WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement: NAM)

GOV 22

การประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement: NAM)

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ายใด (Non-Aligned Movement: NAM) ภายใต้หัวข้อบทบาทของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในการฟื้นฟูทั่วโลกภายหลังการแพร่ระบาดครั้งใหญ่: หนทางสู่อนาคต” (The role for the Non-Aligned Movement in Post-Pandemic Global Recovery: The Way Forward) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของร่างเอกสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยก่อนการรับรอง ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถใช้ดุลพินิจดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

        สาระสำคัญ

        สาระสำคัญของร่างปฏิญญาทางการเมืองระบุวิสัยทัศน์และเป้าหมายของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาที่นำมาจากเอกสารปฏิญญาทางการเมืองที่ผ่านมา ดังปรากฏในข้อ 1 – 4 โดยมีเนื้อหาเพิ่มเติมสำหรับร่างปฏิญญาทางการเมืองฉบับนี้ ดังปรากฏในข้อ 5 ดังนี้

        1. ย้ำถึงวิสัยทัศน์และหลักการของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ยึดมั่นในสันติภาพความเสมอภาคและความร่วมมือ ความเป็นอยู่ที่ดี การต่อต้านการแทรกแซง ครอบงำและยึดครองของต่างชาติและย้ำถึงจุดยืนทางการเมืองที่ประสงค์จะรักษาสมดุลทางอำนาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

        2. ย้ำถึงการยึดมั่นในหลักการการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐอื่นการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธี และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกกลุ่มประทศไม่ฝักใผ่ฝ่ายใดแสดงความเป็นเอกภาพภายใต้สถานการณ์ระหว่างประเทศที่ท้าทายสันติภาพ ความมั่นคงและการพัฒนาที่ยั่งยืนในปัจจุบัน

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

        3. สนับสนุนให้ระบบพหภาคีและความร่วมมือระหว่างประเทศมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นสอดคล้องกับกฎบัตรสหประชาชาติและวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน .. 2030 เพื่อสนับสนุนภารกิจเสาหลักทั้งสามของสหประชาชาติ ได้แก่ สันติภาพและความมั่นคง การพัฒนา และสิทธิมนุษยชน

        4. ย้ำถึงสิทธิของรัฐสมาชิกในการกำหนดแนวท่างการพัฒนาประเทศและทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาระเบียบโลกให้นำมาซึ่งสันติภาพ ความเจริญทางเศรษฐกิจ และความยุติธรรมเสมอภาค รวมทั้ง ประณามการใช้มาตรการบีบบังคับฝ่ายเดียวต่อรัฐสมาชิกของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ

        5. ชื่นชมบทบาทของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ายใดที่อยู่ในศูนย์กลางของความพยายามในระดับพหุภาคีในการขจัดผลกระทบในเชิงลบจากการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และเสนอว่า กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดควรรักษาบทบาทนำด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อรับมือกับความท้าทายภายหลังการแพร่ระบาด

        ทั้งนี้ การประชุม NAM Ministerial Meeting มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 21 กันยายน 2565 สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 20 กันยายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9735

Click Donate Support Web  

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!