การพิจารณายกเลิกการกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เป็นโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12 (4) หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา 44 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 (ร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 21 September 2022 00:11
- Hits: 1653
การพิจารณายกเลิกการกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เป็นโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12 (4) หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา 44 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 (ร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 เพื่อยกเลิกการกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เป็นโรคที่ต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบัน ซึ่งได้คลี่คลายและมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น จนสามารถผ่านปรนบรรดามาตรการและข้อจำกัดต่างๆ ให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถดำรงชีวิตและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้ใกล้เคียงกับปกติ รวมไปถึงการผ่อนคลายข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางระหว่างประเทศจากเดิมที่เคยกำหนดเป็นมาตรการสกัดกั้นเชื้อโรคอย่างเร่งด่วน ประกอบกับในการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 10/2565 ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกการกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 รับทราบสรุปผลการประชุมดังกล่าวตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เสนอ ด้วยแล้ว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้ว โดยได้แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันใช้บังคับร่างกฎกระทรวง จากเดิมที่กำหนด “ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” เป็น “ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” ซึ่งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมด้วยแล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 เพื่อยกเลิกการกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เป็นโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12 (4) หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา 44 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ดังนี้
กฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 |
ร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ ในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... |
|
- โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร [มาตรา 12 (4)] คือ (1) โรคเรื้อน (2) วัณโรคในระยะอันตราย (3) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
|
- โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร [มาตรา 12 (4)] คือ คงเดิม คงเดิม คงเดิม
|
|
(4) โรคยาเสพติดให้โทษ (5) โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 (6) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 |
คงเดิม คงเดิม - ยกเลิก - |
|
- โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร [มาตรา 44 (2)] คือ (1) โรคเรื้อน (2) วัณโรคในระยะอันตราย (3) โรคเท้าช้าง (4) โรคยาเสพติดให้โทษ (5) โรคพิษสุราเรื้อรัง (6) โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 (7) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 |
- โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร [มาตรา 44 (2)] คือ คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม - ยกเลิก - |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 20 กันยายน 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A9759