WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

GOV 22

ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ .. 2566

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ .. 2566 และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนตัวชี้วัด ให้บรรลุเป้าหมายต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (...) เสนอ

        สาระสำคัญของเรื่อง

        ... รายงานว่า

        1. ... ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ .. 2566 โดยมีกรอบแนวทางและเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับปีงบประมาณ .. 2565 และกำหนดให้ประเมินส่วนราชการปีละ 1 ครั้ง (รอบการประเมินตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายนของทุกปี) นอกจากนี้ ได้พิจารณากำหนดการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล (Agenda) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (2) การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ (การจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบ) และ (3) การท่องเที่ยว (รายได้จากการท่องเที่ยว) โดยมีตัวชี้วัดร่วมเพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) และมีเป้าหมายให้ Joint KPIs ถ่ายทอดเป้าหมายระดับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทไปสู่ระดับส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ

        2. ... ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบ Joint KPIs ประจำปีงบประมาณ .. 2566 ใน 3 ประเด็นดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ1 และห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย2 รวมถึงได้มีการกำหนดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละตัวชี้วัด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

             2.1 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนในระดับสากล ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศภาคีตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและได้ให้สัตยาบันร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 โดยมีเป้าหมายระยะยาวในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก โดยเฉลี่ยให้น้อยกว่า 2 องศาเซลเซียส โดยที่ประเทศภาคีจะต้องจัดทำเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แต่ละประเทศกำหนดเองตามความเหมาะสมและรับผิดชอบดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว ทั้งนี้ Joint KPIs ที่ได้จัดทำขึ้นในประเด็นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 18 การเติบโตอย่างยั่งยืนประเด็นย่อย 18.3 การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้

 

ห่วงโซ่คุณค่า

 

ชื่อตัวชี้วัด

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมาย : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยลดลง ประกอบด้วย 4 ประเด็น

1. นโยบายด้านการลดก๊าซเรือนกระจก

 

- การประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจก

 

กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)

 

- การป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม

 
 

- การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านพลังงาน .. 2566 – 2580

(แผนพลังงานชาติ) เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงาน

 

2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

 

จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลการใช้เครื่องมือระบบรายงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเมืองและชุมชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางบก (พื้นที่สีเขียว) ของ อปท.

 

กระทรวงมหาดไทย (มท.)

3. การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจก

 

- ความสำเร็จการดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต

 

ทส. มท. (17 จังหวัด) และ อก.

 

- ความสำเร็จของการจัดการหมอกควันและไฟป่า3

 
 

- จำนวนพื้นที่ป่าได้รับการฟื้นฟู (ไร่)

 
 

- ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ (คาร์บอนเครดิต)จากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER)4

 
 

- ร้อยละความสำเร็จในการลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ในประเทศ

 

4. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ

 

- เพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และสร้างการรับรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

ทส. กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ มท.

 

- ประชาชน ชุมชน และภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังสามารถ

ปรับตัวพร้อมรับมือลดผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย

 
 

- ร้อยละกลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์และ/หรือใช้ในการปรับพฤติกรรมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก

 
 

- ร้อยละกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมนำแนวทางเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

 
 

- ร้อยละของพื้นที่เป้าหมายเมืองที่ผ่านเกณฑ์ มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ชี้วัด

 
 

- ปริมาณซื้อขายและถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต ซึ่งมาจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER) ตามมาตรฐานของประเทศไทย

 
 

- จำนวนการเข้าถึงผู้รับสารจากการสื่อสารองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

 
 

- ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ ร้อยละ 70

 
 

- ต้นแบบการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ในเขตพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

 
 

- ปริมาณก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด อปท. จากการส่งเสริมการจัดทำข้อมูลและรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่ามีศักยภาพจะลดได้

 
 

- ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองให้ใช้เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์5 และเครื่องหมายรับรองคลูโหมด6

 
 

- ร้อยละของความตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 
 

- ร้อยละความพึงพอใจของการให้บริการข้อมูลภูมิอากาศแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์

 
 

- ผลสำเร็จของกิจกรรมในการดำเนินการของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางและกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

 

 

ธกส 720x100

 

              2.2 ความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภค การบริหารทรัพยากรน้ำเป็นประเด็นสำคัญของประเทศ ประกอบกับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 บัญญัติให้มีกลไกขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการบูรณาการเกี่ยวกับการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้เกิดความเป็นเอกภาพและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนและบริหารจัดการทรัพยากรทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ(ปี .. 2561 - 2580)7 ทั้งนี้ Joint KPIs ที่ได้จัดทำขึ้นในประเด็นความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภคมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (ปี .. 2561 - 2580) ยุทธศาสตร์ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค รวมทั้งแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ประเด็นย่อย 19.1 การพัฒนาการจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้

 

ห่วงโซ่คุณค่า

 

ชื่อตัวชี้วัด

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมาย 1 : ระดับความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นจากระดับ 3 ให้เป็นระดับ 48 ประกอบด้วย 2 ประเด็น

1. การเข้าถึงน้ำอุปโภค/บริโภคอย่างเพียงพอได้มาตรฐาน

 

- ปริมาณน้ำที่จัดสรรเพื่อการอุปโภคบริโภค

- ความสำเร็จในการเสริมสร้างศักยภาพ อปท. ในการประเมินคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน

- ผลสำเร็จของการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภค

- จำนวน อปท. ที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

- ร้อยละคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านได้มาตรฐานตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้

- ความสำเร็จของการจัดทำแผนขับเคลื่อนน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค

 

กษ. ทส. มท. และ สทนช.

2. การบริหารจัดการคุณภาพน้ำ

 

- คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักที่อยู่ในเกณฑ์ดีเพิ่มขึ้น9

 

ทส. และ มท. (27 จังหวัด)

 

              2.3 รายได้จากการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามสภาวการณ์โลกและพฤติกรรมของผู้บริโภค จึงต้องมีการปรับตัวตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไปและวางแผนการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อรักษาและพัฒนาขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวของประเทศ รัฐบาลจึงมีนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวอย่างเร่งด่วน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ทั้งนี้ Joint KPIs ที่ได้จัดทำขึ้นในประเด็นรายได้จากการท่องเที่ยวมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 5 การท่องเที่ยว ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้

 

ห่วงโซ่คุณค่า

 

ชื่อตัวชี้วัด

 

หน่วยงานที่เกี่ยวของ

ภาพรวมรายได้จากการท่องเที่ยว

 

 

รายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ10

- รายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย11

 

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) และ มท.

เป้าหมาย 1 รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 4 ประเด็น

1. ฐานทุนวัฒนธรรมของพื้นที่

 

- รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริม สนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

 

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

2. การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า บริการและแหล่งท่องเที่ยว

 

- ร้อยละของรายได้ที่เพิ่มขึ้นของวิสาหกิจชุมชนที่ประกอบกิจกรรมด้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร

- จำนวนแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติที่ขอรับรองมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว

- จำนวนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีได้รับการพัฒนาศักยภาพและพร้อมสู่การเป็นเส้นทางท่องเที่ยว

- รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริม สนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

- จำนวนเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

 

กษ. ทส. มท. วธ. และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

3. การตลาดเพื่อการท่องเที่ยว

สร้างสรรค์และวัฒนธรรม

 

- อัตราการรับรู้ถึงกิจกรรมท่องเที่ยว สินค้า/บริการทางการท่องเที่ยวของกลุ่มเป้าหมาย

- จำนวนชุมชนท่องเที่ยวที่ได้รับการผลักดันเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

- จำนวน อปท. ที่สนับสนุนหรือจัดให้มีการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ให้แก่นักท่องเที่ยว

- ร้อยละการสร้างการตระหนักรู้ต่อนักท่องเที่ยว

- จำนวนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีได้รับการพัฒนาศักยภาพและพร้อมสู่การเป็นเส้นทางท่องเที่ยว

- รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริม สนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

- จำนวนเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

 

กก. มท. วธ. และ สปน.

4. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

 

จำนวนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีได้รับการพัฒนาศักยภาพและพร้อมสู่การเป็นเส้นทางท่องเที่ยว

 

มท.

เป้าหมาย 2 รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 3 ประเด็น

1. ความพร้อมของสินค้าและบริการของการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ

 

- จำนวนผลิตภันฑ์ OTOP ที่ได้รับการยกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

- ระยะทางที่ดำเนินการก่อสร้างทางหลวงชนบทเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว

- จำนวนโครงการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ

- อัตราการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ

 

กระทรวง

การอุดมศึกษา

วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คค. มท. และ สปน.

2. การตลาดท่องเที่ยวเชิงธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ

 

- อัตราการรับรู้ถึงกิจกรรมท่องเที่ยว สินค้า/บริการ ทางการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของกลุ่มเป้าหมาย

- ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายรับรู้ในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจของไทย

- อัตราการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ

 

กก. และ สปน.

3. การบริหาร

จัดการกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงธุรกิจให้บรรลุเป้าหมาย

 

- อัตราการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ

- อัตราการรับรู้ถึงกิจกรรมท่องเที่ยว สินค้า/บริการ ทางการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของกลุ่มเป้าหมาย

 

กก. และ สปน.

เป้าหมาย 3 รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 2 ประเด็น

1. สินค้าและบริการ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

 

- ร้อยละของศูนย์เวลเนส (Wellness Center)/แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ได้รับการยกระดับแบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ด้านภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร ให้มีคุณค่าและมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น

- ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสอบได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

- ร้อยละของสถานประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเป้าหมายได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

- อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ได้รับมาตรฐานตามที่กำหนด

 

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

2. การตลาดเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

 

จำนวนผู้ซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากการดำเนินงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

 

กก.

เป้าหมาย 4 รายได้จากการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 2 ประเด็น

1. บุคลากรด้านการท่องเที่ยว

สำราญทางน้ำและกฎหมาย

 

ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับเรือสำราญและกีฬาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 

กระทรวงการคลัง

2. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างรายได้การท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ

 

ประชาชนได้รับการแจ้งเตือนภัยและมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือสาธารณภัยตามระยะเวลาที่กำหนด

 

มท.

 

ais 720x100

 

         ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญโดยการกำหนด Joint KPIs มีกลไกในการกำกับและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายทั้งระดับหน่วยงานและภาพรวมในระดับประเทศผ่านคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมในสังกัดกระทรวง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำกระทรวง ผู้นำกลุ่มขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองกระทรวง ผู้อำนวยการองค์การมหาชนภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ... เป็นกรรมการเพื่อให้การขับเคลื่อน Joint KPIs มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชนเรื่องผลกระทบกับคุณภาพชีวิต ด้านสิ่งแวดล้อม และการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

_________________

1แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ .. 2561 - 2580 มี 23 ประเด็น (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2562)

2ห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย คือ องค์ประกอบที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการ (ต้นทาง) ไปจนสิ้นสุดกระบวนการดำเนินงาน (ปลายทาง) ซึ่งส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยนั้นๆ ได้ตามที่กำหนด ประกอบด้วย 140 เป้าหมาย ซึ่งเป็นเป้าหมายของแผนแม่บทย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

3ตัวชี้วัดที่เป็นทั้งตัวชี้วัดส่วนราชการและจังหวัด (17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิษณุโลก แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี)

4โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) คือ กลไกลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Thailand Greenhouse Gas Management Organization: TGO) พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งเป็นกลไกที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียน ภาคอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานการจัดการของเสีย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีศักยภาพลดก๊าซเรือนกระจก การจัดการในภาคขนส่ง รวมถึงการปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นอกจากจะช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้แล้วยังสามารถรักษาและสร้างความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกด้วย

5คาร์บอนฟุตพริ้นท์ หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต/การประกอบชิ้นงาน การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้อง โดยคำนวณออกมาในรูปของ กรัม กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าโดยเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไร

6เครื่องหมายรับรองคลูโหมดเป็นฉลากที่มอบให้กับเสื้อผ้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการระบายความร้อนได้ดี สวมใส่สบาย ไม่ร้อนอบอ้าว โดยไม่รู้สึกอึดอัด เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการตัดเย็บเป็นผ้าที่มีการพัฒนาให้มีคุณสมบัติพิเศษในการซับเหงื่อจากผิวหนังและระเหยออก จึงช่วยเพิ่มความสบายและความเย็นในขณะสวมใส่ เสื้อผ้าดังกล่าวนี้จึงช่วยรองรับการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการมีส่วนช่วยลดการใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

7คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 มิถุนายน 2562) เห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (.. 2561 – 2580) ตามที่ สทนช. เสนอ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ได้แก่ (1) การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค (2) การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต (3) การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย (4) การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ (5) การอนุรักษ์พื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และ (6) การบริหารจัดการ

8ระดับความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นจากระดับ 3 ให้เป็นระดับ 4 (สูงสุดที่ระดับ 5) บ่งบอกถึงความสามารถในการเข้าถึงน้ำดื่มที่เพียงพอและยั่งยืน

9ตัวชี้วัดที่เป็นทั้งตัวชี้วัดส่วนราชการและจังหวัด (6 ลุ่มน้ำ 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี อุทัยธานี สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ลำพูน เชียงใหม่ กำแพงเพชร ตาก จันทบุรี ตราด และระยอง)

10ตัวชี้วัดที่เป็นทั้งตัวชี้วัดส่วนราชการและจังหวัด (7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา ยะลา สุราษฎร์ธานี ชลบุรี นราธิวาส และกระบี่)

11ตัวชี้วัดที่เป็นทั้งตัวชี้วัดส่วนราชการและจังหวัด (20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต กระบี่ สงขลา ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี กาญจนบุรี นครราชสีมา เชียงราย สุราษฎร์ธานีขอนแก่น นครศรีธรรมราช พระนครศรีอยุธยา ตราด อุดรธานี สตูล จันทบุรี และตรัง)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 27 กันยายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A91050

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!