WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025)

GOV 16

การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 .. 2568 (.. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ .. 2568 (.. 2025)

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอดังนี้

        1. ให้ประเทศไทยรับการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์* ครั้งที่ 33 .. 2568 (.. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ .. 2568 (.. 2025)

        2. กรอบวงเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพการจัดการกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 .. 2568 (.. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ .. 2568 (.. 2025) วงเงิน 2,055 ล้านบาท

        สาระสำคัญของเรื่อง

        กก. รายงานว่า

        1. กีฬาซีเกมส์ (SEA Games) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุก 2 ปี ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 11 ประเทศ ควบคุมการดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee: IOC) สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia: OCA) และสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียน

        2. จากการประชุมมนตรีซีเกมส์ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ได้มีวาระการประชุมเรื่องการยืนยันการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 .. 2568 (.. 2025) กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 34 .. 2570 (.. 2027) และกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 35 .. 2572 (.. 2029) โดยมนตรีซีเกมส์ประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งยังไม่มีประเทศผู้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 .. 2568 (.. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ .. 2568 (.. 2025) ประกอบกับถึงรอบของประเทศไทยที่จะต้องเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้รับนโยบายจากประธานกรรมการ โอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 .. 2568 (.. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ .. 2568 (.. 2025) รวมทั้งการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬามหกรรมระดับนานาชาติรายการอื่นๆ ต่อไปด้วย

 

sme 720x100

 

        3. คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 มีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 .. 2568 (.. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ .. 2568 (.. 2025) พร้อมเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาจังหวัดเจ้าภาพการจัดการแข่งขันดังกล่าว พร้อมทั้งกรอบประมาณวงเงินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นโดยมีผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทยร่วมเป็นอนุกรรมการ

        4. แผนการบริหารจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 .. 2568 (.. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ .. 2568 (.. 2025) มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

             4.1 ด้านการดำเนินงาน

 

ประเด็น

รายละเอียด

 

แผนการดำเนินงาน

 

ปี ..

ตัวอย่างการดำเนินงาน

2565

- ขอความเห็นชอบการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจากคณะรัฐมนตรี

- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาจังหวัดเจ้าภาพ (Host City)

2566

- สำรวจจังหวัดที่เสนอตัว และพิจารณาเมืองเจ้าภาพ (Host City)

- แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ

2567

- จัดทำแผนงานและงบประมาณของแต่ละฝ่าย

- ส่งคู่มือการแข่งขันให้สหพันธ์กีฬาระดับนานาชาติ/เอเชีย รับรอง

2568

- ทดสอบระบบการจัดการแข่งขัน

- ดำเนินการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 .. 2568 (.. 2025) (เดือนธันวาคม)

2569

- ดำเนินการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ .. 2568 (.. 2025) (เดือนมกราคม)

- สรุปผลการดำเนินงาน

 

จังหวัดเจ้าภาพ

มีจังหวัดเป้าหมาย 6 จังหวัด

- จังหวัดเชียงใหม่ เช่น สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี

- จังหวัดชลบุรี เช่น ศูนย์กีฬาภาคตะวันออก บางละมุง

- จังหวัดนครราชสีมา เช่น สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

- จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดสงขลา เช่น สนามกีฬาสุระกุล (ภูเก็ต) และสนามกีฬาติณสูลานนท์ (สงขลา)

- กรุงเทพมหานคร เช่น ราชมังคลากีฬาสถาน สนามศุภชลาศัย

หมายเหตุ : สนามสำหรับพิธีเปิด - ปิด จะต้องมีความจุ 20,000 ที่นั่งขึ้นไป

การถ่ายทอด

การแข่งขัน

- ขอรับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

กลไกการดำเนินงาน

- ผ่านคณะกรรมการต่างๆ เช่น คณะกรรมการอำนวยการแข่งขัน คณะกรรมการจัดการแข่งขัน คณะกรรมการฝ่ายเทคนิคกีฬา คณะกรรมการฝ่ายต้อนรับ ที่พัก - อาหาร และขนส่ง คณะกรรมการฝ่ายงบประมาณและสิทธิประโยชน์ และคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์

ประโยชน์ที่ได้รับ

- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยสู่สายตาประชาคมอาเซียน

- สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนนานาชาติ ให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมของประเทศในทุกๆ ด้าน

- สร้างรายได้ให้กับประเทศเกิดการหมุนเวียนในระบบ โดยจะมีรายได้จากการใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นนักท่องเที่ยวที่เดินทางติดตามชมการแข่งขันฯ และการใช้จ่ายเงินของนักกีฬาเจ้าหน้าที่ ผู้แทนองค์กรกีฬาต่างๆ และผู้สังเกตการณ์ ประมาณ 12,000 คน

- แสดงความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและกีฬา

ความเสี่ยง

ที่อาจเกิดขึ้น

- การจำหน่ายบัตรเข้าชมกีฬาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) โดยใช้การแข่งขันแบบ New Normal หรือแข่งขันระบบปิดแบบไม่มีผู้ชม

 

PTG 720x100

 

              4.2 ด้านงบประมาณ

                    ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันตามกรอบวงเงิน 2,055 ล้านบาท อ้างอิงจากค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่ผ่านมา เช่น การจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 4 .. 2550 (1,463 ล้านบาท) และการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 .. 2550 (1,843 ล้านบาท) โดยใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่คำนึงถึงการนำทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น อาคาร สนามกีฬา ที่พัก ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์กีฬา มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งได้พิจารณาภารกิจในเชิงบูรณาการเพื่อลดความซับซ้อนและประหยัดงบประมาณ โดยแผนงบประมาณมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

แหล่งงบประมาณ (รายรับ)

วงเงิน (ล้านบาท)

(1) ขอรับสนับสนุนจากงบประมาณ

1,683.80

 

(2) รายรับจากฝ่ายสิทธิประโยชน์

        - เงินสนับสนุน                                               20 ล้านบาท

        - สินค้า/บริการ เช่น อุปกรณ์กีฬา เครื่องดื่ม     180 ล้านบาท

200.00

 

(3) ค่าจำหน่ายบัตรเข้าชมการแข่งขัน

20.00

 

(4) ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์

นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ 12,000 คน x 1,600 บาท x 7 วัน

134.40

 

(5) ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์

นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ 1,500 คน X 1,600 บาท x 7 วัน

16.80

 

รวมทั้งสิ้น

2,055.00

 

 

        5. ประเทศไทยมีศักยภาพทั้งในด้านมาตรฐานการจัดการแข่งขันกีฬาคุณภาพของบุคลากรกีฬาในภาคส่วนต่างๆ ความพร้อมของสถานที่จัดการแข่งขัน ประกอบกับยังมีระยะเวลาการดำเนินงานเพียงพอในการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 .. 2568 (.. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ .. 2568 (.. 2025) โดยการเป็นเจ้าภาพดังกล่าวสอดคล้องกับแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (.. 2560 - 2564) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬาเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพัฒนาด้านกีฬาชั้นนำระดับโลก (Thailand Excellence Sport HUB) ตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) โดยเน้นการจัดแข่งขันมหกรรมกีฬาในระดับนานาชาติและการจัดการแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆ ในระดับท้องถิ่น รวมทั้งได้ส่งเสริมให้มีสถานที่ฝึกซ้อมกีฬาหลากหลาย นอกจากนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาและบุคลากรกีฬาตลอดจนคณะกรรมการจัดการแข่งขันในภาคส่วนต่างๆ และเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงศักยภาพและต่อยอดไปยังการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬายูธโอลิมปิกเกมส์ .. 2573 (.. 2030) รวมถึงการจัดการแข่งขันกีฬามหกรรมระดับนานาชาติรายการอื่นๆ ในอนาคต

___________________________________

*ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งสุดท้าย คือ กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 .. 2550 (.. 2007) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 4 .. 2550 (.. 2007) จังหวัดนครราชสีมา (เมืองหลักในการจัดการแข่งขัน) จังหวัดชลบุรี และกรุงเทพมหานคร

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 27 กันยายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A91047

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

TU720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!