภค และเครื่องใช้อื่นๆ ที่จำเป็นแก่ครอบครัว แก่ผู้ประสบภัยพิบัติเฉพาะบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลัง และเสียหายมากครัวเรือนละ 5,000 บาท

- จัดทำถุงยังชีพ ถุงละไม่เกิน 700 บาท

 

          จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าหน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ซึ่งรัฐบาลอาจใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาพรวมต่อไป

          7. สำหรับการดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ผู้ประสบอุทกภัยในระยะต่อไป ปภ. จะได้มีการเร่งรัดจังหวัดให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติให้ครอบคลุมในทุกมิติ ทุกด้าน และรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือ ด้านที่อยู่อาศัย และการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพด้านการเกษตรโดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสำคัญในการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนให้ทราบถึงขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือฯ หากจังหวัดได้สำรวจความเสียหายด้านใดเรียบร้อยแล้ว ให้เร่งดำเนินการประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ และจังหวัด โดยไม่ต้องรอการสำรวจความเสียหายให้เสร็จสิ้นครบทุกด้านเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติโดยเร็ว นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหายเกี่ยวกับข้อมูลของถนน แหล่งกักเก็บน้ำและสิ่งสาธารณประโยชน์อื่นๆ เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณมาที่กระทรวงมหาดไทยต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 ตุลาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A10884

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!