WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy)

GOV8

การรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy)

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นซอบต่อร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) รวมทั้งอนุมัติให้ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยให้กระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ

        สาระสำคัญของเรื่อง

        1. ความเป็นมาของการประชุม การประชุม the 3rd World Conference on Creative Economy (WCCE) จะจัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน Bali International Convention Center (BICC) เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์อินโดนีเซียได้ริเริ่มการจัดประชุม WCCE ครั้งแรกเมื่อปี .. 2561 เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อเป็นเวทีในการสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มนักคิด องค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนสื่อและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ซึ่งจะนำไปสู่ธุรกิจในยุคใหม่ที่เปิดกว้างสำหรับทุกคนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยนำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการทำให้เกิดความร่วมมือในการสร้างสรรค์จากทั่วโลก และได้จัดการประชุมฯ ครั้งที่ 2 ในปี .. 2564 เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

 

aia 720 x100

 

             การประชุม WCCE ครั้งที่ 3 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อการสร้างสรรค์อย่างครอบคลุม : การฟื้นฟูระดับโลก” (Inclusively Creative : A Global Recovery) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาภาคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้ง 5 ฝ่าย ได้แก่ 1) รัฐบาล ผู้กำหนดนโยบายหรือองค์กรระหว่างประเทศ 2) นักวิชาการ 3) องค์กรเอกชน 4) ชุมชน และ 5) สื่อที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนในระดับสากล ตลอดจนช่วยให้ทุกประเทศเล็งเห็นศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตเอื้อประโยชน์ที่ครอบคลุมถึงทุกฝ่ายโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ฟื้นฟูโลกหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) โดยประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การประชุมเสวนา และกิจกรรม SPOTLIGHT 2) การประชุมระดับรัฐมนตรี 3) การประชุม Friends of Creative Economy (FCE) และ 4) WCCE Expo

             ทั้งนี้ การประชุม WCCE ครั้งที่ 3 เป็นการให้ความสำคัญในการอภิปรายและพิจารณาเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการประชุมนานาชาติที่ผ่านมา โดยคำนึงถึงข้อเสนอแนะด้านนโยบายในกรอบการทำงาน G20 ต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง อาทิ การประชุม Urban 20 Riyadh 2020 ในหัวข้อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ครอบคลุมและอนาคตของการทำงานการประชุม Think 20 Italy 2021 ในห้วข้อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ครอบคลุมและยืดหยุ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการฟื้นฟูและการประชุม Urban 20 Indonesia 2022 ในหัวข้อมนุษย์และเศรษฐกิจถัดไปการฟื้นตัวไปพร้อมกัน

        2. การเข้าร่วมประชุมของคณะผู้แทนไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมมอบหมายรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (นางยุถิกา อิศรางกูร อยุธยา) เข้าร่วมการประชุม WCCE ครั้งที่ 3 ร่วมกับคณะผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งการเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการเข้าร่วมการประชุมครั้งแรกของคณะผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมในกรอบการประชุมนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการมุ่งปรับเปลี่ยนบทบาทของกระทรวงวัฒนธรรมสู่การเป็นกระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ โดยจะใช้โอกาสนี้ในการแลกเปลี่ยนมุมมอง และประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศร่วมกับผู้แทนอื่นๆ ที่เข้าร่วมการประชุม โดยประเทศเจ้าภาพได้เชิญมาจากหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนภาครัฐบาล ผู้จัดทำนโยบาย ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ ผู้แทนภาคเอกชน ภาควิชาการ ผู้ผลิต สื่อมวลชน และผู้ประกอบการทางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทั่วโลก อาทิ อินเดีย สิงคโปร์ เคนยา ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้และเดนมาร์ก เพื่อให้เกิดการรวมตัว การหารือ และการแสวงหาแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไป

 

ใจฟู720x100px

 

        3. สาระสำคัญของร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ปรากฎในการประชุมระดับโลกหลายครั้ง การระลึกถึงวาระบาหลีเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการประชุม WCCE ครั้งที่ 1 ซึ่งสนับสนุนการดำเนินการและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจัดการกับความท้าทายและโอกาสทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การก่อตั้งศูนย์ความเป็นเลิศระดับโลกด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลอินโดนีเซีย อีกทั้งเพื่อติดตามการดำเนินงานตามวาระบาหลี ซึ่งมีการผลักดันให้สาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางระดับโลกในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านโครงการเสริมสร้างศักยภาพ การวิจัย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการเน้นย้ำศักยภาพเชิงกลยุทธ์ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกในเชิงบวกซึ่งส่งเสริมการเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) และได้กลายเป็นทรัพยากรที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจระดับโลกในอนาคต รวมถึงแนวทางการดำเนินการทั้ง 15 ประการ ได้แก่ 1) การผนวกเศรษฐกิจสร้างสรรค์เข้าไว้ในแผนและกลยุทธ์การฟื้นฟูระดับชาติและระดับนานาชาติ 2) การกระตุ้นเศรษฐกิจมหภาคด้วยสินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างเสรี 3) การให้ภาคเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) และความท้าทายระดับโลกอื่นๆ 4) การให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 5) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของการสนับสนุนผู้มีบทบาทในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระหว่าง และหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) 6) การสร้างระบบนิเวศเพื่อให้มั่นใจว่าภาคเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีความเท่าเทียมสำหรับทุกคน 7) การก่อตั้งศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์และศูนย์กลางความเป็นเลิศ 8) การส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเทคโนโลยีในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 9) การส่งเสริมการวิจัย 10) การพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อรองรับต่อการทำงานในอนาคต 11) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของข้อมูล 12) การบูรณาการร่วมกันระหว่างเศรษฐกิจสร้างสรรค์นอกระบบและเศรษฐกิจกระแสหลัก 13) การสนับสนุนผู้ที่มีบทบาทในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 14) การอำนวยความสะดวกในการใช้สินทรัพย์ทั้งหลายที่จับต้องไม่ได้ รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา และ 15) การแจ้งผลการดำเนินการตามแผนที่นำทางฉบับนี้ ดังที่ปรากฎตาม Roadmap โดยจะมีการนำเสนอร่างเอกสารดังกล่าวให้ที่ประชุม WCCE ครั้งที่ 3 รับรองต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้พิจารณาและไม่มีข้อขัดข้องต่อร่างแรกของเอกสารดังกล่าว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 5 ตุลาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A10184

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!