WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

GOV 20

ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้

        1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 2) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 19 3) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 16 และ 4) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ครั้งที่ 3

        2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ให้การรับรองในเอกสารสำหรับการประชุมดังกล่าวกับรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มประเทศสมาชิกได้

        3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้ง 4 ฉบับ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงพลังงานและคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถบังเกิดผลเป็นรูปธรรมสำหรับความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบดังกล่าวในช่วงการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องในระหว่างวันที่ 13-16 กันยายน 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล

 

BANPU 720x100

 

        สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ทั้ง 4 ฉบับ

        1. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 มีสาระสำคัญ ดังนี้

             1) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการอภิปรายสถานการณ์และแนวทางที่เป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายด้านความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในระยะยาว

             2) ส่งเสริมการสนับสนุนความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนและข้อตกลงความร่วมมือด้านพลังงานที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน

             3) เสริมสร้างการขยายความร่วมมือด้านการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีภายใต้กรอบโครงการสายส่งไฟฟ้าอาเซียน ส่งเสริมบทบาทของพลังงานก๊าซธรรมชาติ พลังงานถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด การพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานนิวเคลียร์พลเรือน การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการส่งเสริมการบูรณาการนโยบายพลังงานของภูมิภาค เพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างสมดุลและมั่นคง

             4) ยินดีกับการจัดการประชุมเวทีธุรกิจพลังงานอาเซียนของภาคเอกชนและผู้ได้รับรางวัลพลังงานอาเซียนที่มีผลการดำเนินการที่ดีเยี่ยมในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน ด้านพลังงานหมุนเวียน ด้านความเป็นเลิศในการบริหารจัดการพลังงาน และรางวัลในรุ่นสำหรับเยาวชน

        2. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 19 มีสาระสำคัญ ดังนี้

             1) ส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามในด้านการพัฒนาพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การแลกเปลี่ยนแนวทางการสำรองน้ำมันและก๊าซ และการเสริมสร้างความยืดหยุ่นของระบบ เพื่อความมั่นคงทางพลังงานร่วมกันในภูมิภาค

             2) เสริมสร้างความสำคัญในการเร่งพัฒนานวัตกรรมและเพิ่มการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การบริการ ระบบ และเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่ทันสมัย เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและความยืดหยุ่นทางพลังงาน

             3) ส่งเสริมโครงการความร่วมมือภายใต้ข้อริเริ่มการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานแห่งเอเชีย (The Asia Energy Transition Initiative: AETI) ของญี่ปุ่น และความร่วมมือด้านพลังงานสะอาดกับจีน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในภูมิภาค

 

PTG 720x100

 

        3. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 16 มีสาระสำคัญ ดังนี้

             1) ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานอย่างต่อเนื่องตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและคาร์บอนต่ำของภูมิภาค

             2) ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมและสังคมคาร์บอนต่ำ เทคโนโลยีไฮโดรเจน ยานยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีการดักจับ การกักเก็บ และการใช้ประโยชน์คาร์บอน เพื่อเสริมสร้างความมั่งคงทางพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

             3) ส่งเสริมการพัฒนาทางเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อการขนส่งและวัตถุประสงค์อื่นๆ รวมทั้งการพัฒนาการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน การส่งเสริมการค้าการลงทุนด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

        4. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ครั้งที่ 3 มีสาระสำคัญ ดังนี้

             1) เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีในอาเซียน และการดำเนินการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนจาก สปป. ลาว ไปยังสิงคโปร์ผ่านประเทศไทยและมาเลเซีย ภายใต้โครงการบูรณาการด้านไฟฟ้า สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ โดยใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายที่มีอยู่ของแต่ละประเทศ โดยริเริ่มการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีข้ามพรมแดน

             2) ส่งเสริมความพยายามเพื่อการบรรลุผลสำเร็จภายใต้โครงการโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการสร้างโอกาสในการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีในภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างความสามารถของโครงข่ายไฟฟ้าให้เข้มแข็ง และส่งเสริมการบูรณาการพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 13 กันยายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9511

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!