WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU Plenipotentiary Conference 2022: PP-22) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)

GOV 13

การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี .. 2022 (ITU Plenipotentiary Conference 2022: PP-22) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เสนอ ดังนี้

        1. เห็นชอบเอกสารท่าทีของประเทศไทยในการเข้าร่วมการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี .. 2022 ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) (ITU Plenipotentiary Conference 2022: PP - 22) รวมถึงร่างข้อสงวนต่อกรรมสารสุดท้าย1 และมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะพิจารณใช้ดุลยพินิจตามสถานการณ์ ตามความเหมาะสมในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป (กำหนดการประชุม กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ระหว่างวันที่ 26 กันยายน - 14 ตุลาคม 2565) 

        2. เห็นชอบมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการอภิปราย ลงมติ และลงนามในกรรมสารสุดท้ายของการประชุม PP - 22 ของ ITU

        3. เห็นชอบมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) โดยมอบอำนาจตามข้อ 2 ให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

        สาระสำคัญของเรื่อง

        1. ITU เป็นทบวงการชำนัญพิเศษ (specialized department) ภายใต้สหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นในปี .. 2408 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการพัฒนาและปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือด้านโทรคมนาคมแก่ประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกรวมทั้งสิ้น 193 ประเทศ (Member States) โดยคณะผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก ITU เข้าร่วมการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม (Plenipotentiary Conference: PP) ซึ่งเป็นการประชุมสูงสุดของ ITU ที่จัดขึ้นทุก 4 ปี เพื่อพิจารณาประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น (1) ข้อเสนอในการแก้ไขบทบัญญัติแห่งธรรมนูญและอนุสัญญาของ ITU (2) ข้อเสนอของสภาบริหาร (ITU Council) เกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินงานและนโยบายด้านการบริหารจัดการองค์กร (3) การพิจารณารายงานผลการดำเนินงานและกิจกรรมของสำนักงานต่างๆ ของ ITU ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา (4) การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ และแผนงบประมาณ สำหรับ 4 ปี ถัดไป ตลอดจนการวางหลักเกณฑ์ด้านงบประมาณและการเงินสำหรับ ITU (5) การพิจารณาจัดทำหรือทบทวนความตกลงในด้านต่างๆ ระหว่าง ITU และองค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (6) ประเด็นท้าทายที่สำคัญในด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication Technology: ICT) ในปัจจุบัน และ (7) การเลือกตั้งสมาชิกสภาบริหาร (ITU Council) ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยเป็นสมาชิก ITU ตั้งแต่ปี .. 2426 รวมทั้งเป็นที่ตั้งสำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ ITU ตั้งแต่ปี .. 2535 และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาบริหารของ ITU ต่อเนื่องถึง 10 สมัย

        ทั้งนี้ การประชุม PP-22 มีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเลือกตั้งตำแหน่งผู้บริหารของ ITU สำหรับวาระปี 2566 – 2569 (.. 2023 - 2026) และการลงนามในกรรมสารสุดท้าย

 

ais 720x100

aia 720 x100

 

        2. เพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการประชุม PP - 22 องค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Telecommunity: APT) ได้จัดการประชุมเตรียมการภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (การประชุมเตรียมการภูมิภาคฯ) เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิก APT ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ได้ร่วมหารือและเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของ ITU สำหรับช่วงเวลา 4 ปี ข้างหน้า พิจารณาร่างข้อเสนอภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และกำหนดท่าทีของภูมิภาค รวมทั้งจัดทำร่างข้อเสนออื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม PP - 22 พิจารณา

        3. ในส่วนของประเทศไทย สำนักงาน กสทช. ได้แต่งตั้งคณะทำงานเตรียมการสำหรับการประชุม PP - 22 (คณะทำงานเตรียมการฯ) โดยมีรองเลขาธิการ กสทช. สายงานยุทธศาสตร์และกิจการองค์กร เป็นหัวหน้าคณะ และประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน กสทช. กต. และสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีหน้าที่พิจารณาท่าทีของประทศไทยต่อการประชุม PP - 22 และเตรียมการให้ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งในตำแหน่งสมาชิกสภาบริหารของ ITU อีกวาระหนึ่ง โดยคณะกรรมการเตรียมการฯ ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเตรียมการภูมิภาคฯ และได้ร่วมพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างข้อเสนอภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง

        4. คณะทำงานเตรียมการฯ ได้เสนอองค์ประกอบคณะผู้แทนไทย กรอบท่าทีของประเทศไทย และร่างข้อสงวนในการเข้าร่วมประชุม PP - 22 โดยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเตรียมการภูมิภาคฯ อย่างต่อเนื่องและได้ร่วมพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างข้อเสนอภูมิภาคฯ โดยท่าทีไทยในแต่ละข้อเสนอและการพิจารณาอยู่บนพื้นฐาน (1) ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2) สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี รวมทั้งแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (3) เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติหรือบังคับใช้โดยสอดคล้องกับความตกลงที่ประเทศไทยมีพันธะภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และ (4) รักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 13 กันยายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9516

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!