WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 15 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-30 มิถุนายน 2565)

GOV 9

 

สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 15 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-30 มิถุนายน 2565)

        คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 15 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-30 มิถุนายน 2565) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

        1. นโยบายหลัก 9 ด้าน ประกอบด้วย

 

นโยบายหลัก

 

มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์

 

1.1) ดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “Giving Light มอบแว่นตา มอบแสงแห่งชีวิต เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ที่ประสบปัญหาทางสายตาได้เข้ารับบริการตรวจวัดสายตาประกอบแว่นตาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1,200 คน

1.2) น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร มีครัวเรือนปลูกผักอย่างน้อย 10 ชนิด 9,757,250 ครัวเรือน เลี้ยงสัตว์/ประมง 3,345,957 ครัวเรือน

2) การสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ

 

2.1) จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบก ในเดือนมิถุนายน 2565 จำนวน 324 ครั้ง ผู้ต้องหา 3,478 คน

2.2) จัดกิจกรรมสร้างความสุขและผ่อนคลาย เสริมสร้างความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของคนในชาติด้วยรูปแบบการใช้สื่อผสม ในพื้นที่สาธารณะทั่วประเทศ เพื่อสร้างความสุขให้กับประชาชนในช่วงวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ 135 ครั้ง มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมฯ 32,490 คน

3) การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม

 

3.1) รับมอบโบราณวัตถุครอบพระเศียรทองคำ มูลค่า 1 ล้านบาท กลับคืนสู่ประเทศไทย และโบราณวัตถุชิ้นเอกและหนังสือบัญชีโบราณวัตถุเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาโบราณในจังหวัดบุรีรัมย์ 164 รายการ มูลค่า 82 ล้านบาท โดยได้นำไปจัดแสดงนิทรรศการถาวร ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยลพบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อเผยแพร่ต่อไป

3.2) ประกาศยกย่องพระยาศรีสุนทรโวหาร” (น้อย อาจารยางกูร) เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ประจำปี 2565 เนื่องในวาระครบรอบ 200 ปี ชาตกาลในปี 2565

3.3) ยกระดับเทศกาลประเพณีไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ เช่น งานประเพณีสืบสานวัฒนธรรมสี่เผ่าไทศรีสะเกษในงานเทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษประจำปี 2565 ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้จากการจำหน่ายผ้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม 2.9 ล้านบาท และจากการจำหน่ายทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ผลไม้ต่างๆ และเครื่องจักรกลทางการเกษตรรวมกว่า 30 ล้านบาท และงานมหกรรมวันสุนทรภู่ กวีเอกของโลก จังหวัดระยอง ประจำปี 2565 มีผู้เข้าร่วมงาน 60,000 คน และสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ 16.84 ล้านบาท

4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก

 

4.1) เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นายกรัฐมนตรีได้ให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีประเด็นหารือความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจจากผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สนับสนุนโครงการก่อสร้างสะพานเชียงแมน-หลวงพระบาง และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามแดนและความร่วมมือด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์

4.2) สานต่อความร่วมมือไทย-ไนจีเรีย ผลักดันอุตสาหกรรมการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นายโอวีคูโรมา โอโรกุน เจบะฮ์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรียประจำประเทศไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเข้ารับหน้าที่ โดยมีการหารือความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น การผลักดันความร่วมมือที่เป็นประโยชน์แก่ภาคธุรกิจ การขยายช่องทางการค้าและเพิ่มโอกาสการค้าการลงทุนระหว่างกัน และการส่งเสริมความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และการเกษตร

4.3) ประชุมกรอบความร่วมมือ BRICS Plus (BRICS Plus High-level Dialogue on Global Development) ครั้งที่ 14 มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ผลักดันระบบพหุภาคีให้มีความสมดุลในทุกมิติ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมฯ เกี่ยวกับแนวคิดสำคัญที่จะให้เกิดความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ เช่น การพลิกฟื้นระบบพหุภาคีให้มีความเข้มแข็งเพื่อรับมือกับความท้าทายอุบัติใหม่และผลักดันการปฏิรูประบบพหุภาคีและปรับกระบวนทัศน์ใหม่ไปสู่ความเป็นหุ้นส่วน เพื่อการพัฒนาระดับโลกในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน .. 2030

4.4) เพิ่มพูนความร่วมมือในสาขาที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐคอซอวอเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเดินทางเยือนไทย โดยได้มีการหารือความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น ส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สินค้าฮาลาล ผลักดันการแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมระหว่างกัน และส่งเสริมความร่วมมือในสาขาที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ (เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน)

4.5) ประชุมประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Conference: ILC) สมัยที่ 110 ได้มีการนำเสนอตัวอย่างการรับมือกับสถานการณ์โรคโควิด-19 เช่น มาตรการรักษาการจ้างงานสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการดำเนินโครงการ Factory Sand Box ซึ่งช่วยรักษาการจ้างงานได้มากกว่า 400,000 ตำแหน่ง

5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย

 

5.1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง เช่นพาณิชย์ร่วมมือกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกเพิ่มทางเลือกให้ธุรกิจไทยในการระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาด สหราชอาณาจักร โดยสินค้าที่ได้รับให้ความสนใจ เช่น ข้าวหอมมะลิ เครื่องปรุงรส ไก่แปรรูป และอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง คาดมูลค่าการสั่งซื้อภายใน 1 ปี 4,600 ล้านบาท

5.2) พัฒนาภาคอุตสาหกรรม เช่น ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรและพืชผักสวนครัวในนิคมสร้างตนเองในพื้นที่ 1,298 ไร่ มีผลผลิตโดยรวมประมาณ 600-1,200 กิโลกรัม สร้างรายได้ขั้นต่ำ 500 บาทต่อเดือนต่อคน และส่งเสริมปลูกไม้มีค่าและไม้ยืนต้น 10,129 ต้น คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจเฉลี่ยขั้นต่ำต้นละ 1,000-10,000 บาท

5.3) พัฒนาภาคเกษตร เช่น สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและเครือรัฐออสเตรเลีย ในโอกาสครบรอบ 70 ปี พร้อมผลักดันการเปิดสินค้าเกษตรคุณภาพ และจัดกิจกรรมประกวดเส้นไหม ผ้าไหม ผลิตภัณฑ์จากหม่อน และส่งเสริมตลาดผ้าไหม ประจำปี 2565” ภายใต้งานเทิดไท้ 90 พรรษา พระมารดาแห่งไหมไทย

5.4) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว เช่น กิจกรรม “Meet & Greet Thailand Moving Together กอด กิน บิน เที่ยว ใช้ชีวิตใกล้ชิดอีกครั้งมุ่งขับเคลื่อนประเทศไทย เข้าสู่ระยะหลังการระบาดของโรคโควิด-19

5.5) พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น เปิดท่าเรือท่าช้าง-สาทรเป็น SMART PIER SMART CONNECTION เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการท่าเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เชื่อมโยงกับระบบขนส่งรูปแบบอื่นได้อย่างไร้รอยต่อ

5.6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ เช่น การจัดงานสัมมนาและนิทรรศการ “Thailand 5G Summit 2022” ภายใต้แนวคิด The 5G Leader in the Region เพื่อผลักดัน 5G สู่โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำคัญของประเทศ และการดำเนินโครงการ Chiangmai Web3 City and Metaverse เปิดสปอตไลต์ส่องหา UNICORN เพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมความร่วมมือระดับประเทศในการร่วมกันนำเทคโนโลยี Web3.0 และ Blockchain มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเมือง

6) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก

 

6.1) ยกระดับผู้ประกอบการรายย่อย (MSME Step up) โดยเฉพาะผู้ประกอบการ OTOP ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเข้าสู่ระบบของภาครัฐ 1,564 ราย

6.2) ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (SME One-stop Service Center : OSS) บริการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นในการดำเนินธุรกิจแก่ผู้ประกอบ SMEs ในด้านต่างๆ เช่น การตลาด การบริหารจัดการ และการผลิต มีผู้เข้ารับบริการ 130,567 ราย ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลผู้ประกอบการ 77,962 ราย

6.3) สร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร เช่น พัฒนาความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 20 กลุ่ม และจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพให้แก่กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและกลุ่มยุวเกษตรกร

6.4) บูรณาการแนวทางการให้ความช่วยเหลือการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอซึ่งให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายแล้ว 581,549 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 89.12

7) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย

 

7.1) บูรณาการองค์ความรู้การจัดทำบัญชีควบคู่กิจกรรมสหกรณ์ เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีต้นกล้าเศรษฐกิจพอเพียง บัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน และสหกรณ์นักเรียนให้แก่เด็กและเยาวชน โดยมีเป้าหมายดำเนินการตั้งแต่ปี 2565-2569 ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 19,795 แห่ง นักเรียน 1,023,243 คน

7.2) กำหนดมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้กัญชาหรือกัญชง ได้มีประกาศ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงในสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2565

7.3) ดำเนินโครงการพาน้องกลับมาเรียน โดยค้นหา ติดตามเด็กตกหล่นและออกจากการศึกษากลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา มีนักเรียน นักศึกษา นักเรียนพิการ และผู้พิการที่ตกหล่นและออกกลางคัน 121,642 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียน นักศึกษา ที่สังกัด ศธ. 67,129 คน และกลับเข้าระบบแล้ว 31,446 คน

8) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม

 

8.1) ดำเนินนโยบายพาหมอไปหาคนไข้ โดยการจัดหน่วยแพทย์เฉพาะทางอาสาดูแลประชาชนในพื้นที่ห่างไกล จังหวัดหนองบัวลำภู ให้เข้าถึงการรักษาเฉพาะทาง 7 สาขา ได้แก่ ผิวหนัง ทันตกรรม พัฒนาการเด็ก การดูแลผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลันและการฟื้นฟูสมรรถภาพ โรคมะเร็ง โรคทางเดินปัสสาวะ และการดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับการดูแลใกล้บ้าน พร้อมมีระบบส่งต่อการรักษารองรับ

8.2) พัฒนาฟังก์ชันของแอปพลิเคชันหมอพร้อม เพื่อประเมินภาวะลองโควิด อาการผิดปกติ และระดับความรุนแรง พร้อมคำแนะนำการปฏิบัติตัวและตรวจสุขภาพใจ เพื่อประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นจากผลกระทบโรคโควิด-19 เพื่อนำไปสู่ Digital Health Platform ของประเทศไทย

9) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรม

ชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

9.1) สนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศ เช่น แก้ไขปัญหาราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เร่งรัดการออกกฎหมายลำดับรอง เพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) และสังคมคาร์บอนต่ำ เสนอแหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเป็นมรดกโลก และยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวการท่องเที่ยวสีเขียว

9.2) จัดงานวันทะเลโลก ประจำปี 2565 “Revitalization : Action for the Ocean” หรือรวมพลังฟื้นฟู กอบกู้มหาสมุทรเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 บริเวณสวนสาธารณะลานโลมา ชายหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลและอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งมหาสมุทรไปทั่วโลก

9.3) บริหารจัดการที่ดินในรูปแบบสวัสดิการสังคม เพื่อช่วยเหลือราษฎรยากจนที่ขาดแคลนที่ดินทำกิน และออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (นค.3) ให้แก่สมาชิกนิคม 4,108 คน (เป้าหมาย 5,000 คน)

 

TU720x100sme 720x100

 

        2. นโยบายเร่งด่วน 8 เรื่อง ประกอบด้วย

 

นโยบายเร่งด่วน

 

มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน

 

เช่น (1) จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนและยุติธรรมพบประชาชน 39 ครั้ง มีลูกหนี้ขอไกล่เกลี่ย 30,708 ราย ดำเนินการไกล่เกลี่ย 28,654 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 28,314 ราย รวมทุนทรัพย์ 6,602.30 ล้านบาท สามารถลดค่าใช้จ่ายประชาชนได้ 2,382.89 ล้านบาท (2) ช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตรให้ได้รับการลดภาระดอกเบี้ย 973 แห่ง 353,267 ราย และ (3) จัดที่ดินให้เกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน 16,400 ราย

2) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม

 

เช่น (1) พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลด้านการเกษตร เช่น ระบบข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและข้อมูลทางด้านการเกษตรแบบเปิด และพัฒนา API Engine สำหรับเชื่อมโยงเพื่อตรวจสอบเอกสารสิทธิ์พื้นที่เกษตร (..4) (2) ดำเนินโครงการต้นแบบเกษตรอัจฉริยะเพื่อพัฒนาแปลงปลูก/โรงเรือนเกษตรอัจฉริยะต้นแบบสำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีต้นแบบสู่เกษตรกร และ (3) พัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri-Map จำนวน 65,358 ไร่

3) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน

 

ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ สาขาอาชีพก่อสร้าง สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ และสาขาอาชีพภาคบริการ รวม 16 สาขา สอดคล้องกับทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และการจ้างงานในตลาดแรงงาน โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2565

4) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต

 

เช่น (1) พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้ปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางขับ ระยะที่ 1 และลานจอดของศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานสนามบินอู่ตะเภา มีความก้าวหน้าร้อยละ 86.93 (2) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกับศิริราช พยาบาล และภาคเอกชน ด้านระบบอัตโนมัติ โซลูชั่น การจ่ายกระแสไฟฟ้าและระบบชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์แม่นยำขั้นสูง (3) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพครบวงจรในเขต EEC ระหว่าง สกพอ. ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ครบวงจร การให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ (4) ลงทุนในเขต EEC มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 จำนวน 217 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 104,856 ล้านบาท

5) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21

 

เช่น (1) บันทึกข้อตกลงยกระดับความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่าง 12 กระทรวง ในการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 อย่างมีคุณภาพตามหลักกลยุทธ์ 4H [เก่ง (Head) ดี (Heart) มีทักษะ (Hand) และแข็งแรง (Health)] มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายในระดับเด็กและเยาวชนอายุ 6-25 ปี (2) พัฒนามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยเพื่อการจัดการเรียนการสอนในระบบเปิด (Thai-MOOC) สามารถรองรับผู้เรียนได้อย่างไม่จำกัด 549 รายวิชา มีผู้เรียน 1.4 ล้านคน และมีผู้เรียนจบจนได้รับใบประกาศนียบัตร 1.3 ล้านใบ (3) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือ โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเป็นรายตำบลทั่วประเทศ และจะนำผลงานเสนอในการประชุมเอเปคให้ได้เห็นโมเดลทางเศรษฐกิจใหม่ของไทยที่ขับเคลื่อนด้วย BCG มีบัณฑิตจบใหม่และประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 68,350 คน

6) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

 

เช่น (1) ดำเนินโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปรับปรุงพื้นที่ปลูกข้าวให้มีความเหมาะสม 1,645 ไร่ (2) ปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส ได้ซ่อมแซมบ้านให้กับประชาชนในนิคมสร้างตนเอง 7 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา (อำเภอจะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย) 1,235 หลัง (3) ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ 5,364 ราย เป็นเงิน 91.71 ล้านบาท และ (4) สกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดบริเวณพื้นที่ชายแดน สามารถจับกุมผู้กระทำผิด 107 ครั้ง ผู้ต้องหา 138 คน ยึดได้ของกลางยาบ้า 21,395,448 เม็ด ไอซ์ 5.03 กิโลกรัม เฮโรอีน 10.5 กิโลกรัม คีตามีน 76 กิโลกรัม และฝิ่น 14.75 กิโลกรัม

7) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน

 

อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้แก่บุคลากรทักษะสูง/ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศผ่านวีซ่าประเภทพิเศษ (SMART Visa) ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 มีผู้ผ่านการรับรองคุณสมบัติทั้งสิ้น 205 คำขอ

8) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย

 

เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 เช่น ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง จัดทำแอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” เพื่อแจ้งเตือนภัยแบบเจาะลึกเข้าถึงเฉพาะพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัยพิบัติ และเปิดช่องทางการแจ้งเหตุและรับความช่วยเหลือผ่านสายด่วนสาธารณภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง แอปพลิเคชัน Line “ปภ. รับแจ้งเหตุ 1784”

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 6 กันยายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9267

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!