WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ....

GOV 23

ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. ....

        คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. .... โดยปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

        ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. .... มีหลักการสำคัญในการปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยลดอัตราเงินสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จากเดิมฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับฝ่ายรัฐบาลส่งเงินสมทบอัตราเดิม ร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมตามมาตรา 46 วรรคสาม เพื่อเป็นการบรรเทาภาระของนายจ้างและผู้ประกันตนให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอันเนื่องมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของค่าครองชีพภายหลังจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งส่งผลกระทบต่อนายจ้างและผู้ประกันตน

        สาระสำคัญ

        ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. .... ซึ่งเป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. 2565 เพื่อกำหนดอัตราเงินสมทบให้มีความเหมาะสม มีสาระสำคัญ ดังนี้

        (1) ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. 2565

        (2) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2565 ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนฝ่ายละร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ตามบัญชี .

 

QIC 720x100

ธกส 720x100

 

        (3) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้าง และผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ตามบัญชี .

        ทั้งนี้ การลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนมีผลทำให้นายจ้างและผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมลดลงจากฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบลดลงจากในอัตราเดือนละ 432 บาท เหลือในอัตราเดือนละ 240 บาท ส่งผลให้กองทุนประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบได้ลดลง 17,044 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบลดลง 9,080 ล้านบาท และนายจ้างจ่ายเงินสมทบลดลง 7,964 ล้านบาท ภาพรวมเมื่อลดอัตราเงินสมทบรวมกัน 21 เดือน (รวมกับการลดอัตราเงินสมทบครั้งที่ 1 ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2563 ครั้งที่ 2 ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน 2563 ครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2564 ครั้งที่ 4 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 5 ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน 2564 และครั้งที่ 6 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม 2565) เงินสมทบทั้งหมดจะลดลงประมาณ 160,250 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบลดลง 94,547 ล้านบาท ส่วนนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบลดลง 65,703 ล้านบาท

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 20 กันยายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9761

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!